สาเหตุส่วนหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจกมาจากการคมนาคมการขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้แบบสันดาป ในปัจจุบันหลายประทั่วโลกจึงหันมาใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้าแทน สำหรับประเทศไทยก็ตื่นตัวกับการใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้า จะเห็นว่าตอนนี้บนท้องถนนเริ่มมีแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้นด้วย
ด้วยเหตุนี้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนิน “โครงการนำร่องวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตชุมชนเมือง ช่วยลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ” ในพื้นที่อำเภอบางกรวย จ.นนทบุรี และเขตบางพลัด กรุงเทพฯ จำนวน 50 คัน จนครบระยะเวลาขจากองการดำเนินโครงการทั้ง 2 เฟส ตั้งแต่ปี พ.ศ.2565-2567 จึงได้จัดพิธีมอบใบคู่มือจดทะเบียนประจำรถฯ (ป้ายเหลือง) ให้แก่วินมอเตอร์ไซค์ที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อผนวกยานยนต์ไฟฟ้า 2-3 ล้อเข้ากับขนส่งสาธารณะ โดยกรอบนโยบายที่ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อเป็นแบบอย่างในการขยายผลไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
โดยการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวมาจากการสนับสนุนของ International Climate Initiative (IKI) โดยกระทรวงสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ ความปลอดภัยทางปรมาณู และการปกป้องผู้บริโภค แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMUV) ภายใต้ โครงการ Integrating Electric 2&3 Wheelers into Existing Urban Transport Modes in Developing and Transitional Countries ให้แก่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เพื่อพัฒนาโปรแกรมใน 6 ประเทศจาก 2 ภูมิภาค ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม เอธิโอเปีย เคนยา และยูกันดา ที่ได้ร่วมมือกับการไฟฟ้า โดยมีบริษัท Dongguan Tailing Electric Vehicles (TAILG) ผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าเอกชนจีน ภาคีของ UNEP ในการบริจาคมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าให้ 6 ประเทศดังกล่าวข้างต้นและบริษัท เดอะสตาเลียน จำกัด (Stallions) ผู้ผลิตและประกอบมอเตอร์ไซด์เอกชนในไทย
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโครงการนี้หลักๆเพื่อใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสำหรับให้บริการสาธารณะ (ขนคน) ในประเทศไทย ที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากรถยนต์ส่วนบุคคลามาใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้นจากการเชื่อมต่อการเดินทางในระบบชนส่งมวลชน โดยประเทศไทยเป็น 1 ใน 6 ประเทศที่ได้ถูกคัดเลือกเข้าร่วม UNEP เพราะเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีความต้องการและสามารถขยายการใช้พลังงานสะอาดได้กว้างขึ้น
ปัจจุบันได้ส่งมอบรถมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าให้กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้างในพื้นที่ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี จำนวน 29 คัน และเขตบางพลัด กรุงเทพฯ จำนวน 21 คัน รวมเป็นจำนวน 50 คัน หลังจากผ่านการใช้งานการใช้งานเป็นระยะเวลาครบ 1 ปี ได้เพิ่มจำนวนสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ครอบคลุมการให้บริการ และในการติดตามเก็บข้อมูลระยะการใช้งานและประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง โดยรวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น 759,354 กิโลเมตร เฉลี่ย 24,600 กิโลเมตร มีอัตราสิ้นเปลืองพลังงาน 32.41 Wh/km หรือ 0.371 ลิตรเทียบเท่าแก๊สโซลีนต่อร้อยกิโลเมตร คิดเป็นผลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 38.8 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ และคิดเป็นผลการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างทั้ง 50 คันอยู่ที่ 516,000 บาท
“ส่วนการใช้งานของรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า อาจจะต้องมีการนำมาวิเคราะห์และพัฒนาแบตเตอรี่ที่นำมาใช้ให้เหมาะกับสภาพอากาศและบริบทของคนขับในประเทศไทย เนื่องจากแบตเตอรี่ที่นำมาใช้ในรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างพัฒนามาจากต่างประเทศนอกจากยังเตรียมพัฒนาการสับเปลี่ยนแพ็คแบตเตอรี่ของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพื่อให้เป็นมาตรฐานการใช้งานประเทศ โดยจะต้องมีการพูดคุยกับผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ในประเทศเพื่อร่วมวางแผนพัฒนาต่อไป” ผอ.เอ็นเทค กล่าว
ข้อมูลดังกล่าวตลอดระยะเวลาของการดำเนินโครงการ ผอ.เอ็นเทค กล่าวว่า จะนำไปสู่การวางแผนขยายผลสู่กลุ่มรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างทั่วประเทศ ลดภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและการบำรุงรักษา บรรเทาปัญหาการปล่อยมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่สังคมความเป็นกลางทางคาร์บอน ตามเป้าหมายการเพิ่มจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าของนโยบาย อว. For EV และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศต่อไปในอนาคต
ชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน กฟผ. กล่าวว่า รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในโครงการจากทดลองขับขี่นำร่องพบว่าประสิทธิภาพเครื่องยนต์สันดาปภายในที่เป็นไฟฟ้าสามารถเพิ่มพลังงานจากมอเตอร์มาที่ล้อได้ถึง 80% จากเดิมที่ใช้พลังงานสันดาปปกติจะอยู่ที่ 20% ซึ่งทุกคันจะมีมาตรฐานคุณภาพพลังงานฉลากเบอร์ 5 ทั้งนี้พฤติกรรมการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าก็อาจจะเหมือนกันเพราะมีผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้างบางรายที่อาจจะรับงานเสริมในการขับส่งอาหารก็จะใช้ความเร็วที่เพิ่มมากขึ้นใช้งานหนักมากอาจจะเกินการดีไซน์สมรรถภาพของรถที่ออกแบบไว้ที่ต้องการควบคุมต้นทุนการใช้พลังงานต่างจากรถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้น้ำมันที่สามารถเร่งความเร็วได้ตามต้องการเพราะใช้น้ำมันมาเป็นตัวเร่ง อย่างไรก็ตามการใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ทำให้ง่ายต่อผู้ใช้งานเพราะเมื่อแบตหมดก็สามารถมาสับเปลี่ยนได้ที่สถานีอัดประจุไฟฟ้า Elex by EGAT ที่มีทั้งหมด 10 ตู้จะชาร์จแบตให้ทันทีหรือบางรายอาจจะชาร์จที่บ้านได้ด้วย ดังนั้นข้อมูลต่างๆที่ได้จากการใช้งานของมอเตอร์ไซค์ในโครงการจะเป็นการนำไปกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานขั้นสูง หรือการพัฒนาโมเดลสถานีอัดประจุไฟฟ้า Elex by EGAT ให้ขยายเพิ่มขึ้น
สุก์พิญชญา ญาณโกมุท อายุ 58 ปี ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างประจำที่จรัสสนิทวง 75 เล่าว่า ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างมากกว่า 30 ปี เดิมจะใช้รถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้น้ำมันอยู่แล้วซึ่งรายได้ก็ต้องจ่ายค่าน้ำมันครึ่งหนึ่งของรายได้ หลังจากได้เข้าร่วมโครงการเปลี่ยนมาเป็นการชาร์จไฟฟ้ากับแบตเตอร์รี่ก็ดีเลยสามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้มาก ดูแลง่าย ไม่ต้องคอยถ่ายน้ำมันเครื่อง ซึ่งเรื่องความเร็วหรือการเร่งไม่เป็นปัญหาเพราะไม่ได้ขับขี่เร็วมากจึงชาร์จแบตแค่ 1 ครั้งอาจจะต่างจากคนที่ขับด้วยความเร็วมากซึ่งก็จะชาร์จแบตมากกว่า 1 ครั้ง ในอนาคตหากจะซื้อรถใหม่ก็จะเลือกใช้รถไฟฟ้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กฟผ.เปิดสนามแข่งจักรยาน มาตรฐานUCI ณ เขื่อนวชิราลงกรณ
กฟผ. จับมือสมาคมกีฬาจักรยานฯ เปิดประเดิมสนามแข่งจักรยานมาตรฐานนานาชาติ (UCI) รับ 3 รายการใหญ่ การแข่งขันบีเอ็มเอ็กซ์ ชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ การแข่งขันบีเอ็มเอ็กซ์นานาชาติ และการแข่งขัน หนูน้อยขาไถ ชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2567 ณ สนามจักรยาน เขื่อนวชิราลงกรณ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ คว้ารางวัลสุดยอด CEO รัฐวิสาหกิจดีเด่นสาขา Environment ตอกย้ำการขับเคลื่อนภารกิจองค์กรด้วยความตระหนักและใส่ใจสิ่งแวดล้อม
นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับรางวัลสุดยอดซีอีโอรัฐวิสาหกิจ สาขา Environment จากนางสาวแพทองธาร ชินวัตร
จาก ‘ฉลากเบอร์5’ สู่ห้องเรียนสีเขียวเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องใช้และสังคม
ที่ผ่านมา กลุ่มผู้บริโภคหลายคนคงเริ่มเห็นหน้าตาของฉลากเบอร์ 5 โฉมใหม่ตามเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ กันบ้างแล้ว โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ส.ยกน้ำหนักฯ–จ.พะเยา-กฟผ. จัดEGATยกน้ำหนักยุวฯเยาวชน 15–25ต.ค.นี้
เมื่อวันที่ 27ก.ย.ที่ผ่านมา นายปรัชญา กีรตินันท์ นายกสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย นายนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.),นายบำรุง สังข์ขาว รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา และพลอากาศโท วัฒนชัย เจริญรัตน์ กรรมการและประธานฝ่ายเทคนิคสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวการแข่งขัน EGAT ยกน้ำหนักเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2567 ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ EGAT ยุวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย อายุ 13 - 15 ปี ประจำปี 2567 ณ การกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ
ไฮโดรเจนความหวังใหม่ของวงการพลังงานสะอาด
แม้อาจมองไม่เห็นได้ด้วยตา แต่มีอยู่จริงรอบตัวเรา และนี่คือความหวังใหม่ของพลังงานสะอาดในอนาคต ‘ไฮโดรเจน’ ธาตุที่มีอยู่มากที่สุดในจักรวาล และมีอย่างไม่จำกัด