หลายคนอาจจะเคยเห็นการโฆษณาในโลกออนไลน์ จะมีสถานพยาบาลต่างๆชักชวนให้ไปตรวจความสมดุลฮอร์โมนเพศ ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงเพศชาย คำโฆษณามักอ้างว่าไม่ว่าทุกเพศหรือทุกวัย หากฮอร์โมนผิดปกติ หรือไม่สมดุลอาจกระทบการทำงานหลาย ๆ ส่วนในร่างกาย อาทิ เกิดภาวะอารมณ์แปรปรวน,นอนไม่ค่อยหลับ หรือตื่นมาแล้วไม่สดชื่น พลังงานในตัวลดลง อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ประจำเดือนผิดปกติ อ้วนง่าย ผิวเหี่ยว หยาบกร้านดูแก่ สมรรถภาพทางเพศลดลง ตลอดจนเกิดภาวะเครียดซึมเศร้า ส่วนสนนราคาค่าบริการมีตั้งแต่หลักหลายพัน ไปจนถึงหลักหมื่นกว่าบาท ขึ้นอยู่กับแพคเกจที่นำเสนอและความต้องการของลูกค้่า
“ไม่ว่าจะวัยรุ่น หรือวัยโรย หากแสดงอารมณ์แปรปรวน มักเข้าใจกันว่าเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง จนปัจจุบันเกิดเป็นธุรกิจใหม่ที่อาศัยความไม่รู้และความวิตกกังวลในเรื่องสุขภาพกอบโกยผลกำไรจากโปรแกรมตรวจพิเศษที่ไม่จำเป็น” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงปวีณา ชุณหโรจน์ฤทธิ์ อาจารย์แพทย์ประจำสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว พร้อมกับ แสดงความเป็นห่วงว่า ประชาชนอาจตกเป็นเหยื่อความไม่รู้จากโฆษณาชวนเชื่อจนต้องเสียทรัพย์โดยไม่จำเป็นจากการซื้อโปรแกรมตรวจเพื่อรักษาสมดุลของฮอร์โมน ซึ่งโดยปกติไม่ได้อยู่ในรายการตรวจสุขภาพประจำปีโดยทั่วไป แพทย์จะสั่งตรวจเฉพาะรายที่มีอาการผิดปกติเท่านั้น
แพทย์ระบบต่อมไร้ท่อฯ กล่าวอีกว่า ในบรรดาผู้มาตรวจฮอร์โมนด้วยอาการผิดปกติ อาการที่พบมากที่สุด ได้แก่ อาการผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์ โดยเริ่มจากอาการใจสั่น หิวบ่อย กินจุ แต่น้ำหนักไม่ขึ้น นอกจากนี้ จากสาเหตุฮอร์โมนเพศหญิงเริ่มลดลง ส่งผลให้รอบเดือนมาไม่เป็นปกติ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป ในผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทอง และหมดประจำเดือนตามธรรมชาติ ไม่มีอาการของวัยทองรุนแรง แพทย์จะไม่แนะนำให้ได้รับยาฮอร์โมนเพิ่ม ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าการรับยาฮอร์โมนที่มากเกินอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ตลอดจนอาจเป็นสาเหตุทำให้ไขมันในเลือดสูงได้ ทางที่ดีที่สุดแนะนำให้พบสูตินรีแพทย์
ผศ.พญ.ปวีณากล่าวอีกว่า ยังมีผู้หญิงที่ขาดฮอร์โมนเพศหญิงและต้องรับยาฮอร์โมนก่อนเข้าสู่วัยทอง ได้แก่ ผู้ที่มีความผิดปกติด้วยโรคต่อมใต้สมอง และจากการผ่าตัดบริเวณดังกล่าว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาด้วยยาฮอร์โมนจะเกิดโรคกระดูกพรุนก่อนวัยได้ ส่วนในผู้ชายที่เริ่มมีสมรรถภาพทางเพศลดลง ทำให้มีบุตรยาก อาจจะต้องตรวจฮอร์โมนเพิ่มเติม และพบแพทย์เฉพาะทางระบบปัสสาวะ แต่หากมีฮอร์โมนต่อมหมวกไตบกพร่อง จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ไร้เรี่ยวแรง เกิดจากภาวะเกลือแร่ต่ำลง ซึ่งจะส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำลงด้วย และหากฮอร์โมนต่อมหมวกไตทำงานมากเกิน จะอ้วนตรงบริเวณแกนกลางของลำตัว ในขณะที่แขนขาจะค่อนข้างลีบ และหน้าท้องมีรอยแตกสีม่วง ซึ่งเป็นผลจากความผิดปกติของฮอร์โมนดังกล่าว
“ที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือการไปเข้าโปรแกรมตรวจสมดุลฮอร์โมนโดยไม่มีอาการผิดปกติ เพียงสงสัยว่ามีอาการผิดปกติ ได้รับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้วแต่ไม่สามารถอ่านค่าได้เอง กลับรับยาชุดเสริมฮอร์โมนซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดปัญหาจากภาวะฮอร์โมนเกิน ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาจากการตรวจและรับยาฮอร์โมนแบบยาชุดมารับประทานเองโดยไม่จำเป็น”ผศ.พญ.ปวีณากล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สสส. สานพลัง ม.มหิดล หนุนผลงานเด็กอาชีวะ ชนะเลิศ PM's Award ดันต่อยอดพัฒนานวัตกรรม เครื่องฆ่าเชื้อโรคหมวกกันน็อกด้วย UVC
น.ส.ภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.
อึ้ง!! วัยเก๋า 80% ตกเป็นเหยื่อ ถูกหลอกโอนเงิน-เผยข้อมูลส่วนตัว
เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2567 ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2566 พบผู้สูงอายุไทยมีจำนวนกว่า 13 ล้านคน คิดเป็น 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ
ผู้ประกันตน ม.33 กับ ม.39 แจ้งเปลี่ยน รพ. ได้ถึง 31 มี.ค. 67
รัฐบาลเชิญชวนผู้ประกันตน ม. 33 - ม. 39 แจ้งขอเปลี่ยนสถานพยาบาลปีหน้า ได้ 4 ช่องทาง ถึง 31 มี.ค. 67
มหิดลตั้ง'ดร.สมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล' คุมศูนย์ตรวจสอบ สารต้องห้ามในนักกีฬา
ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับการรับรองจาก องค์การต่อต้านสารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency) หรือ วาดา ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ตรวจสารต้องห้ามในนักกีฬาชุดใหม่ เรียบร้อยแล้ว