เปิดไฮไลต์มหาสงกรานต์ปีใหม่ไทย

สงกรานต์ปีใหม่ไทยปี 2567 จัดฉลองยิ่งใหญ่ เพื่อให้ประเพณีสงกรานต์ไทยดังไกลไปทั่วโลก พร้อมเผยแพร่คุณค่าและอัตลักษณ์สงกรานต์ในแต่ละภูมิภาคที่มากกว่าการเล่นสาดน้ำสนุกสนาน กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) แถลงข่าวการจัดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) ที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันก่อน โดยนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม เป็นประธาน พร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ. นายโกวิท ผกามาศ อธิบดี สวธ. ตลอดจนผู้แทนจังหวัดบอกเล่าไฮไลต์แต่ละพื้นที่

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วธ. กล่าวว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้บูรณาการจัดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทยเพื่อเฉลิมฉลองการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจากยูเนสโก ให้เป็นจุดหมายการท่องเที่ยวทั่วโลกให้เข้าสัมผัส โดยเน้นอัตลักษณ์ของแต่ละภูมิภาคที่เป็น soft power กระตุ้นการท่องเที่ยวสร้างรายได้เข้าประเทศ ส่วนกลางจัดที่ถนนราชดำเนินและท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 11 – 15 เม.ย. และ 5 พื้นที่หลัก ได้แก่ สยามสแควร์ ชื่องาน”สงกรานต์สยาม ผ้าขาวม้า อยู่เย็น เป็นสนุก” วันที่ 13-15 เม.ย.  , เทอมินอล 21, ถนนสายน้ำเดอะบาร์ซาร์รัชดา, สยามอะเมซิง พาร์ค จัดวันที่ 12-16 เม.ย. ชวนเที่ยวงานวัด การละเล่นไทย ขบวนแห่สงกรานต์ในเมืองจำลองของสยาม สรงน้ำพระด้วยนำมนต์    และถนนสีลมจัดธีมเสรีภาพทางเพศ สู่ความหลากหลายอย่างเท่าเทียม  วันที่ 11 , 13-14 เม.ย. สงกรานต์ 5 ภูมิภาค   ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี ภูเก็ต และสมุทรปราการ เน้นปลอดภัย ไม่ดื่มแอลกฮอลล์ ไม่โป้  ไม่เปลือย ไม่เล่นแป้ง   แต่ละแห่งจะประชาสัมพันธ์บทเพลงสงกรานต์ 4 ภาษา สร้างการรับรู้ ทั้งภาษาไทย อังกฤษ จีน ฝรั่งเศส และจัดทำเพิ่มเติมอีก 6 ภาษา รวม 10 ภาษา

 “ ขณะนี้ทั้งโลกได้รับรู้แล้วว่า ประเทศไทยมีประเพณีสงกรานต์ ประเทศไทยต้องจุดพลุฉลองให้ดังไกลไปทั่วโลก เพื่อให้ประเทศไทยเป็นหมุดหมายของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมถึงเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ที่มีการจัดงานสงกรานต์ ทั้งศิลปะการแสดง อาหารถิ่น สินค้าพื้นบ้าน เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เป็นการเพิ่มมูลค่าจากการท่องเที่ยว เชื่อมั่นว่า จะมีการจัดสงกรานต์ลงไปในระดับตำบลทั่วประเทศ  วัดจะเป็นศูนย์กลาง  นอกจากนี้ สภาวัฒนธรรมทั้งระดับจังหวัด อำเภอ ตำบลจะเป็นผู้ดูแลภาพรวมการจัดงาน” นายเสริมศักดิ์ กล่าว

 นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จ.เชียงใหม่ จัดประเพณีสงกรานต์วิถีล้านนาอย่างยิ่งใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 4 -21 เม.ย. นำเสนอวัฒนธรรมที่ดีงามของเชียงใหม่กว่า 700 ปี สู่สายตานักท่องเที่ยว ประเพณีรดน้ำดำหัว สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัฒนธรรมแต่งกาย และวัฒนธรรมอาหาร วันที่ 4-11 เม.ย. จัดพิธีตักน้ำศักดิ์สิทธิ์รวม 9 แหล่งสำคัญนำมาเจริญพุทธมนต์ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพฯ และวัดพระสิงห์ แจกแก่ประชาชนที่มาร่วมงาน ส่วนวันที่ 13 -17 เม.ย.มีพิธีทำบุญตักบาตร ก่อนอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ มาให้ประชาขนสรงน้ำเสริมมงคล วันที่ 14 เมษายน ร่วมเฉลิมฉลองมรดกโลกจะเปิดเพลงสงกรานต์ 4 ภาษา กระหึ่มเมือง เย็นเล่นน้ำสงกรานต์ และจะจัดการแสดง แสง สี เสียงที่วัดพระสิงห์ สงกรานต์นี้ชวนมาเรียนรู้ประเพณีปีใหม่เมือง

ส่วนจังหวัดขอนแก่นจับมือ วธ.เนรมิตรประเพณีสงกรานต์อีสานดั้งเดิม นายศิริวัฒน์ พินิจพานิชย์ รองผู้ว่าฯ ขอนแก่น กล่าวว่า ขอนแก่นจัดประเพณีสงกรานต์อีสานดั้งเดิมที่วัดไชยศรี ระหว่างวันที่ 13 -15 เม.ย. มีการก่อเจดีย์ทรายรดน้ำดำหัว มีสิมอีสานที่เก่าแก่ที่สุดอีกแห่ง ส่วนที่วัดธาตุพระอารามหลวง จัดงานสรงน้ำพระศรีสัตนาคนหุตพระคู่บ้านคู่เมืองขอนแก่น ประเพณีสงกรานต์ วิถีไทบ้าน หน้าศาลากลางขอนแก่น มีหมู่เฮือนโบราณ และอุโมงค์ดอกคูนยาว 40 เมตร อัญเชิญน้ำมนต์พระเกจิอาจารย์ดัง ใช้ไดโนเสาร์พ่นน้ำมนต์ พร้อมการแสดงหมอลำสมคำขวัญจังหวัดเมืองเสียงแคนดอกคูน  ที่ถนนข้าวเหนียวนำกิจกรรมโขนออนกราว มีเวทีการแสดง 12 เวที เปิดให้เล่นน้ำถึง 3 ทุ่มครึ่ง กิจกรรมคลื่นมนุษย์จะมีคนเรือนแสนร่วมกิจกรรม ที่สำคัญเป็นถนนปลอดแอลกอฮอล์ เล่นสงกรานต์สนุก ปลอดภัย ไร้น้ำเมา

นางจิระพร วชิรเขื่อนขันธ์ นายกเทศมนตรีเมืองพระประเเดง กล่าวว่า ประเพณีสงกรานต์พระประแดงสืบสานจากชาวไทย-รามัญ เป็นชาวมอญอพยพมาตั้งแต่สมัย ร.2 กว่า 200 ปี ชาวมอญมีการละเล่นสงดรานต์ ชบวนแห่หงษ์ธงตะขาบ วันที่ 13 -15 เมษายน ใหญ่และยาวที่สุด จัดขึ้นที่วัดทรงธรรมวิหาร รร.อำนวยวิทย์ ส่วนสงกรานต์พระประแดงจัดหลังวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ชาวไทยรามัญถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ปีนี้สงกรานต์พระประแดงจะจัดวันที่ 18-20 เมษายน มีการแสดงแสงสีเสียงที่ป้อมแผลงไฟฟ้า อำเภอพระประแดง วันที่ 21 เมษายน เล่นน้ำสงกรานต์ ขบวนสงกรานต์งดงามตระการตาริมถนนนครเขื่อนขันธ์ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวร่วมงาน

ไฮไลต์ภาคใต้ นายพิชัยยุทธ สิงห์สหาย วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตจัดงานสงกรานต์วันที่ 13-15 เม.ย. ใช้ชื่องาน “ภูเก็ตนครา มหาสงกรานต์ 2567”  ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ลานมังกร เน้นสาระองค์ความรู้คุณค่าสงกรานต์ แสดงอัตลักษณ์ วิถีชีวิตเพอรานากัน เชิญชวนแต่งเคบาย่าและบาบ๋าย่าหยา มีการแสดงตำนานสงกรานต์ มีบูธอาหาร แล้วยังมีกิจกรรมสงกรานต์สืบสานประเพณีที่ อ.เมือง และ อ.กะทู้ รวมถึงการเล่นน้ำที่หาดป่าตอง นักท่องเที่ยวจะได้ร่วมเล่นน้ำและเรียนรู้ประเพณีไทย ขณะนี้มียอดการจองห้องพักเกินร้อยละ 70 คาดว่า ตลอดการจัดงานสงกรานต์จะดึงนักท่องเที่ยว สร้างรายได้กว่า 6 พันล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.ตั้งศูนย์ประสานงานโบราณสถานน้ำท่วม

24 ส.ค. 2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยของโบราณสถานในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้รา

สวธ. ผนึกภาคีจังหวัดสงขลาขับเคลื่อน‘ สงขลา’ เมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม

เปิดแล้วเทศกาลศิลปะสงขลา "เชื่อมโยงจากรุ่นสู่รุ่น" ในโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม : เมืองเก่าสงขลา (Culture Smart City : Songkhla Old Town) ที่หอศิลป์สงขลา 2 สงขลาเมืองเก่า จ.สงขลา โ

โพลวันแม่ปี 67 ลูกพร้อมใจกอด-บอกรัก

12 ส.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นเด็ก เยาวชนและประชาชน ที่มีต่อ “วันแม่แห่งชาติ ปี 2567” จากกลุ่มตัวอย่างเด็ก เยาวชน แ

ทำแผนรับมือจุดเสี่ยงน้ำท่วมอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา

11 ส.ค.2567 - น.ส.สุดาวรรณ หวังศุกภิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามแผนบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยยังพื้นที่โบราณสถานริมแม่น้ำ

เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศลพระพันปีหลวง

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรี จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล และจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยทำความสะอาดบริเวณลานวัด อุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญ และปลูกต้นไม้ผลและไม้ประ

โค้งสุดท้าย! ชวน ปชช. โหวต 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ก่อนปิด vote 9 ส.ค.นี้

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ..ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปีงบประมาณ