ตามรอยสังเวชนียสถาน แดนพุทธภูมิอันศักดิ์สิทธิ์

เดินทางข้ามพรมแดนไปลุมพินี เนปาล 1 ใน 4 สังเวชนียสถานเพียงแห่งเดียวที่ไม่ได้อยู่ในอินเดีย  พระภิกษุและผู้แสวงบุญเข้าสักการะภายในวิหารมายาเทวึ สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ  รอยพระบาทแรกของพระพุทธเจ้าประทับ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่อมาตรัสรู้เป็นพระศาสดาของศาสนาพุทธ พร้อมสักการะต้นพระศรีมหาโพธิ์อายุกว่า 2,000 ปี แสดงถึงพุทธศาสนาที่เผยแพร่ไปทั่วโลกและหยั่งรากลึกในใจ

สักการะเบบี้บุดดา พระพุทธรูปปางประสูติที่เนปาล

พระครูวิบูล สุตวัฒน์ รองเจ้าคณะอำเภอทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ เจ้าอาวาสวัดพลอยสังวรนิรันดร์ มาสังเวชนียสถานอินเดีย-เนปาลครั้งแรก กล่าวว่า การได้มาสัมผัสสถานที่จริงตามที่ปรากฎในพุทธประวัติ ทำให้เห็นอะไรหลายอย่าง ทั้งรูปธรรมและนามธรรม  เข้าใจพระพุทธศาสนาลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ซาบซึ้ง และมีใจอยากจะจรรโลงพระพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป แต่ก่อนเคยบรรยาย แบบไม่เห็นสถานที่จริง การสืบทอดพระพุทธศาสนาต้องอาศัยหลักธรรมเป็นตัวเชื่อม ซึ่งต้องอาศัยพุทธสถานที่ได้พบเห็นเป็นสื่อในการส่งต่อเรื่องราวให้กับพุทธบริษัท ซึ่งทางวัดได้ดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดสร้างมหาเจดีย์สืบทอดพุทธศาสนา จากการร่วมคณะสังเวชนียสถานจัดโดยกรมการศาสนาครั้งนี้ จะนำไปต่อยอดเพื่อให้พุทธบริษัทเห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป

“ การได้มาเห็น ได้เข้าไปสัมผัสลุมพินีวัน สถานที่ประสูติ เกิดความปลื้มปีติในใจ ทำให้เห็นว่า ศาสนาพุทธกว่าจะสืบทอดถึงทุกวันนี้ต้องอาศัยทุกภาคส่วน ครั้งหนึ่งในชีวิตอยากให้ชาวพุทธมาสัมผัสสังเวชนียสถาน ทุกสถานที่ควรแก่การกราบไหว้สักการะบูชา “ พระครูวิบูล กล่าว 

รามคามสถูป สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

ที่เนปาลคณะสงฆ์ไปสักการะรามคามสถูปที่แคว้นโกลิยะ สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุได้รับส่วนแบ่งมา แต่เมื่อคร้้งถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า เป็นพระบรมสารีริกธาตุ 1 ใน 8 พระนคร ซึ่งเป็นเพียงแห่งเดียวที่ไม่ถูกขุดรื้อ ความปีติเกิดขึันอีกครั้ง เพราะได้มาตามรอยพระพุทธเจ้า

พระครูปลัดธนกร เตชธัมโม เจ้าอาวาสวัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ดีใจจนน้ำตาซึม ปลื้มปีติที่ได้เดินทางไปเรียนรู้ยังสังเวชนียสถาน  4 ตำบล ที่วัดมีอุทยานพุทธประวัติให้เด็กเยาวชนและประชาชนมาศึกษา  ตลอดระยะเวลา 7-8 ปี ภาวนาจิตขอให้มีโอกาสเดินทางมาดินแดนพุทธภูมิเพื่อเห็นของจริงสักครั้ง เมื่อเห็นยิ่งเป็นที่ประจักษ์ถึงความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า  ทุกเรื่องราวที่อยู่ในหนังสือมีอยู่จริง โดยเฉพาะสถานที่ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของจริงยิ่งซาบซึ้ง ประกอบกับได้มาศึกษาพุทธประวัติเพิ่มเติม ได้รับความรู้จากพระธรรมทูตที่มีประสบการณ์โดยตรงจะเป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่หลักธรรมพระพุทธเจ้า รวมถึงการบอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติแก่นักเรียนและชาวพุธในพื้นที่อย่างถูกต้อง หลังจากนี้จะนำหลักธรรมจากสังเวชนียสถานไปเผยแผ่ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนโรงเรียน 

“ การจัดโครงการนี้มีประโยชน์อย่างมากกับพระนักเผยแผ่ที่ได้มีโอกาสมาชมสถานที่จริง โดยเฉพาะได้เห็นการทำหน้าที่ของพระธรรมทูตในอินเดียยิ่งเป็นแรงบันดาลใจในการเป็นนักเผยแผ่ที่มุ่งทำหน้าสืบทอดพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป ” พระครูปลัดธนกร กล่าว

ปฏิบัติบูชาที่รามคาม เนปาล น้อมรำลึกพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทั้งหมดได้ถือเอาสถานที่สำคัญในสังเวชนียสถานเป็นมรดกทางธรรมด้วยความตั้งใจนำหลักธรรมไปปฏิบัติ   เช่นเดียวกันเหล่าผู้แสวงบุญที่ร่วมโครงการนอกจากได้สัมผัสสถานที่จริงตามพุทธประวัติ ทุกคนกล่าวตรงกันเห็นผลดีของการประกอบศาสนกิจร่วมกัน ได้เจริญจิตภาวนา เห็นกับตาประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงศาสนาพุทธในดินแดนพุทธภูมินั้นมีอยู่จริง พบผู้ที่ศรัทธาในพุทธศาสนาเหมือนกัน ทำให้เกิดพลังในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงธรรมคำสอนพุทธเจ้า 

ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ. – อธิบดี ศน. ปฏิบัติศาสนกิจที่แดนพุทธภูมิ

ด้านนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการมาประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประจำปื 2567 นี้ ได้ติดตามการดำเนินงานของกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้เห็นความก้าวหน้าของศูนย์อำนวยความสะดวกผู้แสวงบุญพุทธภูมิอินเดีย-เนปาล จากการขยายจำนวนศูนย์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระทรวงจะนำไปพิจารณาเพื่อจัดสรรงบประมาณในปี 2568 ต่อไป  นอกจากนี้ได้ขยายการอำนวยความสะดวกให้แก่พุทธศาสนิกชนต่างประเทศที่มาจาริกแสวงบุญ  ไม่เฉพาะพุทธศาสนิกชนชาวไทยเท่านั้น แสดงถึงการรวมเป็นหนึ่ง ถือเป็นโอกาสสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

นมัสการเสาหินพระเจ้าอโศกลุมพินี

นางยุพา กล่าวต่อว่า เป็นการขับเคลื่อนมิติศาสนาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นอกจากมิติเผยแผ่พระพุทธศาสนา ยกระดับไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา หลังจากการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์ธาตุจากอินเดีย ทำให้ต่างชาติตระหนักประเทศไทย เป็นเมืองพุทธที่มีความโดดเด่นและพุทธศาสนิกชนไทยมีความเลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก นอกจากนี้ จะมีโครงการความร่วมมือระหว่างกรมการศาสนากับพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2567

“ จากจำนวนผู้จาริกแสวงบุญที่เพิ่มขึ้น แต่พระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล มีจำนวนเท่าเดิมหรือลดลง พระภิกษุสงฆ์จะมีการจัดอบรมพระธรรมทูตกลางปีนี้ ซึ่งปี 2566  วธ. ร่วมสนับสนุนการอบรมพระธรรมทูตจากประเทศไทยไปอินเดีย เป็นภารกิจที่ให้ความสำคัญ  รวมถึงขอเชิญชวนอาสาสมัครจิตอาสาช่วยงานศูนย์อำนวยความสะดวกฯ ตามวัดไทยในอินเดีย ซึ่งยังมีไม่เพียงพอ ขณะนี้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงิน สิ่งของเครื่องใช้ วัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหารในโรงทาน รวมถึงสนับสนุนการก่อสร้างสุขาใหม่เพื่อรองรับผู้แสวงบุญและสนับสนุนการเผยแผ่พุทธศาสนาในแดนพุทธภูมิ “ ปลัด วธ. กล่าว

ชาวพุทธตั้งมั่นในการตามรอยพระพุทธเจ้า

จากดินแดนประสูติพระพุทธเจ้า คณะสงฆ์และผู้แสวงบุญข้ามกลับมาสู่อินเดียยังมุ่งมั่นจาริกต่อบนเส้นทางตามรอยพระพุทธเจ้าไปพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ สารนาถ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และกุสินารา สถานที่ปรินิพพาน แต่ละย่างก้าวใต้ร่มพระกาสาวพัสต์ในแดนพุทธภูมิศักดิ์สิทธิ์แสวงบุญด้วยความอิ่มใจ 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดชื่ออาหารถิ่น 1 จังหวัด 1 เมนู 'รสชาติ ที่หายไป'

กระทรวงวัฒนธรรม ออกประกาศกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเรื่อง ผลการคัดเลือกกิจกรรม ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น "รสชาติ..ที่หายไป The Lost Taste"ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗

เส้นทางสักการะหลวงปู่ทวด ย้อนตำนานพระเถระ

หลวงปู่ทวด เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดรูปหนึ่ง มีการสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวดและพระหลวงปู่ทวดในทุกภูมิภาค สถานที่ที่เป็นที่รู้จักและลูกศิษย์นิยมไปกราบสักการะเป็นอย่างมาก คือ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี แต่ยังมีวัดที่มีประวัติศาสตร์และตำนานที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดอีกมาก

เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศลพระพันปีหลวง

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรี จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล และจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยทำความสะอาดบริเวณลานวัด อุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญ และปลูกต้นไม้ผลและไม้ประ

วธ.จัดงาน'แพรพัสตรา บรมราชินีนาถ' เฉลิมพระเกียรติ พระพันปีหลวงฯ

1 ส.ค. 2567 ที่หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดแถลงข่าวงานแพรพัสตรา บรมราชินีนาถ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2567

วธ.ชวนชม ‘ทัดมาลา’ มิวสิคัล ตื่นตาการแสดงมวยไทยผสานวรรณกรรมอมตะโรมิโอ-จูเลียต

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม

สร้าง'ศาสนทายาท' สานพระราชปณิธานในหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาและทรงสนพระทัยศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงแสดงสั่งสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพระไตรปิฎก ทรงมีพระราชประสงค์ส่งเสริมการเรียนการสอนพระบาลีเพื่อให้เข้าถึงพระไตรปิฎก