วธ.จ่อส่ง 'น่าน' ขึ้นบัญชีเมืองมรดกโลก

25 มีนาคม 2567- นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2567 ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย น่าน พะเยาและแพร่) ณ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา มีมติเห็นชอบดำเนินการตามนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีที่ต้องการผลักดันให้จังหวัดน่านเป็นเมืองมรดกโลกคู่เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน (สปป.) ลาว เพื่อเชื่อมโยงทั้งสองเมืองเข้าด้วยกัน ส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทย และเห็นชอบในหลักการโครงการน่านเมืองเก่ามีชีวิต สร้างสรรค์ เมืองแห่งวัฒนธรรมสู่มรดกโลก ซึ่งในโครงการน่านเมืองเก่ามีชีวิตฯมี 2 โครงการย่อยที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด (สวจ.) น่านเสนอต่อครม. ใช้งบประมาณดำเนินการทั้งหมด 7 ล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการสร้างการรับรู้และความเข้าใจประวัติศาสตร์มรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดน่านสู่มรดกโลก ใช้งบประมาณ 2 ล้านบาท ประกอบด้วยการประชุมเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของมรดกทางวัฒนธรรมแก่หน่วยงานรัฐ เอกชน ชุมชนและประชาชนในพื้นที่จังหวัดน่าน และจัดทำหนังสือองค์ความรู้มรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดน่านและสื่อเผยแพร่ในระบบออนไลน์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า 2.โครงการศึกษาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อขับเคลื่อนจังหวัดน่านสู่มรดกโลก ใช้งบประมาณ 5 ล้านบาท จะดำเนินการศึกษาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดน่าน ประเมินคุณค่าและความสำคัญที่โดดเด่นในระดับสากล และรวบรวมองค์ความรู้แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดเป็นเอกสารวิชาการและประเมินความเชื่อมโยงของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานในการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดน่านเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมต่อองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งทั้ง 2 โครงการจะดำเนินการในปี 2567 มีเป้าหมายมุ่งสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่าในความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดน่านและการมีส่วนร่วมแก่หน่วยงานรัฐ เอกชน ชุมชนและประชาชนจังหวัดน่านในการขับเคลื่อนจังหวัดน่านสู่การเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่าในมรดกทางวัฒนธรรมและร่วมกันอนุรักษ์ไว้ รวมทั้งเพื่อเตรียมเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดน่านเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมต่อยูเนสโก

สำหรับ โครงการน่านเมืองเก่ามีชีวิต สร้างสรรค์ เมืองแห่งวัฒนธรรมสู่มรดกโลก นายเสริมศักดิ์กล่าวอีกว่า เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างวธ. กระทรวงและหน่วยงานต่างๆ อาทิ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดน่าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน เป็นต้น เพื่อขับเคลื่อนแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดน่านให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ทำให้จังหวัดน่านเป็นเมืองมรดกโลก

” เมืองน่านมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ความรุ่มรวยศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และยังคงมีพื้นที่ที่มีร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เคยมีการสำรวจ ขุดค้นและค้นพบข้าวของเครื่องใช้ เช่น เครื่องมือหิน เตาเผาโบราณ บ่อเกลือสมัยโบราณ โครงกระดูกของมนุษย์ยุคโบราณและมีวัดสำคัญต่างๆ นโยบายของนายกรัฐมนตรีมุ่งผลักดันให้จังหวัดน่านเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมคู่เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว เพื่อเชื่อมโยงทั้งสองเมืองเข้าด้วยกัน ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทย ขับเคลื่อน Soft Power ด้านท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาล ทำให้ประเทศไทยเป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เพื่อสร้างงานสร้างรายได้แก่ประชาชนและชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ” นายเสริมศักดิ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พิกัด 11 วัด งานอารามอร่ามประดับไฟรับปีใหม่

เพื่อส่งมอบความสุขปลายปีและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดกิจกรรม “อารามอร่าม 11 วัด 1  โบสถ์พราหมณ์1 พิพิธภัณฑ์ ประดับไฟฉลองต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2568 “ ถือเป็นอีกหมุดหมายที่ห้ามพลาดและไม่ได้จัดเป็นประจำ เพราะ

ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม

โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List

แสดง'โขน-โนรา'สานสัมพันธ์ที่เขมร

25 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายนำมิติทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมมาส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียนและเวทีนานาชาติ