‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

25 มี.ค.2567-ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19  สถานการณ์ปัจจุบัน” ระบุว่า โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล

ในฤดูกาลนี้ (หน้าร้อน) การระบาดจะน้อยลงอย่างมาก และจะไปเริ่มฤดูกาลใหม่ในเดือนมิถุนายน (ฤดูฝน) ความรุนแรงของโรค ถ้าดูจากอัตราป่วยตาย ก็จะเหมือนไข้หวัดใหญ่และ RSV  น่าจะประมาณร้อยละ 0.1  โดยกลุ่มเสี่ยงสูงได้แก่เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เป็นกลุ่มที่จะรุนแรง

สายพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ขณะนี้ก็ยังเป็นโอมิครอน JN.1 เกือบทั้งหมด ไม่ได้ทำให้โรครุนแรงขึ้น

แนวทางการดูแลและปฏิบัติตน ก็มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดตั้งแต่ในปีแรก  2563  จนถึงปัจจุบัน 2567  ก็เหมือนกับโรคทางเดินหายใจทั่วไปเช่นไข้หวัดใหญ่ RSV

เราจะตรวจ ATK  เมื่อมีอาการของทางเดินหายใจ การปฏิบัติในการแยกตัวเมื่อรู้ว่าเป็นโควิด 19  เราจะแยกตัว ในช่วงที่มีอาการของโรค เช่นไข้ ไอมาก จนอาการต่างๆดีขึ้นแล้ว 1 วัน ก็สามารถที่จะออกไปปฏิบัติงานได้ แต่จะต้องป้องกันการแพร่กระจายโรคโดย ใส่หน้ากากอนามัยต่อไปอีกอย่างน้อย 5 วันและปฏิบัติตนเคร่งครัดในเรื่องสุขอนามัย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า

‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform