ช่วงเดือนมีนาคม-เเมษายนของทุกปี ค่าไฟฟ้ามักจะพุ่งพรวด เหตุผลส่วนหนึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่าเพราะสภาพอากาศที่ร้อนมาก ทำให้แต่ละบ้านต้องใช้เครื่องปรับอากาศ พัดลมหนักขึ้นกว่าฤดูอื่นๆ แต่ถึงจะมีเหตุผลเรื่องสภาพอากาศ แต่หลายคนก็อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า ค่าไฟฟ้าที่พุ่งพรวดนี้ โดยหากดูจากบิลค่าไฟ ก็จะเห็นว่านอกจากปริมาณการใช้ไฟที่เพิ่มขึ้น ยังมีค่าเอฟที หรือต้นทุนผันแปร ที่พุ่งทะยานตามติดเป็นเงาไปด้วย
หลังจากเมื่อปีก่อนที่กลุ่มเอ็นจีโอ ได้เคยพยายาม ตั้งคำถาม เกี่ยวกับกลไกค่าไฟฟ้าที่เป็นอยู่ ว่ามีความเป็นธรรมหรือไม่ ล่าสุดกลุ่ม JustPow (จัสพาว) เอ็นจีโอกลุ่มใหม่ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มที่รณรงค์ค่าไฟฟ่า ที่มีทั้งกลุ่ม Data Hatch, Epigram, Greenpeace Thailand, JET in Thailand และ Rocket Media Lab ได้ร่วมจัดนิทรรศการเรื่อง ‘ปิดสวิตช์ อะไรให้ค่าไฟแฟร์ เปิดสาเหตุ อะไรทำค่าไฟแพง’ ระหว่างวันที่ 19-24 มีนาคม 2567 เวลาทำการ: 10:00 – 20:00 น. ณ ชั้น L หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
สันติชัย อาภรณ์ศรี ผู้ประสานงาน JustPow กล่าวว่า ค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นทำให้คนไทยตั้งคำถามเรื่องโครงสร้างค่าไฟและสนใจในเรื่องพลังงานมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเรื่องโครงสร้างค่าไฟฟ้า หรือโครงสร้างทางพลังงานของประเทศไทยก็เป็นประเด็นที่มีความซับซ้อนอย่างมาก และยังเต็มไปด้วยการผูกขาดทั้งทางข้อมูล แนวคิด และอำนาจในการวางแผนตัดสินใจจากภาครัฐ
” ในฐานะที่เรามีข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับค่าไฟฟ้าจำนวนมาก จึงอยากสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจเรื่องนี้ เพราะในบิลค่าไฟแต่ละคน มีเบื้องหลังที่มา ว่ามาจากอะไรบ้าง นอกจากนี้ การที่ในแต่ละปี ภาครัฐก็จะมีแคมเปญรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดไฟเพื่อช่วยลดค่าไฟในแต่ละเดือน ทั้งการปรับแอร์อุณหภูมิ 26 องศา ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งาน รวมไปถึงการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันปิดไฟ 1 ชั่วโมงในวัน Earth Hour หรือวันปิดไฟเพื่อโลก โดยในปีนี้ตรงกับวันที่ 23 มีนาคม ทั้งหมดนี้ ยังไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องการลดค่าไฟ”
ในบิลค่าไฟที่เราจ่าย ที่รู้ๆกันก็คือมาจาก ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) + ค่าบริการรายเดือน (แตกต่างตามประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า) + ภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ประเด็นที่คนสนใจมากที่สุดก็คือค่าเอฟที ที่ทุกวันนี้ยังเป็นปริศนาว่า มาจากต้นทุนอะไรบ้าง แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์และเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูล แต่ทุกอย่างก็ยังคลุมเครือมาถึงทุกวันนี้
ในนิทรรศการนำเสนอว่า แม้ว่าจุดเริ่มต้นของค่าเอฟทีมีขึ้นเพื่อส่งผ่านความเสี่ยงเรื่องราคาเชื้อเพลิงที่ผันผวนไปยังผู้บริโภค แต่ตั้งแต่เดือนต. ค.2548 ภาครัฐได้ขยายครอบคลุมต้นทุน (ที่ไปปรากฎในค่าเอฟที)ของโรงงานไฟฟ้าแห่งใหม่ (ที่เป็นของภาคเอกชน )เป็นสัญญาซื้อขายก๊าซแบบไม่ใช้ก็ต้องจ่าย (take-or-pay gas contracts) หากค่ารายรับไม่เป็นไปตามเป้า ค่าเอฟทีโรงงานเอกชนนี้ หรือเป็นค่าประมาณการซื้อไฟฟ้าจากเอกชนที่เปลี่ยนไปจากค่าไฟฟ้าฐาน [ค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payments: AP) + การชดเชยกรณีหน่วยขายจริงต่ำกว่าค่าที่พยากรณ์ไว้ค่า ล้วนถูกบวกไปรวมในค่าเอฟทีทั้งสิ้น และซ่อนไว้ในบิลค่าไฟที่่ส่งถึงมือประชาชน
สาเหตุคาไฟที่แพง ยังร้อยเรียงไปที่ ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าในระบบสูงเวอร์ เกินกว่าความต้องการแท้จริง ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟสูงขึ้น ทั้งการมีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทั้งที่ โดยปกติแล้วการสำรองไฟฟ้าจะคำนวณจากค่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของปีแล้วสำรองเกินไว้อีก 15% แต่การใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศนั้น ยังต่ำกว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าที่มีในระบบอย่างมาก เท่ากับว่าโรงไฟฟ้าหลายๆ โรงที่มีก็ไม่ได้ผลิตไฟฟ้า หรือเราใช้ไฟไม่ถึง แต่เนื่องจากเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าของรัฐกับผู้ผลิตเอกชนกำหนดให้รัฐต้องจ่ายเงินให้กับโรงไฟฟ้าต่างๆอยู่ดี ไม่ว่าจะเดินเครื่องหรือไม่ก็ตาม หรือที่เรียกว่า ‘ค่าความพร้อมจ่าย’ และค่าใช้จ่ายนั้นก็ถูกผลักภาระมาไว้ในบิลค่าไฟของเราทุกคน ซึ่งในแต่ละปีมีค่าใช้จ่าย ให้โรงไฟฟ้าเอกชนในการผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบตามสัญญาการซื้อขายไฟฟ้า อย่างเช่น ปี 2566 มีประมาณ 484,615 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยค่าพลังไฟฟ้า (CP) ค่าความพร้อมจ่าย (AP) และค่าพลังงานไฟฟ้า (EP) ซึ่งค่าEP จะจ่ายก็ต่อเมื่อมีการเดินเครื่องเท่านั้น แต่กลับพบว่ากำลังไฟฟ้าที่เอกชนผลิตป้อนเข้าสู่ระบบนั้นมีการผลิตเพียง 47.7% ซึ่งเป็นผลจากการเดินเครื่องไม่เต็มกำลัง เพราะความต้องการใช้ไฟไปไม่ถึงระดับนั้น ในแง่ความสูญเสีย เมื่อคำนวณแล้ว ในปี 2566 มีการจ่ายเงินให้กับโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้ผลิตไฟฟ้า เฉลี่ยราว 49,294 ล้านบาท
“จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ในปีที่ผ่านฯ มา โรงไฟฟ้าเอกชนไม่ได้ผลิตไฟฟ้าเต็มกำลังเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบ ทำให้คนไทยต้องจ่ายเงินค่าไฟฟ้าในส่วนที่ไม่ได้ผลิตทุกฯ ปีโดยกาะทรวงพลังงานก็ทำวิจัยค่าส่วนต่างพลังงาน และพบว่าโรงไฟฟ้่าขนาดเล็ก ไม่ได้ผลิตไฟเต็มศักยภาพซึ่งตรงนี้กลายเป็นต้นทุนในค่าไฟ และโรงขนาดเล็กยังมีต้นทุนค่าเชื้อเพลิงแพงกว่าโรงขนาดใหญ่ หรือในรอบ 16 ปีที่ผ่านมา คนไทยต้องจ่ายเงินในส่วนนี้ไปแล้วประมาณ 533,197 ล้านบาท ซึ่งภาระก้อนนี้นี่เองที่ถูกผลักเข้ามาอยู่ในบิลค่าไฟของเรา นอกจากค่าใช้จ่ายข้างต้น ยังมีแนวโน้มว่าเรายังต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่ายในอนาคตมากกว่าเดิมมาก เนื่องจากรัฐยังเดินหน้าอนุมัติให้รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการใหม่ๆ อยู่เป็นระยะ”สันติชัย ระบุ
อีกประเด็นสำคัญคือสัญญาซื้อขายไฟฟ้าถูกจัดให้เป็น ‘ความลับ’ของภาครัฐและผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน แม้สัญญาจะผูกพันและสร้างภาระให้กับประชาชนระยะยาว 15-35 ปีก็ตาม ประชาชนจะทราบข่าวก็ต่อเมื่อมีการลงนามซื้อขายในสัญญาไปแล้ว แม้จะมีการเรียกร้องให้รัฐเปิดเผยรายละเอียดสัญญา แต่ก็ถูกปฏิเสธทำให้เราในฐานะผู้บริโภค ยิ่งห่างไกลจากการมีส่วนร่วมในการกำหนดค่าไฟของเราเอง
ประเด็นเรื่องคนใทยใช้ก๊าซรวมกันเรียกว่า Pool Gas โดยมีแหล่งผลิตมาจากอ่าวไทย เมียนมาร์ ขณะที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทยใช้ก๊าซจากอ่าวไทยที่มีราคาถูกกว่า Pool Gas ที่มีราคาสูงและผันผวน เพราะได้รับผลกระทบจากสงคารามรัสเซีย-ยูเครน ค่าเงินบาทที่อ่อนตัว สันติชัย พูดถึงประเด็นนี้ว่า จากกระแสวิจารณ์ค่าไฟแพง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สนพ.)จึงมีมติให้ปรับแนวทางบริหารจัดการก๊าซ ก๊าซธรรมชาติใหม่ โดยนำก๊ซธรรมชาติที่ได้จาก 3 แหล่ง คือ อ่าวไทยเมียนมา และก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มาคิดราคาเฉลี่ย โดยหากใช้ข้อมูลตามประมาณการค่า Ft รอบ ม.ค. – เม.ย. 2567 จะพบว่าราคาลดลง จาก387 บาทต่อล้านบีทียู เป็น 362 บาทต่อล้านบีทียู หรือลดลง 25 บาทต่อล้านบีทียู จากมติยังระบุ ให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้องซื้อก๊าซธรรมชาติในราคา Pool Gas ใหม่ที่ 362 บาทต่อล้านบีทียู ด้วยจากเดิมที่ได้ใช้ในราคา Gulf Gas ที่ 219 บาทต่อล้านบีทียู ขณะที่ราคาLPG ภาคเชื้อเพลิงยังใช้ราคา Gulf Gas ที่ 219 บาทต่อล้านบีทียู ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ เหตุใดคนไทยจึงไม่สามารถใช้ราคา Gulf Gasมาคำนวณต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ทั้งที่ก๊ซธรรมชาติจากอ่าวไทยมีราคาถูกกว่ามาก และยังเป็นทรัพยากรของคนไทยทุกคนประชาชน
“ถ้าใช้ก๊าซจากอ่าวไทยในแต่ละปี เราจะสามารถประหยัดค่าก๊ซธรรมชาติที่นำมาใช้ผลิตไฟฟ้าได้ อย่างเช่นในปี 2565 เราจะสามารถประหยัดไปได้ถึง 68.474 ล้านบาท และนั่นจะทำให้บิลค่าไฟของเราทุกคนถูกลง”สันติชัยกล่าว
ทำไม การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานหมุนเวียนและมีราคาถูกมาก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของประชาชนที่ต้องการลดภาระค่าไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนเข้าถึงยาก เพราะมีทั้งข้อจำกัดเรื่องโควตาการขอติดตั้ง และเมื่อผลิตไฟฟ้าได้แล้ว หากต้องการขายไฟฟ้าส่วนเกินให้รัฐก็มีราคาและปริมาณการรับซื้อที่ค่อนข้างต่ำ จริยา เสนพงศ์ หัวหน้างานรณรงค์เพื่อการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน กรีนพีซ ประเทศไทย ให้ข้อมูลในประเด็นนี้ว่า ปัญหาพื้นฐานมาจากนโยบายการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยยังเป็นแบบรวมศูนย์อำนาจ ไม่ได้เป็นการกระจายอำนาจ และเรายังให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานฟอสซิลมากกว่าพลังงานหมุนเวียน ดังเห็นได้ว่าเรานำเข้าพลังงานฟอสซิล 70 %ของพลังงานที่นำมาผลิตไฟฟ้า
“เรื่องการรับซื้อไฟจากโซลาร์ รูฟท็อปจากประชาชาชน รัฐรับซื้อเพียงหน่วยละ 2.20 บาท แต่ปัจจุบันช่วงเดือนม.ค. – เม.ย. 67 เราต้องจ่ายค่าไฟในราคาหน่วยละ 4.18 บาท นอกจากนั้น การรับซื้อบางช่วงก็ไม่เปิดรับซื้อเลย เป็นเวลาหลายปี ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ. )มีโครงการโซลาร์เซลล์ภาคประชาชน รับซื้อในปี 2564-2573 รวม 90 เมกะวัตต์ สำหรับบ้านเรือนเท่านั้น ส่วนอาคารภาคธุรกิจ และโรงงานภาคอุตสาหกรรม ไม่เปิดรับซื้อเลยทั้งๆ ที่ศักยภาพโซลาร์รูฟท็อปของประเทศไทยมีมากกว่า 34,000 เมกะวัตต์นี้ ขณะที่ประเทศเราใช้ไฟฟ้าประมาณ 30,000เมกะวัตต์ “
จริยา กล่าวอีกว่า ขณะที่กระแสโลกให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำให้สินค้าส่งออกจากไทย ถูกบังคับว่าสินค้าที่ผลิตต้องมีส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งหากรัฐยอมให้ภาคประชาชน ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ 1ล้านหลังคาเรือน และรัฐรับซื้อพลังงานส่วนนี้จากประชาชน ที่สำคัญก็คือ ควรปลดล็อกปล่อยให้มีระบบ Net Metering ในการรับซื้อไฟ เช่นเดียวกับประเทศเยอรมัน ที่ยอมให้ไฟจากภาคประชาชนผลิตเข้าไปในสายส่งก่อนไฟภาครัฐ ก็จะทำให้ภาคการผลิตส่งออกได้ประโยชน์ แต่ในความเป็นจริงโคสตาผลิตไฟฟ้าที่มาจากภาคประชาชนกลับถูกหยิบยื่นสิทธิ์ให้ภาคเอกชนแทน
“ที่ได้ข่าวมาคือ เทศลา จะมาลงทุนในไทย ซึ่งเขาต้องใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตด้วย แต่เชื่อเถอะว่าพลังงานหมุนเวียนที่ต่างชาติมาลงทุนในบ้านเรา มาจากเอกชนที่ได้รับสัมปทาน ไม่ได้มาจากภาคประชาชน ทั้งที่ภาคประชาชนมีศักยภาพผลิตได้”
จริยา ยังยกตัวอย่าง จังหวัดกระบี่ ที่มีศักยภาพในการผลิตพลังงานหมุนเวียน และมีศักยภาพการผลิตที่สามารถจ่ายไฟหล่อเลี้ยงจังหวัดในแถบอันดามันใกล้เคียงได้อีกหลายจังหวัด และการใช้ไฟของจังหวัดกระบี่ ควรจะเป็นจังหวัดนำร่อง หรือตัวอย่างของจังหวัดพลังงานหมุนเวียน แต่ในความเป็นจริงจังหวัดกลับใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตได้เองประมาณ 60% ของกำลังที่ผลิตได้เท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 40% ต้องใช้ไฟจากภาครัฐ
“เราไม่ได้ต้องการให้ค่าไฟภูกกว่าความเป็นจริง แต่สิ่งที่เรียกร้อง คือ ความเป็นธรรม ในค่าไฟ ซึ่งความเป็นธรรมนี้ มีอะไรหลายอย่างที่ประชาชนควรต้องสนใจหาข้อมูล” นักรณรงค์สรุป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โค้งสุดท้ายสู่สนธิสัญญาพลาสติกโลก เป้าหมายที่ไทยควรกำหนดในเวทีโลก
ก่อนหน้าการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทํามาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่จะมีการประชุมและเจรจาครั้งสุดท้าย (INC-5) เพื่อให้เกิดสนธิสัญญาพลาสติกโลก หรือ “Global Plastic Treaty” ณ เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี
‘อดุลย์’ ชี้กลุ่มการเมืองกับทุนพลังงาน ร่วมกันปล้นเงินจากกระเป๋าประชาชน
‘อดุลย์’ชำแหละ ราคาไฟฟ้าแพงเพราะการสมคบคิดของกลุ่มทุนพลังงานกับการเมืองปล้นเงินจากกระเป๋าประชาชน ด้วยการผลิตล้นเกินไม่ใช้ก็ต้องจ่าย หนุน”พีระพันธุ์”รื้อโครงสร้าง ยกเลิกสัมปทานที่ไม่ชอบธรรม เร่งขุดทรัพยากรทางทะเลที่อ้างพื้นที่ทับซ้อน ซื้อพลังงานจากรัสเซีย เตือนรัฐบาล ระวังประชาชนจะหมดความอดทน
'สนธิสัญญาพลาสติกโลก' ไทยลงเหวมลพิษพลาสติก
ระหว่างที่ร่างสนธิสัญญาแก้ปัญหามลพิษจากพลาสติก ซึ่งสมาชิก 175 ประเทศลงนามร่วมกันให้จัดทำมาตรการทางกฎหมายเพื่อเป็นแนวทางการจัดการพลาสติกที่ครอบคลุมและตลอดวงจรชีวิตพลาสติก ลดการผลิตพลาสติก เลิกผลิต เลิกใช้ ควบคุม พลาสติกบางประเภท และการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR)
ปี 2566 ไทยมีคุณภาพอากาศแย่ติด 1 ใน 5 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รายงานคุณภาพอากาศโลกปี 2566 ของ IQAir ระบุว่าประเทศไทยมีคุณภาพอากาศในระดับที่แย่เป็นอันดับที่ 5 จากทั้งหมด 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวัน