ปี 2567 มีพุทธศาสนิกชนชาวไทยไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นคนเดินทางมาจาริกแสวงบุญดินแดนพุทธภูมิ ณ สังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย-เนปาล นำมาสู่แผนการขยายศูนย์อำนวยความสะดวกดูแลผู้แสวงบุญดินแดนพุทธภูมิให้มีเพิ่มมากขึ้น พระวิเทศวัชราจารย์ เจ้าอาวาสวัดสิทธารถราชมณเฑียร สาธารณรัฐอินเดีย กล่าวว่า จากการที่พระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาลร่วมกับกรมการศาสนา (ศน.) เปิดศูนย์อำนวยความสะดวกดูแลผู้แสวงบุญดินแดนพุทธภูมิ ณ สังเวชนียสถานยังวัดไทยรวม 16 แห่ง พบว่า การเปิดศูนย์ทุกแห่งปีนี้มีผู้แสวงบุญทั้งชาวไทยและนานาประเทศเดินทางมาใช้บริการเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เป็นผลมาจากส่วนใหญ่คลายความกังวลจากสถานการณ์โควิด 19 เฉพาะชาวไทยมีเดินทางมาผู้แสวงบุญเฉลี่ย 6 -7 หมื่นคน และจะสิ้นสุดการเข้ามาแสวงบุญภายในสิ้น มี.ค.นี้ เนื่องจากอินเดียเข้าสู่ฤดูร้อนอุณหภูมิจะสูงเกิน 40 องศาฯ จึงไม่นิยมเดินทางกันในช่วงดังกล่าว
” ตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงปัจจุบันศูนย์ทุกแห่งสามารถรองรับกลุ่มผู้แสวงบุญเป็นการบูรณาการรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นจุดพักรถระหว่างทางเพื่อให้ผู้แสวงบุญได้เข้าห้องน้ำสะอาด มีโรงทาน มีจุดสถานพยาบาลรองรับผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ตลอดจนการประสานให้ความช่วยเหลือด้านกงสุลกรณีหนังสือเดินทางหาย และตามของหาย รวมถึงกรณีเกิดการเสียชีวิตระหว่างการแสวงบุญจะประสานทางการอินเดียนำศพ หรืออัฐิกลับประเทศ ” พระครูอินเดีย กล่าว
พระวิเทศวัชราจารย์ กล่าวว่า จากพลังความศรัทธาของชาวพุทธทั้งชาวไทย และนานาชาติที่เดินทางมาแต่ละปีจำนวนมาก ทำให้ศูนย์ดูแลผู้แสวงบุญของไทยฯ เป็นที่รู้จักของชาวพุทธทั่วโลกที่เดินทางมาแสวงบุญที่อินเดีย กลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ไทยที่ได้รับความชื่นชมจากชาวพุทธนานาชาติ ทำให้พระธรรมโพธิวงศ์ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล จึงมีแนวคิดที่จะขยายการดูแลผู้แสวงบุญ จึงมีแนวคิดที่จะขยายการเปิดศูนย์ให้ครอบคลุมในเขตเมืองพุทธคยาเพิ่มเติมอีก 2 แห่ง ได้แก่ 1.ศูนย์เขาคยาสีสะ สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่ชฎิล 3 พี่น้องและบริวารอีก 1,000 คนเป็นการแสดงธรรมจนบรรลุพระอรหันต์มากที่สุดครั้งแรกของพระพุทธศาสนา ซึ่งห่างจากพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้เพียง 7-8 กิโลเมตร และปีนี้ถือเป็นปีแรกที่มีผู้แสวงบุญชาวไทยเดินทางมายังเขาคยาสีสะหลายเท่าตัว และ 2.ศูนย์เขาดงคสิริ ทึ่เป็นสถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของเจ้าชายสิทธัตถะ ตลอดระยะเวลา 6 ปีก่อนจะทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งทั้งสองแห่งเป็นภูเขาสูงต้องใช้เวลาเดินทางในการขึ้น-ลงเขา ควรมีศูนย์ขนาดเล็กเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่จะเดินทางให้ได้รับความสะดวกสบาย
ด้านนายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา (ศน.) กล่าวว่า จากการประสานงานกับคณะสงฆ์สายพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล เพื่อขยายความร่วมมือสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกแก่ผู้แสวงบุญพุทธภูมิ ณ สังเวชนียสถานประเทศอินเดีย-เนปาล ซึ่งเริ่มจากการสนับสนุนระยะแรกเพียง 7 ศูนย์ จนถึงปัจจุบันได้ให้การสนับสนุนจัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกฯ เพิ่มเติมแล้ว 16 ศูนย์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้คณะพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน ซึ่งมีทั้งชาวไทย ชาวอินเดีย ชาวเนปาล ชาวทิเบต ชาวเวียดนาม ชาวลาว ชาวเกาหลีที่ศรัทธาในพุทธศาสนาเดินทางมาจากทั่วโลกได้ปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนา ได้รับข้อมูลการเดินทางที่ถูกต้อง ได้พักรับประทานอาหาร ใช้บริการห้องน้ำ รวมถึงบางศูนย์เป็นที่พักสำหรับพุทธศาสนิกชนที่มาแสวงบุญ ทั้งนี้ ศน. จะมีการเสนอการสนับสนุนจัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกฯ เพิ่มเติม 2 แห่ง โดยจะจัดทำโครงการเสนอของบประมาณในปี 2568 ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พิกัด 11 วัด งานอารามอร่ามประดับไฟรับปีใหม่
เพื่อส่งมอบความสุขปลายปีและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดกิจกรรม “อารามอร่าม 11 วัด 1 โบสถ์พราหมณ์1 พิพิธภัณฑ์ ประดับไฟฉลองต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2568 “ ถือเป็นอีกหมุดหมายที่ห้ามพลาดและไม่ได้จัดเป็นประจำ เพราะ
วธ.จัดกิจกรรมถวายพระราชกุศล ร.9
28 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ องค์การทางศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาซิกข์และกลุ่มภาคีเครือข่ายจัด “กิจ
ศน.ชวนแจ้งความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน 9 พระอาราม
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ และพระราชานุญาตให้กระทรวง กรม หน่วยงานองค์กร คณะบุคคล และเอกชนที่มีความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินพร้อมเครื่องบริวารพระกฐิน เพื่อน้อมนำไ
'นวราตรี' พื้นที่ของทุกศาสนา
หนึ่งปีมีครั้งเดียวเทศกาล “นวราตรี” ถือเป็นช่วงเวลาที่ชาวฮินดูบูชาพระแม่อุมาเทวีจากความเชื่อตามตำนานที่พระแม่อุมาเทวีในร่างอวตารเป็นองค์ “พระแม่ทุรคา“ ปราบอสูรชื่อว่า “มหิษาสูร” ที่สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั่วได้สำเร็จ หลังสู้รบกันมา 9 วัน 9 คืน
รุ่นใหม่วัยเยาว์ 5 ศาสนา ท่อง'กะดีจีน'
ชุมชนกะดีจีนหรือชุมชนกุฎีจีนถือเป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางความวัฒนธรรมและความเชื่อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ย่านนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับทุกวัยและทุกศาสนา ในพื้นที่มีชุมชนและศาสนสถานแต่ละศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม เพื่อส่งต่อเรื่องราวพหุวัฒนธรรม เยาวชนรุ่นใหม่จาก 5 ศาสน