สัมผัสสถานที่จริง'สังเวชนียสถาน' ต่อยอดงานศาสนา

พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนได้เดินทางไปสัมผัสสถานที่จริงที่สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ซึ่งเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ 4 แห่ง สถานที่ประสูตร  สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพาน ในประเทศอินเดียและเนปาลอีกครั้งจากการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนเดินทางไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน ประจำปี 2567 โดยกระทรวงวัฒนธรรม กรมการศาสนา (ศน.)  ระหว่างวันที่ 20 – 29 มีนาคม 2567 โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น หลังจากโครงการนี้หยุดชะงักไปหลายปี เพราะสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19

โอกาสนี้ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา และ ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เข้าร่วมเดินทางไปประกอบศาสนกิจในรุ่นที่ 1 โดยมีพระวิเทศวัชราจารย์ เจ้าอาวาสวัดสิทธารถราชมณเฑียร สาธารณรัฐอินเดีย พระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล นำประกอบศาสนกิจไปกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้า ณ ดินแดนพุทธภูมิ สัมผัสกับดินแดนต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนา โอกาสนี้ผู้บริหาร วธ.ติดตามผลการดำเนินงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดไทยในอินเดียและเนปาล โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น รับฟังข้อเสนอแนะจากพระสงฆ์ ทั้งเจ้าอาวาส พระธรรมทูต ที่พำนักอยู่ในวัดไทยด้วย

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ. กล่าวว่า การส่งเสริมให้พระสงฆ์และเครือข่ายทางพระพุทธศาสนาได้เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาจากดินแดนพุทธภูมิตามปรากฏในพุทธประวัติและร่วมประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาคุณ พระปัญญาคุณ และพระบริสุทธิคุณของสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา และนำสิ่งที่ได้รับรู้กลับไปถ่ายทอดหรือเผยแผ่พระธรรมให้กับพุทธศาสนิกชนที่ไม่มีโอกาสเดินทางไปสังเวชนียสถาน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน

นางยุพา กล่าวด้วยว่า ปีนี้ ศน.เน้นพระภิกษุเมื่อกลับจากประกอบศาสนกิจฯ แล้วจะเสนอโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่ต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้แก่ ศน.  ที่มุ่งปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการเผยแผ่ในรูปแบบที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และเป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ส่วนพุทธศาสนิกชนที่เข้าร่วมก็เกิดความศรัทธาและเชื่อมั่นในความรู้เกี่ยวกับพุทธประวัติที่ได้รับมากขึ้น ที่สำคัญปีนี้เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จะมีอีกหลายโครงการดำเนินงานในมิติศาสนา ทำให้เกิดความเข้าใจและความศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น

“ จากโครงการครั้งนี้จะศึกษาการจัดเส้นทางประกอบศาสนกิจ 4 สังเวชนียสถาน เพื่อนำมาเป็นแนวทางจัดทำเส้นทางประกอบศาสนกิจในประเทศไทยที่ได้จำลองขึ้นเช่นเดียวกับอินเดีย มุ่งให้คนไทย และชาวต่างชาติ ได้มีโอกาสเข้าถึงพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น ซึ่งต้องผลักดันสร้างการรับรู้ให้คนทั่วโลกได้ทราบว่า นอกจากอินเดียแล้ว ยังมีเส้นทางการท่องเที่ยวประกอบศาสนกิจในประเทศไทยด้วย อีกทั้งจะขยายเส้นทางการท่องเที่ยวมิติศาสนาในจังหวัดต่างๆ ซึ่งจะทำคู่ขนานกับโครงการตามเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา สู่การสร้างรายได้ ช่วยดึงคนต่างชาติมาเที่ยวประเทศไทยให้มากขึ้นต่อไป “ ปลัด วธ. กล่าว

ด้าน นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดี ศน. กล่าวว่า  ศน.ดำเนินโครงการส่งเสริมพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนไปประกอบศาสนกิจที่สังเวชนียสถาน 4 ตำบล มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558  จนถึงปัจจุบัน มุ่งให้เกิดการเรียนรู้และนำบทเรียนที่ได้สัมผัสจากประสบการณ์จริงโดยตรง เรานำพระสงฆ์ ซึ่งมีบทบาทพระธรรมวิทยากร พระสงฆ์ที่ปฏิบัติงานในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระสงฆ์ที่ขับเคลื่อนโครงการพลังบวรในมิติศาสนา และพุทธศาสนิกชน 70 รูป/คน จะได้ไปประกอบศาสนกิจในสถานที่ประสูติ ณ สวนลุมพินี เมืองกบิลพัสดุ์ รัฐลุมพินี เนปาล สถานที่ตรัสรู้ ณ บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันเรียกว่า “พุทธคยา” เมืองคยา รัฐพิหาร อินเดีย สถานที่แสดงปฐมเทศนา “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ เมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ อินเดีย สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา ปัจจุบันเรียกว่า กุสินาคาร์ เมืองกาเซีย รัฐอุตตรประเทศ

“ พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการศึกษาสถานที่สำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ทำให้เกิดความซาบซึ้งและพัฒนาต่อยอดงานด้านศาสนา นำความรู้และประสบการณ์ไปถ่ายทอดสู่เยาวชนและประชาชน ทั้งด้านการเรียนการสอนและด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำหลักธรรมมาประยุกต์และปรับให้สอดรับกับบริบทของสังคม เพื่อถ่ายทอดและอบรมให้ประชาชนมีคุณธรรมจริยธรรม

นอกจากนี้ กองทุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ที่ ศน.จัดตั้งสนับสนุนการดำเนินการของศูนย์อำนวยความสะดวกผู้เดินทางไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล  9 แห่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้คณะพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนา และได้รับข้อมูลการเดินทางที่ถูกต้อง

อธิบดี ศน. กล่าวว่า ตอนนี้ศูนย์ดังกล่าวมีความพร้อมให้บริการคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนที่เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล อย่างเต็มที่ ประกอบด้วยวัดไทยลุมพินี เนปาล 1 แห่ง และอินเดีย อีก 8 แห่ง ได้แก่ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์, วัดไทยพุทธคยา, วัดสิทธารถราชมณเฑียร, วัดไทยสารนาถ, วัดไทยเชตวันมหาวิหาร,วัดไทยนวราชรัตนาราม, วัดไทยนวมินทร์ธัมมิกราช และวัดไทยพระรามอโยธยา   ถือเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้คณะสงฆ์ไทยได้ไปประกอบศาสนกิจที่สังเวชนียสถาน มาพักศึกษาวัดไทย  ปฏิบัติศาสนกิจ ซึ่งมีทั้งชาวไทย  ชาวอินเดีย ชาวเนปาล ชาวทิเบต ชาวเกาหลีที่ศรัทธาในพุทธศาสนาเดินทางมาจากทั่วโลก ทำให้เกิดความสะดวกในการมาจาริกแสวงบุญบนแผ่นดินที่เป็นต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนา นำหลักธรรมคำสอนไปสู่ประเทศของตนเอง  จะก่อให้เกิดความมั่นคงถาวรแก่พระพุทธศาสนา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ

ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา  ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

สืบสานประเพณีถวายผ้าพระกฐินวัดหนองแวง แหล่งรวมมรดกวัฒนธรรม

5 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในเทศกาลกฐิน พุทธศักราช 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษา

'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก

“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น  สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง  ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ 

ลอยกระทงวิถีไทย สืบสานประเพณีงดงาม

วันลอยกระทงปีนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 จัดเป็นเทศกาลประเพณีสำคัญของคนไทยที่จะได้ร่วมกันสืบสานคุณค่าประเพณีอันดีงาม โดยการทำกระทงสวยงามหลากหลายรูปแบบ นำไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ