สนุกกับดนตรีจากศิลปินชาติพันธุ์ใจกลางสยาม

งาน’เสียงชาติพันธุ์ ลือลั่นทั่วสยาม’ เริ่มต้นขึ้นอย่างมีสีสันความหลากหลายชาติพันธุ์ในไทย โดยนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และนางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช พร้อมคณะ อาทิ น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ นายนายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ โฆษกกระทรวงฯ น.ส.กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ น.ส.สกาวใจ พูนสวัสดิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ ฯลฯ เข้าร่วม

งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม และเครือข่ายพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อเฉลิมฉลองวาระสำคัญของประเทศไทยที่จะมีกฎหมายชาติพันธุ์ จากการที่คณะรัฐมนตรีผ่านร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 ที่เสนอโดยกระทรวงวัฒนธรรม และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) และผ่านวาระที่หนึ่งในสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว โอกาสนี้ นายเสริมศักดิ์ และนางระเบียบรัตน์ ได้ร่วมเต้นรำลีซูเปิดงาน

นายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า หัวใจของกฎหมายฉบับนี้ คือ การคุ้มครองและส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกัน เราจะไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และกฎหมายนี้จะประกาศใช้อีกไม่นาน และงานนี้กระทรวงตั้งใจให้เป็นการเชื่อมผสานวัฒนธรรม ด้วยท่วงทํานองของดนตรี ที่อยากให้ทุกคนได้เห็น ได้สัมผัส และได้เรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกัน ความแตกต่างไม่ใช่ความแปลกแยก เช่นเดียวกับสังคมไทยที่หลอมรวมผู้คน เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่งดงามและมีความหลากหลายเป็นทุนทางวัฒนธรรมของชาติ

โอกาสนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่ติดภารกิจลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ส่งวีดิโอกล่าวเปิดงานมาเผยแพร่ในพิธีเปิดงาน ใจความว่า รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนพี่น้องชาติพันธุ์ทุกกลุ่มอย่างไม่เลือกปฏิบัติ โดยรัฐบาลได้อนุมัติร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ ฉบับแรกของประเทศตามที่กระทรวงวัฒนธรรม โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เสนอ เพื่อคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม ส่งเสริมศักยภาพ และสร้างความเท่าเทียมอย่างเป็นธรรม เพื่อให้พี่น้องทุกกลุ่มชาติพันธุ์เข้าถึงสิทธิในฐานะพลเมืองไทยอย่างเสมอภาค ผมเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าของทุกกลุ่มวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย เเละให้ความสำคัญกับการนำทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา องค์ความรู้ต่างๆ มาต่อยอดในทางเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงพร้อมสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ให้ดำรงอยู่อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีรายได้ เเละมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นพลังสร้างสรรค์ เป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาประเทศไทยร่วมกันอย่างยั่งยืน

สำหรับรูปแบบเป็นงานนิทรรศการดนตรีจากศิลปินชาติพันธุ์หลากหลายภูมิภาค ได้แก่ สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ ศิลปินปกาเกอะญอ, Nimman Street Orchestra ลีซู, คณะพรสวรรค์ ภูเก็ต, Yoov Muas ศิลปินป๊อบชาวม้ง, Good Mood และ Sri Popa-Jay Run 2 นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการเรียนรู้และทดลองเล่นเครื่องดนตรีชาติพันธุ์ Eco Print มัดย้อมผ้าสีธรรมชาติ  โกโก้เทสติ้ง เป็นต้น และมีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ อาทิ ผ้าทอพื้นบ้าน โกโก้ กาแฟ ชา และน้ำผึ้ง เป็นต้น กิจกรรมมีตั้งแต่วันที่ 16-17 มีนาคม 2567 นี้ ที่ลานสยามสแควร์ Block i บริเวณซอย 7 สนใจไปเที่ยวชมงานกันได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว. ปุ๋ง ชวนเที่ยวงาน‘อาหารไทยถิ่น กินด้วยภูมิปัญญา’ ครั้งแรกเปิดตัวโลโก้-เพลง Thailand Best Local Food

2 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

สืบสานงานศิลป์ 2 แผ่นดิน ศิลปกรรมสยาม

เนื่องในวโรกาสมหามงคล 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ชมรมพุทธศิลป์ศิมาลัยทรงธรรม วัดศิมาลัยทรงธรรม กลุ่มศิลปาศรี ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)  จัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ

บรรพชาอุปสมบท-บวชชีพรหมโพธิ ปฏิบัติธรรมสังเวชนียสถาน ถวายเป็นพระราชกุศล

วธ.ร่วมกับวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จัดบรรพชาอุปสมบทและบวชชีพรหมโพธิ เดินทางไปปฏิบัติธรรม - ศึกษาพุทธประวัติ ณ พุทธสังเวชนียสถานอินเดีย - เนปาล

ยอดชมมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติฯ 5 วัน 5 แสนคน

16 ก.ค.2567 - นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ หน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

'วันอาสาฬหบูชา' เปิดพื้นที่อนุรักษ์วิถีแห่งศรัทธา

วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีนี้ ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2567  ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสน อาสาฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่ 4 ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย มักตรงกับเดือน ก.ค. หรือ