เมื่อความฉลาดทางปัญญาไม่เพียงพออีกต่อไปในยุคนี้

โครงการทุนการศึกษาของมูลนิธิเอเอฟเอส หรือโครงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เชิงวัฒนธรรม ทีเริ่มแรกกำเนิดในประเทศไทยเมื่อพ.ศ.2505 หรือ 62ปีที่แล้ว ต่อมาพ.ศ.2513 ได้เปลี่ยนเอเอฟเอสประเทศไทยเปลี่ยนเป็น “องค์การนานาชาติ” (AFS International Organization) ให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอื่น ๆ ด้วย อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนกับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา ละติน-อเมริกา ยุโรป และอีกหลายประเทศ ที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ จากนั้นเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “AFS International Intercultural Programs

จุดแข็งของโครงการเอเอสเอฟ ยังคงเป็นเรื่องที่นักศึกษาแลกเปลี่ยนจะได้รับประสบการณ์อันมีค่ายิ่งในชีวิต จากการได้ไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนประเทศต่างๆ ด้วยเหตุนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ ผู้อำนวยการใหญ่ เอเอฟเอส ประเทศไทย จึงได้ออกบทความที่จะชี้ให้เห็นว่าโลกปัจจุบันนั้นไร้ขอบเขต และมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   ความฉลาดทางสติปัญญาอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอการดำรงอยู่ แต่ต้องมีความฉลาดทางอารมณ์และ”การรู้เขารู้เราทางวัฒนธรรม “มาช่วยขับเคลื่อนยืนหยัดด้วย

เนื้อหาบทความมีดังนี้  ปัจจุบันสังคมไทยและสังคมโลกต่างมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และความคิด ทำอย่างไรที่เราสามารถใช้ชีวิตภายใต้ความหลากหลายเหล่านี้ได้อย่างมีความสุข สามารถติดต่อและทำงานร่วมกันได้อย่างมืออาชีพ การสื่อสารถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งและหัวใจสำคัญในการเชื่อมโยงความแตกต่างหลากหลายเข้าด้วยกัน แต่ไม่ว่าจะสื่อสารภาษาเดียวกันหรือต่างกัน ก็จะมีอุปสรรคบางอย่างที่เข้ามาทำให้มีปัญหาในการทำงานร่วมกัน เกิดความไม่เข้าใจระหว่างกัน และนำมาสู่ความขัดแย้งหรือพลาดโอกาสสำคัญ ความฉลาดทางวัฒนธรรมจึงเป็นทักษะหนึ่งให้เราใช้ชีวิตบนโลกใบนี้อย่างมีความสุข

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ

หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับคำว่าความฉลาดทางปัญญา (Intelligence Quotient: IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient: EQ) กันมาแล้ว เนื่องจากเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จทั้งด้านการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิต แต่นอกจาก IQ และ EQ แล้ว อีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมที่ผู้คนต่างวัฒนธรรมสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างง่ายดาย นั่นคือก็ ความฉลาดทางวัฒนธรรม (Cultural Quotient: CQ)

ในสังคมการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาทางธุรกิจ การประสานงานระหว่างหน่วยงาน การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ หรือการติดต่อกับลูกค้า เราต้องพบปะผู้คนมากหน้าหลายตา ต่างความคิด ต่างวัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งต่างเชื้อชาติ ดังนั้นทักษะความฉลาดทางวัฒนธรรมจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงาน โดยนิตรสาร Forbes ยังได้กล่าวถึงความสำคัญของความฉลาดทางวัฒนธรรมในสังคมการทำงานว่าทักษะนี้จะมีส่วนช่วยพัฒนาให้เราสามารถสื่อสารและร่วมงานกับผู้คนหลากหลายวัฒนธรรมได้อย่างราบรื่น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยส่งเสริมให้เรามีศักยภาพในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ อันเนื่องมาจากความสามารถในการบูรณาการข้อมูลและมุมมองที่หลากหลายได้นั่นเอง

ดังนั้น เราจึงสามารถเริ่มต้นพัฒนาทักษะความฉลาดทางวัฒนธรรมด้วยตัวเองได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากการเปิดใจ ใฝ่เรียนรู้ และปรับตัว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ

เปิดใจ ยอมรับในความหลากหลายของผู้คนที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา ค่านิยม ความคิด ตลอดจนลักษณะการสื่อสารและการแสดงออกทางพฤติกรรมที่ต่างกันไปตามแต่ละบริบททางสังคมและวัฒนธรรม เช่น เมื่อต้องปฏิสัมพันธ์กับความที่มีความแตกต่างให้เริ่มเปิดใจที่จะทำความเข้าใจ รับฟัง ไม่ปิดกั้นหรือสร้างกำแพงที่จะเป็นอุปสรรคให้เข้าถึงความเข้าใจในความแตกต่างได้

ใฝ่เรียนรู้ ทำความเข้าใจลักษณะการสื่อสาร การแสดงออก นิสัย รวมถึงสไตล์การทำงานของแต่ละวัฒนธรรม ผ่านการสังเกต ตั้งคำถาม และหาคำตอบจากผู้ใกล้ชิดหรือมีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมนั้นๆ ก็ยิ่งช่วยทำให้เข้าใจรูปแบบการแสดงออกของผู้คนจากวัฒนธรรมนั้นๆ ได้มากขึ้น เช่น เมื่อเจอคนที่นิสัยแตกต่างจากเรา ควรจะแสวงหาความรู้เพื่อเข้าใจพฤติกรรมที่แตกต่างจากเรา ตั้งคำถามว่าวัฒนธรรมหรือสังคมที่เขาอยู่ส่งผลต่อพฤติกรรมหรือนิสัยของเขาหรือไม่ อย่างน้อยจะทำให้เรามีความรู้และความเข้าใจในความแตกต่างได้

ปรับตัว ทั้งความคิด การสื่อสาร การแสดงออกให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวัฒนธรรมนั้นๆ เพื่อให้การประสานงานและการติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างราบรื่น เราไม่สามารถเป็นศูนย์กลางของสิ่งที่อยู่รอบตัวเราได้เสมอไป ความสามารถในการปรับตัวจึงเป็นทักษะสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ความหลากหลายได้ แต่ละสังคมต่างก็มีบริบทที่แตกต่างกันไป อยู่บ้านเราอาจจะทำอะไรก็ได้ แต่เมื่ออยู่ที่ทำงานเราก็ควรต้องปรับตัว อยู่ประเทศไทยเราอาจจะทำอะไรก็ได้ แต่เมื่ออยู่ต่างประเทศเราก็ควรต้องปรับตัว

ดังนั้น เปิดใจ ใฝ่เรียนรู้ และปรับตัว จะเป็นสะพานที่พาเราออกจาก Comfort zone ไปสู่พื้นที่ที่มีความหลากหลายได้อย่างมีความสุข การให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะความฉลาดทางวัฒนธรรม จึงเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการเปิดประตูสู่ความสำเร็จสำหรับคนทุกช่วงวัย

เอเอฟเอส ประเทศไทย เป็นองค์กรซึ่งดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเยาวชนไทยกับนานาชาติกว่า 60ประเทศทั่วโลก เป็นระยะเวลา 61 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ผ่านโครงการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม ทั้งโครงการแลกเปลี่ยนระยะ 1 ปี โครงการแลกเปลี่ยนระยะสั้น โครงการค่ายภาษาและวัฒนธรรม โครงการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมรูปแบบออนไลน์ และโครงการอุปถัมภ์นักเรียนต่างชาติที่ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณค่าและมีคุณภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ

——————–

ใต้ภาพ

ผศ.ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ ผู้อำนวยการใหญ่ เอเอฟเอส ประเทศไทย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คนไทยในสเปนชื่นชมในพระปรีชาสามารถพระราชินีด้านกีฬาเรือใบ

1 ก.ย. 67 เวลา 17.34 น. เวลาราชอาณาจักรสเปน ซึ่งช้ากว่าเวลาประเทศไทย 5 ชั่วโมง สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนิน ไปยัง The Saling Lounge Tent ณ ท่าเรือ Puerto Portals เพื่อทรงร่วมพิธีปิดการแข่งขันและประกาศรางวัลผู้ชนะเลิศการแข่งขันในรายการ แข่ง

โปรดเกล้าฯ องคมนตรี เชิญถุงพระราชทานมอบชาวสวรรคโลก

2 ก.ย.2567- เวลา 10.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายนุรักษ์ มาประณีต องคมนตรี ร่วมกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญถุงพระราชทานและเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 2,000 ถุง

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะบุคคลเฝ้าฯ

2 ก.ย.2567 - เวลา 9.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ วังสระปทุม พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสา

'หมอยง' ชวนฉีดวัคซีน ปีนี้ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้หวัดใหญ่ปีนี้ระบาดมาก