'แอนโทเนีย'นางมโหธรเทวี เผยแพร่เพลงสงกรานต์ 5 ภาษา

เปิดตัวครั้งแรกบนเวทีหอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นางสาวแอนโทเนีย โพซิ้ว เจ้าของมงกุฎรองนางงามจักรวาล อันดับ 1 ปี 2023 ในฐานะเป็น”นางมโหธรเทวี” นางสงกรานต์ ประจำปี 2567 พร้อมเปิดตัวบทเพลงสงกรานต์ ฉบับภาษาต่างประเทศ  ในโอกาสที่องค์การยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียน “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม เป็นประธาน พร้อมด้วยนายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม นางอติพร สุนทรสนาน เสนะวงศ์ เจ้าของและผู้จัดการวงดนตรีสุนทราภรณ์  รศ.ดร.จารุณี หงส์จารุ อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายพหลยุทธ กนิษฐบุตร รองอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และนางนฤมล เลี้ยงรักษา รองประธานสภาวัฒนธรรมกรุงเทพฯ เข้าร่วม  

นายเสริมศักดิ์  พงษ์พานิช กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน ถือว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความสำคัญที่จะจัดงานสงกรานต์ให้ยิ่งใหญ่ หลังยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนประเพณี “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ รัฐบาลมุ่งขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ด้านเฟสติวัลและด้านการท่องเที่ยว รองรับ Thailand Creative Content Agency (THACCA) ในส่วน วธ.ได้กำหนดนโยบายภายใต้ซอฟต์พาวเวอร์ “สร้างเสน่ห์วิถีไทย ครองใจคนทั้งโลก” เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชนและชุมชนและส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ

 “ รัฐบาลโดย วธ. ตั้งใจผลักดันส่งเสริมการจัดงานสงกรานต์จัดให้ยิ่งใหญ่ที่สุด ดังไกลไปทั่วโลก โดยประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทยเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นประเพณีแห่งความสุข ความอบอุ่น อ่อนโยน เต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความเอื้ออาทรและการให้เกียรติ เคารพซึ่งกันและกัน โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการสร้างสัมพันธ์ไมตรี ปี 2567 นี้ รัฐบาล โดยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนกำหนดจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival : ประเพณีสงกรานต์ไทย หมุดหมายนักท่องเที่ยวทั่วโลก” ในช่วงเดือนเมษายน โดยจัดกิจกรรมทั้งในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) และส่วนภูมิภาค ขอเชิญชวนคนไทยและชาวต่างชาติทั่วโลกร่วมงานเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่ประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ และร่วมสืบสาน รักษา ต่อยอดมรดกภูมิปัญญาประเพณีสงกรานต์อันทรงคุณค่าของประเทศไทยให้คงอยู่สืบไป” นายเสริมศักดิ์ กล่าว  

ด้าน นายโกวิท ผกามาศ กล่าวว่า สวธ. ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ พ.ศ.2567 ในโอกาสที่ประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทยได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจากองค์การยูเนสโก โอกาสนี้แต่งตั้งนางสาวแอนโทเนีย โพซิ้ว รองนางงามจักรวาล อันดับ 1 ประจำปี 2023 เป็นนางมโหธรเทวี นางสงกรานต์ ปี 2567 เพื่อร่วมถ่ายทอดคุณค่าสาระและแสดงอัตลักษณ์ของประเพณีสงกรานต์ไทย และเพื่อสืบสานประเพณีสงกรานต์ได้จัดทำบทเพลง “เริงสงกรานต์” ฉบับภาษาอังกฤษร่วมกับมูลนิธิสุนทราภรณ์ และวงดนตรีสุนทราภรณ์ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน ประพันธ์ทำนองโดย ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ขับร้องโดยคณะนักร้องคลื่นลูกใหม่ของวงดนตรีสุนทราภรณ์ เป็นการนำร่อง ซึ่งวงดนตรีสุนทรภรณ์มีบทเพลงเกี่ยวกับสงกรานต์อีก 7 เพลง จะขยายผลต่อไป  มีการจัดทำบทเพลง “สงกรานต์” ซึ่งเป็นเพลงแต่งใหม่ โดย รศ.ดร.จารุณี หงส์จารุ มีทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ จำนวน 4 ภาษา ภาษาเยอรมัน ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาฝรั่งเศส เนื้อเพลงใช้คำง่ายๆ ชาวไทยและต่างประเทศเข้าใจแนวคิดของประเพณีสงกรานต์  บรรเลงโดยวงดนตรีเฉลิมราชย์  

“ สำหรับเพลงสงกรานต์ ฉบับภาษาต่างประเทศจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทางให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้รับรู้ถึงคุณค่าสาระของประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง และส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศพร้อมจะเสนอสถานทูตทั่วโลก รวมถึงสายการบินของประเทศไทยเพื่อประชาสัมพันธ์สู่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทย  สนับสนุนสร้างพลังสร้างสรรค์หรือซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ ยกระดับและพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย ให้สร้างมูลค่าและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทย  “ อธิบดี สวธ. กล่าว

นางอติพร สุนทรสนาน เสนะวงศ์ ผู้จัดการวงดนตรีสุนทราภรณ์ กล่าวว่า วธ.ได้พิจารณาคัดเลือกเพลงรำวงเริงสงกรานต์ที่ประพันธ์ทำนองโดยครูเอื้อ สุนทรสนาน บุคคลสำคัญของโลกทางด้านดนตรียกย่องของยูเนสโกในปี 2553 เป็นส่วนหนึ่งนำประเพณีสงกรานต์ไทยสู่เวทีโลก นับว่าเป็นเพลงที่มีทำนองไพเราะ มีความสนุกสนานแบบพื้นบ้านไทย ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์การเฉลิมฉลองชาวไทยมาตั้งแต่ปี 2504  การนำเพลงนี้มาใส่เนื้อร้องภาษาอังกฤษ วงเห็นว่าจะต้องคงทำนองและจังหวะดนตรีอันไพเราะที่ครูเอื้อ สุนทรสนาน ได้ประพันธุ์ไว้ให้ครบถ้วนเพื่อถ่ายทอดบรรยากาศการเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ที่ชาวไทยทุกคนรู้จักและคุ้นเคยมานาน

“ เนื้อเพลงของวงดนตรีสุนทรภรณ์ที่ทำเป็นภาษาอังกฤษ ใช้คำง่าย มีสัมผัส และคำซ้ำที่คนไทยในต่างแดนและชาวต่างชาติน่าจะสามารถเข้าใจและจดจำนำไปร้องได้โดยง่าย มีองค์ประกอบการเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ครบถ้วน ได้แก่ ความสนุกสนานร่วมกัน การละเล่น การรำวง ตลอดจนการสาดน้ำสนุกสนาน   หวังว่า เพลงรำวงสงกรานต์ภาคภาษาอังกฤษจะส่วนหนึ่งเผยแพร่วัฒนธรรมสงกรานต์หรือปีใหม่ไทยให้เป็นนิยมอย่างแพร่หลายและเป็นที่รู้จักของประชาคมโลก เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยต่อไป “ นางอติพร กล่าว

ภายหลังแถลงข่าวประธานได้มอบจักรและตรีศูล สัญลักษณ์ของ“นางมโหธรเทวี นางสงกรานต์ ประจำปี 2567 “ และมอบเกียรติบัตร ให้แก่ น.ส.แอนโทเนีย โพซิ้ว ต่อด้วยการแสดงทางวัฒนธรรม ชุด “ตำนานนางสงกรานต์” โดยแอนโทเนีย โพซิ้ว  รังสรรค์โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และการแสดงบทเพลง “เริงสงกรานต์” ฉบับภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยคณะนักร้องวงดนตรีสุนทราภรณ์ จากนั้นแสดงบทเพลง “สงกรานต์” บรรเลงโดยวงดนตรีเฉลิมราชย์ และการแสดงขับร้องบทเพลงเริงสงกรานต์ ฉบับภาษาจีน โดย ส.ว.ประเสิรฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ร่วมกับคณะเม้ง ป.ปลา นอกจากนี้ มีกิจกรรมสรงน้ำพระพุทธรูป สาธิตการจัดประเพณีสงกรานต์จากสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชลบุรี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดภูเก็ต แต่ละภาคมีอัตลักษณ์แตกต่างกัน

ทั้งนี้ สวธ. กำหนดจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ปี 2567 ประกอบด้วย งานรดน้ำขอพรศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2567 ณ อาคารเอนกประสงค์ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วันที่ 10 เม.ย. นิทรรศการ สงกรานต์ไทย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ 10-12 เม.ย. ณ ลานกลางแจ้งหน้าหอศิลป์กรุงเทพมหานคร (BACC)  งานสืบสานประเพณีสงกรานต์ พ.ศ. 2567 ณ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ  ระหว่าง 12-16 เม.ย. และกิจกรรมการแสดงสืบสานประเพณีสงกรานต์ในงานใต้ร่มพระบารมี 242 กรุงรัตนโกสินทร์ ในวันที่ 13 เม.ย. 2567 ณ เวทีการแสดง สังคีตศาลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ

ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา  ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

สืบสานประเพณีถวายผ้าพระกฐินวัดหนองแวง แหล่งรวมมรดกวัฒนธรรม

5 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในเทศกาลกฐิน พุทธศักราช 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษา

'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก

“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น  สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง  ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ 

ลอยกระทงวิถีไทย สืบสานประเพณีงดงาม

วันลอยกระทงปีนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 จัดเป็นเทศกาลประเพณีสำคัญของคนไทยที่จะได้ร่วมกันสืบสานคุณค่าประเพณีอันดีงาม โดยการทำกระทงสวยงามหลากหลายรูปแบบ นำไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ

ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต อัตลักษณ์แห่งศรัทธาสืบทอดมา 199 ปี

จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการอ๊าม (ศาลเจ้า) และองค์กรต่าง ๆ พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2567  โดยมี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล