ผลงาน 15 ศิลปินอาเซียนในเวนิส เบียนนาเล่

ศิลปินอาเซียนจะได้เข้าร่วมในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส  เบียนนาเล่ หรือ International Art Exhibition La Biennale di Venizia ครั้งที่ 60 แสดงศักยภาพผ่านนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร และจะมีการฉายภาพยนตร์สั้นเรื่องใหม่ นำแสดงโดย Marina Abramović ศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับโลก ผู้ชนะรางวัลสิงโตทองคำ ที่เวนิส เบียนนาเล่ และพิเชษฐ กลั่นชื่น  ศิลปินไทย โดยจัดแสดงที่ Palazzo Mangilli Valmarana  นครเวนิส สาธารณรัฐอิตาลี เรื่องราวภาพยนตร์และนิทรรศการนี้จะเน้นการเดินทางข้ามทะเล และการพลัดถิ่นเกี่ยวข้องโดยตรงกับธีม” Foreigners Everywhere” ของเวนิส เบียนนาเล่ปีนี้

ล่าสุด มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายพันธมิตรประกาศความพร้อมจัดงาน The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส   เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 ซึ่งจะเปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 20 เม.ย. – 24 พ.ย.2567 ภายในงานพบกับศิลปะที่โดดเด่นตั้งแต่ภาพวาด ประติมากรรม สื่อผสม และวิดีโอจัดวาง  เจาะลึกประเด็นเรื่องการพลัดถิ่น ลัทธิล่าอาณานิคม และการผสมผสานของวัฒนธรรมที่หลากหลายทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เน้นไปที่สัญลักษณ์การข้ามน้ำและทางทะเลเป็นพิเศษ

ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บ.ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการและผู้ก่อตั้งมูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ กล่าวว่า การจัดแสดงนิทรรศการในเวนิส เบียนนาเล่ เราได้รับเกียรติจาก 15 ศิลปินที่มีชื่อเสียงจากภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมแสดงผลงาน 40 ชิ้น นับว่าเป็นโอกาสพิเศษที่ ศ. ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ในฐานะภัณฑารักษ์ และศิลปินไทย ได้แสดงศักยภาพในการจัดแสดงผลงานศิลปะให้ทัดเทียมนานาชาติ ในการแสดงให้เห็นว่า ต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรมและมรดกทางวัฒนธรรมที่พัฒนาสู่คุณค่าทางศิลปกรรมของภูมิภาคอาเซียน จะได้เผยแพร่สู่สายตาชาวโลก สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยและอาเซียนในงานระดับโลก เป็นการยกระดับให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์แก่เมือง และชุมชน มูลนิธิฯ ส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยง พร้อมทั้งเผยแพร่เอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมอาเซียนที่จะจัดแสดงขึ้นในมหกรรมศิลปะนานาชาติเวนิส เบียนนาเล่ ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและได้รับการยอมรับจากวงการศิลปะทั่วโลก

“ จากบันทึกประวัติศาสตร์ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสชมผลงานศิลปะในงานเวนิส เบียนนาเล่ ค.ศ 1897 พระองค์ทรงจ้างศิลปินและสถาปนิกชาวอิตาเลี่ยนอย่าง Galileo Chini , Mario Tamagno, Corrado feroci มาร่วมออกแบบ และสร้างสถานที่สำคัญต่างๆ ในประเทศไทย ต่อมาในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้มีการออกแบบและสร้างบ้านที่เรียกว่า วิลล่านรสิงห์ ปัจจุบัน คือ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเวเนเชียน โกธิค รีไววัล อาคารตกแต่งด้วยองค์ประกอบยุคโกธิคแบบเมืองเวนิช คล้ายกับที่ Palazzo Ca’d’Oro (Golden House) อันเป็นเอกลักษณ์  นิทรรศการนี้จะเผยแพร่ผลงานศิลปะร่วมสมัยของคนไทยและนำไปสู่สัมพันธไมตรีอันดีระหว่างไทยกับอิตาลีที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตยาวนาน157 ปี “ ฐาปน กล่าว

ด้าน ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต  เบียนนาเล่  กล่าวว่า  The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร เป็นงานประวัติศาสตร์ เพราะศิลปินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้เข้าร่วมแสดงผลงานมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส  เบียนนาเล่  เป็นเวลา 8 เดือน และไฮไลท์ภาพยนตร์ The Spirits of Maritime Crossing จะเปิดฉายรอบปฐมทัศน์ที่มูลนิธิ Generali Procuratie Vecchie I จัตุรัส San Marco นิทรรศการเน้นไปที่ความหวังและความตระหนักรู้เพื่ออนาคตที่ดีกว่าของโลก แนวคิดเรื่องกระแสน้ำและการข้ามทะเลไม่เพียงเกี่ยวกับการค้าและการพาณิชย์  มีมิติความทรงจำและการค้นหาวิธีแก้ปัญหาและความเข้าใจว่าเราจะปรับตัวอย่างไรต่อสภาวะที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นเรื่องกระแสการแลกเปลี่ยนและความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่ลดลงและไหลเวียน กระแสน้ำที่นำประสบการณ์และความเร้าใจมาสู่เวนิสจากสถานที่อันห่างไกล The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร จะเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าตื่นเต้นสำหรับผู้มาเยือน เพื่อใคร่ครวญและใช้เวลาสัมผัสประสบการณ์การตีความทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และที่หลบภัย จะได้สัมผัสความสามารถของศิลปินอาเซียน หลายคนเป็นคลื่นลูกใหม่ มีอนาคตไกล

เปาโล ดิโอนีซี เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทยกล่าวว่าไทยและอิตาลีมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมายาวนาน มีศิลปินชาวอิตาเลี่ยนหลายคนออกแบบสถานที่สำคัญหลายแห่งในประเทศไทย หนึ่งในนั้น ศ.ศิลป์ พีระศรี เราพร้อมจะสนับสนุนกิจกรรมดีๆ และหวังว่าในอนาคตอิตาลีจะเป็นพื้นที่ที่จะเปิดให้ศิลปินไทยได้จัดแสดงผลงานสร้างสรรค์ต่อไป เพราะล้วนมีศักยภาพ ตนสัมผัสจากการร่วมชมผลงานศิลปะร่วมสมัยในบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่มา 

นักรบ มูลมานัส ศิลปินที่ร่วมแสดงงาน กล่าวว่า ทำงานศิลปะร่วมกับจิตติ เกษมกิจวัฒนา นำเสนอในรูปแบบ VDO Installation  เชื่อมโยงกับพื้นที่จัดแสดงที่มีประวัติศาสตร์เข้มข้น ใช้กระจกเป็นสัญลักษณ์ภาพสะท้อนอดีตสยาม-เวนิส มีมิติกรุงเทพฯ ที่ได้รับการยกย่องเป็นเวนิสตะวันออก เราตีความเล่นกับมุมมองประวัติศาสตร์รูปแบบใหม่ๆ ผู้ที่เดินทางมาชมงานศิลปะจะได้รับรู้เกร็ดประวัติศาสตร์ที่ถูกลืมจากผลงานร่วมแสดงมหกรรมศิลปะเก่าแก่ของโลกครั้งนี้

สำหรับรายชื่อ 15 ศิลปินที่ร่วมแสดงงานที่เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งนี้ นำโดย มารีน่า อบราโมวิช , พิเชษฐ กลั่นชื่น , ปรียากีธา ดีอา , จิตติ เกษมกิจวัฒนา , นักรบ มูลมานัส , จอมเปท คุสวิดานันโต , บุญโปน  โพทิสาน ,อัลวิน รีอามิลโล ,คไว สัมนาง, โม สัท ,จักกาย ศิริบุตร , เจือง กง ตึง , นที อุตฤทธิ์ ,กวิตา วัฒนะชยังกูร  และ หยี่ อิ-ลาน เรียกว่าครบเครื่องตั้งแต่ศิลปินชื่อดังจนถึงศิลปินหน้าใหม่มากพรสวรรค์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โครงการ ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว สานต่อปณิธานแห่งการ “ให้” ปีที่ 25 “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน”

จากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งภัยพิบัติรุนแรงหลายรูปแบบที่ต้องเผชิญในยุคของ Global Boiling (สภาวะโลกเดือด) กระทบต่อหลายพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยในแถบภาคเหนือ

ไทยเบฟขับเคลื่อนการเติบโตที่ยั่งยืนสู่ PASSION 2030

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ” หรือ “กลุ่ม”) เผยแผนงาน PASSION 2030 ซึ่งต่อยอดการดำเนินงานของกลุ่มในการเสริมความแข็งแกร่งสถานะผู้นำที่

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ 'บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่'

1 ต.ค.2567 - เวลา 9.04 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี      เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ  บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ Bangkok Art Biennale 2024 (BAB 2024) ภายใต้แนวคิด "รักษา กายา

งานศิลป์จาก'ขยะ' เพิ่มมูลค่า ดีต่อโลก

การเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ให้กลายเป็นงานศิลปะหรือของใช้สร้างสรรค์เป็นแนวทางการทำงานที่พบเห็นได้ของศิลปินร่วมสมัยชื่อดังไทยและต่างประเทศ  รวมถึงเป็นเทรนด์ที่มาแรงในสังคมไทย เพื่อกระตุ้นให้เกิดไอเดียศิลปะจากสิ่งของเหลือใช้ที่หลายคนมองไม่เห็นคุณค่า

โครงการ ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว ก้าวสู่ปีที่ 25 พร้อมสานต่อปณิธานแห่งการ “ให้” “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน”

จากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งภัยพิบัติรุนแรงหลายรูปแบบที่ต้องเผชิญในยุคของ Global Boiling (สภาวะโลกเดือด) กระทบต่อหลายพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยในแถบภาคเหนือ