"นโยบาย soft power ที่พูดๆ กัน ยังไม่ค่อยเห็นแนวทางที่จะหาเงินเข้าประเทศได้เป็นกอบเป็นกำ ซอฟต์เพาเวอร์ ต้องใช้ tourism เป็นตัวขับเคลื่อน แนวคิดนี้ จะสร้างรายได้ "มหาศาล" ให้ประเทศได้ "ทันที" และถึงประชาชนอย่างทั่วถึง...."
ารเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับประเทศไทยให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ในมุมมองของ ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสภาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ที่ย้ำว่า ขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว แม้จะยังไม่เต็มที่ หากรัฐบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ยังไม่มีวิสัยทัศน์ที่จะคิดสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยการใส่สิ่งใหม่ๆ เข้าไปในระบบเศรษฐกิจไทย เช่น เรื่องเซมิคอนดักเตอร์ หรือรถอีวี ที่กล่าวมาแล้ว ก็น่าเสียดายเพราะจะทำให้เราสูญเสียโอกาส
ในแผนการเพิ่มความสามารถแข่งขันที่ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นฐานผลักดัน ของสอวช.นั้นมองว่าเราจะต้องทำให้ประเทศมีผู้ประกอบการที่สามารถสร้างนวัตกรรมเพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า“ผู้ประกอบการธุรกิจฐานนวัตกรรม( Innovation Driven Enterprise (IDE)” ซึ่งจะเป็นผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาด โดยตามแผนของสอวช. ตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2570 ประเทศไทยจะต้องเพิ่มผู้ประกอบการที่เป็น IDE เข้าไปในระบบเศรษฐกิจให้ได้ 1,000 ราย ซึ่งในแต่ละรายจะต้องมีความสามารถขยายธุรกิจให้เกิดรายได้เฉลี่ย1,000 ล้านบาท แต่จากการสำรวจในปัจจุบันพบว่าทั้งประเทศยังมี IDE เพียงแค่ประมาณ 80 รายเท่านั้น ซึ่ง IDE กลุ่มนี้ได้ลงทะเบียนในศูนย์บ่มเพาะธุรกิจต่าง ๆ
ไม่ได้มีเฉพาะแค่การเพิ่มผู้ประกอบการ IDE เท่านั้น การขยายผู้ประกอบการรูปแบบเดียวกับ IDE สอวช.ยังมองว่าควรแผ่กระจายไปยังกลุ่มมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย ที่ทำงานด้านวิจัยและนวัตกรรมด้วย โดยออกนโยบายสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย ตั้งHolding Company พร้อมกับการปลดล็อกหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์การมหาชนที่สังกัด กระทรวงอว. ให้สามารถเข้่าไปร่วมลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม แต่ที่เห็นได้ชัดคือการตั้งบริษัท Holding Company ของมหาวิทยาลัย ขณะนี้มีอยู่ 8 มหาวิทยาลัย รวมแล้วเกือบ 20บริษัท โดยเฉพาะที่คณะเภสัชศาสตร์ ที่จุฬาฯ เช่นโครงการทำวัคซีนโควิดจากใบยา และการออกแบบโมเลกุลโปรตีน ซึ่งวันข้างหน้าจะมีประโยชน์และขายได้ โดยทุวันนี้ กบริษัทใบยาสามารถมีรายได้เลี้ยงองค์กรที่มีพนักงาน70-80 คนได้แล้ว
นอกจากนี้ สอวช.ยังเข้าไปช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยดึงววน.ไปช่วยสนับสนุน เนื่องจาก ธุรกิจเอสเอ็มอีมีบทบาทสำคัญต่อการจ้างงาน โดย60 % ของการจ้างงานมาจาก ธุรกิจเอสเอ็มอี ส่วนบริษัทใหญ่มีสัดส่วน 40 % เท่านั้น แต่เมื่อเทียบรายได้ เอสเอ็มอีมีสัดส่่วนรายแค่ 40% จากภาพรวมทั้งหมด
ในจังหวะที่เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว หลังสถานการณ์ระบาดโควิด-19 คลี่คลาย และนักท่องเที่ยวต่างประเทศเริ่มเข้ามาในไทยแล้ว ผอ.สอวช. เสนอว่า หากรัฐบาลต้องการสร้างรายได้มหาศาลเข้าประเทศ ได้แบบรวดเร็ว และรายได้นี้จะไปถึงมือประชาชนทั่วถึงอย่างแน่นอน สิ่งที่น่าสนใจและเป็นไปได้ ก็คือ การสร้างรายได้จากภาคท่องเที่ยว เพราะประเทศไทยมีของดีที่ยังไงก็ขายได้ แต่ปัจจุบันเราใช้ทรัพยากรเดิมๆ เพียงอย่างเดียว แม้จะยังอยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่ไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดผลทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดได จึงควรหันมาพัฒนาท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่มีอัตลักษณ์ของตัวเอง โดยรัฐบาลควรสนับสนุน ให้เกิด” 10 เมืองท่องเที่ยวปรับภูมิทัศน์” หรือสร้าง “WonderThailand” นำร่อง โดยทั้ง 10เมืองจะต้องมีเอกลักษณ์จากรากเหง้าและประวัติศาสตร์ของเมืองนั้นๆ เช่น อยุธยา ปรับให้เป็น “เมืองอารยธรรมกรุงศรี” ร้านค้า โรงแรม โรงเรียน โรงพยาบาล ร้านสะดวกซื้อ ถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน สถานที่ต่างๆ การแต่งกายของพนักงาน ไปใน theme เดียวกัน เสริมด้วยการละเล่น ศิลปการแสดงต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์
“นโยบาย soft power ที่พูดๆ กัน ยังไม่ค่อยเห็นแนวทางที่จะหาเงินเข้าประเทศได้เป็นกอบเป็นกำ ซอฟต์เพาเวอร์ ต้องใช้ tourism เป็นตัวขับเคลื่อน แนวคิดนี้ จะสร้างรายได้ “มหาศาล” ให้ประเทศได้ “ทันที” และถึงประชาชนอย่างทั่วถึง จากธุรกิจใหญ่ไปถึงรากหญ้า 10เมืองนี้ ถ้าทำแล้วสามารถเพิ่มนักท่องเที่ยวได้เมืองละล้านคน เช่น ภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวปีละ 14ล้าน ถ้าสามารถเพิ่มได้อีก 1 ล้านคน 10เมือง ก็จะได้นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 10 ล้าน คนนักท่องเที่ยวคนหนึ่งใช้จ่ายคนละ 1หมื่นบาท ก็จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นทันที1 แสนล้านบาทต่อเมือง หรือ10 เมืองเท่ากับ 1ล้านล้านบาททันที ปีต่อๆ ไปขยายเมืองเพิ่มเป็น 20, 30, 40, 50 เมืองในเวลา 5 ปี เพิ่มรายได้ให้ประเทศ 5 ล้าน ล้าน บาท”ดร.กิติพงค์ เสนอไอเดีย
รูปแบบการทำเมืองWonderThailand ดร.กิติพงค์ บอกว่า รัฐบาลกลางจัด pitching ให้เมือง (เทศบาล หรือจังหวัด) ผนึกกำลังกัน รัฐ-ธุรกิจ-อุตสาหกรรม-ชุมชน/ประชาสังคม พัฒนาแนวคิดขึ้นมา และมีการแข่งขันนำเสนอแนวคิด กับคณะกรรมการ WonderThailand เมืองชนะเลิศ 10 เมือง รัฐบาลสนับสนุนเงินลงทุนเมืองละ 10,000 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขว่าแต่ละเมืองต้องมีเอกชนเข้าการลงทุนอย่างน้อยอีก 10,000 ล้านบาท จะเกิดการลุงทุนทันทีทั่วประเทศ 200,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังควรดึงบีโอไอ มาส่งเสริมการลงทุน หรือดึง สสว. มาหนุนเอสเอ็มอี ทำซอฟต์เพาเวอร์ รวมทั้ง ให้กระทรวง อว. และมหาวิทยาลัยมาหนุนผู้ประกอบการนวัตกรรม และสตาร์ทอับแค่นี้เศรษฐกิจฟื้นทันที
“การพัฒนาเศรษฐกิจ เราจะกินบุญเก่าอย่างเดียวไม่ได้แล้ว แนวคิดพัฒนาเมืองท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์ของตัวเองนี้ ที่สำคัญต้องทำให้เกิดจุด “เช็กอิน”ของแต่ละเมืองให้ได้ เพราะเช็กอินจะมีอิมแพ็กสูง ในการดึงคนเข้ามา และทำให้คนที่มาเที่ยวเขารู้สึกว่า ได้สัมผัสประสบการณ์ที่มีอัตลักษณ์ของเมืองนั้นจริงๆ จะเป็นตัวสร้างรายได้ทันที แบบไม่ต้องรอนาน ที่รัฐบาลควรให้ความสนใจ “
ในแผนพัฒนาของสอวช.ยังมีเรื่องของปี การตั้งเป้า ลดความเหลื่อมล้ำประชากรกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากให้ได้ 1ล้านคนภายในปี 2570 หลักๆ ก็คือ การนำเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแต่ละช่วงชั้นจะมีเด็กกลุ่มนี้ประมาณ 10% ให้กลับเข้ามาเรียน หรือถ้าไม่อยากเรียน ก็ให้เข้ามาเข้าสู่ระบบอับสกิล รีสกิล เพื่อให้มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคว
“นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นเทรนด์สำคัญของโลกและถูกจัดตั้งในระดับนานาชาติ ซึ่งไทยปฎิเสธไม่ได้ และความยั่งยืนนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขของการค้าการลงทุนโลก หากผู้ประกอบการไทยไม่ทำด้วยมาตรการทางภาษี จะทำให้เสียเปรียบด้านการแข่งขันในเวทีโลก เป็นอีกข้อที่เราต้องตระหนัก”ผอ.สอวช.กล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รองโฆษกรัฐบาล เผยตัวเลขชี้ท่องเที่ยวไทยคึกคัก
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงรายงานสถานการณ์การท่องเที่ยว ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน 2567) มีนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดระยะไกล
'สระบุรี' ชวนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ MEAT & MILK FESTIVAL วิถีใหม่ของนักเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ
ที่ลานกิจกรรมเมืองคาวบอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เมื่อ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา เริ่มงานย้อนตำนานสระบุรี