สำรวจชีวิตเศรษฐีตุ๊กตาทอง'คุณาวุฒิ๑๐๑'

“คุณาวุฒิ ๑๐๑” นิทรรศการวาระ 101 ปี ชาตกาลของ วิจิตร คุณาวุฒิ เปิดให้ชมแล้ว ชวนคนรุ่นใหม่มาทำความรู้จักหนึ่งในคนทำหนังไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ผู้ใช้นามในการสร้างภาพยนตร์ว่า “คุณาวุฒิ” และได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาภาพยนตร์คนแรก รวมถึงเป็นผู้ทำสถิติได้รับรางวัลภาพยนตร์มากที่สุดตลอดการของวงการหนังไทย จนได้รับฉายาว่า “เศรษฐีตุ๊กตาทอง”

นิทรรศการพาย้อนไปสำรวจชีวิต ผลงาน และแนวคิดในการทำงานของคุณาวุฒิ ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นนักประพันธ์ไปจนถึงเป็นผู้สร้าง-ผู้กำกับภาพยนตร์ ผ่านเอกสารและสิ่งเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์จำนวนมากที่คุณาวุฒิสะสมรวบรวมไว้ และหอภาพยนตร์ได้รับมอบมาจากครอบครัวคุณาวุฒิ ไม่ว่าจะเป็นรางวัลตุ๊กตาทองมากกว่า 20 รางวัล, ต้นฉบับงานเขียนและบทภาพยนตร์, ข้าวของเครื่องใช้และอุปกรณ์ในการทำงานทั้ง เครื่องพิมพ์ดีด, กล้องถ่ายภาพยนตร์, เครื่องมือในการตัดต่อ ฯลฯ ที่เคยมีส่วนสร้างสรรค์ภาพยนตร์ไทยเรื่องสำคัญเช่น มือโจร (2504) เสน่ห์บางกอก (2509) น้ำเซาะทราย (2516) เมียหลวง (2521) คนภูเขา (2522) และ ลูกอีสาน (2525)

แนวคิดการจัดแสดงน่าสนใจ โดยแบ่งออกเป็น 5 ส่วนหลัก ๆ โซนเศรษฐีตุ๊กตาทอง  บอกเล่าเรื่องราวการทำหนังของคุณาวุฒิ ผ่านผลงานการกำกับภาพยนตร์ 33 เรื่อง และจัดแสดงรางวัลตุ๊กตาทองตัวจริงกว่า 20 ชิ้น ที่คนทำหนังผู้นี้ได้รับมาตลอดชีวิต  โซนเมื่อไหร่จะไปไกลกว่าหนังตลาด? จัดแสดงโชว์การ์ดและบทวิจารณ์ภาพยนตร์แนวตลาดที่ “คุณาวุฒิ” เรียกว่างานพาณิชย์ศิลป์ ซึ่งสร้างเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว รวมไปถึงข้อเขียนเกี่ยวกับการต่อสู้ดิ้นรนของคุณาวุฒิในวงการหนังไทย และอุปกรณ์การถ่ายทำของบริษัท “แหลมทองภาพยนตร์”

ส่วนโซนวันหนึ่ง เราจะหัวเราะให้แก่วันนี้   ถ่ายทอดปณิธานการสร้างภาพยนตร์ที่ถึงพร้อมด้วยวิจิตรศิลป์และคุณค่าแห่งชีวิตธรรมดาสามัญ ที่คุณาวุฒิปรารถนามายาวนานและทำสำเร็จใน คนภูเขา (2522) และ ลูกอีสาน (2525) ไปจนถึงฝันที่เกือบจะเกิดขึ้นจริง เรื่อง บ้านพี่เมืองน้อง สิบสองปันนา  โซนผู้กำกับนักประพันธ์  นำเสนอด้านการเป็นนักเขียนนักหนังสือพิมพ์ของคุณาวุฒิ อาชีพเริ่มต้นก่อนจะมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ จัดแสดงของจริง ทั้งโต๊ะทำงาน เครื่องพิมพ์ดีด หนังสือที่คุณาวุฒิอ่าน รวมถึงต้นฉบับงานเขียนบางส่วน ควบคู่กับมุมนักอ่าน ที่เปิดพื้นที่ให้ผู้ชมได้มานั่งอ่านและศึกษาบทภาพยนตร์ของคุณาวุฒิ

ถัดมาโซนทองปอนด์  มุมของ ทองปอนด์ คุณาวุฒิ คู่ชีวิตที่ครองคู่มาเกินครึ่งศตวรรษและต่อสู้ฝ่าฟันด้วยกันในวงการหนังไทย ผู้เป็นทั้งตัวแทนคนสำคัญที่ยังมีชีวิตอยู่ของผู้หญิงในยุคที่ภาพยนตร์ไทยยังคงเป็นระบบอุตสาหกรรมในครัวเรือน และเป็นผู้มีส่วนสร้างให้ผลงานทุกเรื่องของคุณาวุฒิเกิดขึ้นได้จริง

นิทรรศการ” คุณาวุฒิ ๑๐๑” จัดแสดงให้ชมฟรีตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2567 ณ ชั้น 2 อาคารสรรพสาตรศุภกิจ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เปิดให้บริการทุกวันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) 9.30 น. -17.30 น.  มาถึงหอภาพยนตร์เมืองมายาแล้ว สามารถชมหนังในปรแกรมพิเศษช่วงเดือนมีนาคม เสาร์ที่ 9 มี.ค. หอภาพยนตร์จัดกิจกรรม Clermont-Ferrand Showcase คัดภาพยนตร์สั้นมาจากเซกชัน Panorama “Woman in the spotlight” ขึ้นมา เชิญทิม เรดฟอร์ด มาคุยถึงแนวคิดเบื้องหลังจากจัดโปรแกรมเทศกาลClermont-Ferrand International Short Film Festival รวมถึงเรื่องอุตสาหกรรมหนังสั้นในโลกปัจจุบันอย่างลึกซึ้ง อังคารที่ 12 มี.ค.มัยสเก เทาริเซีย มาเล่าประสบการณ์การทำงานในอินโดนีเซียและการทำ co-production รวมทั้งพูดคุยถึงอุตสาหกรรมหนังอินโดนีเซีย  พร้อมจัดฉายผลงานอำนวยการสร้างของเธอเรื่อง Vengeance Is Mine, All Others Pay Cash  

เสาร์ที่ 16 มี.ค. ฉายภาพยนตร์สั้น LGBTQIA+ จาก Five Films For Freedom เฉลิมฉลองเรื่องราวของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ  5 เรื่อง มาฉายให้ชมที่โรงภาพยนตร์ พร้อมกิจกรรมเสวนาจากผู้จัดเทศกาล นักวิชาการ และคนทำหนัง .เสาร์ที่ 30 มี.ค. จัดฉาย Beau Travail ภาพยนตร์ฝรั่งเศศงานชิ้นเอกที่ แคลร์ เดอนีส์  ได้แรงบันดาลใจจากนวนิยายของนักเขียน เฮอร์แมน เมลวิลล์ เรื่อง “Billy Budd, Sailor” ซึ่งได้คำชมว่า สื่อสารและตั้งคำถามถึงทัศนคติแบบผู้ชายด้วยมุมมองของผู้หญิงที่แหลมคมมากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์มาจัดฉายฉบับบูรณะภาพและเสียงใหม่ด้วยความคมชัด ทุกวันอังคาร – อาทิตย์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ครูสลา - โอม ค็อกเทล - แม็ก เดอะ ดาร์คเคสท์ โรแมนซ์' คว้ารางวัลอันทรงเกียรติ

ครูสลา คุณวุฒิ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2564 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล - ประพันธ์เพลงไทยลูกทุ่ง) พร้อมด้วย โอม-ปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องนำวงค็อกเทล (Cocktail) และ แม็ก-ธิติวัฒน์ รองทอง นักร้องนำและมือเบสวง เดอะ ดาร์คเคสท์ โรแมนซ์ (The Darkest Romance) ได้รับรางวัล "เพชรในเพลง" ประจำปี 2567

12 ศิลปินแห่งชาติมือฉมัง ปั้นนักเขียนคลื่นลูกใหม่ก้าวสู่มืออาชีพ

เป็นอีกครั้งที่ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ชื่อดังมาถ่ายทอดความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์บนถนนนักเขียนเพื่อจุดประกายให้นักเขียนรุ่นใหม่มีความรู้และแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์วรรณกรรมให้แก่ผู้ที่มีความสนใจในการเขียนทั้งนวนิยาย  เรื่องสั้น  สารคดี และกวีนิพนธ์ กว่า 80 คน

สิ้นศิลปินแห่งชาติ ฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร

6 มิ.ย. 2567 - นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ตนได้รับรายงานว่า นายฤกษ์ฤทธิ์ แก้ววิเชียร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมภายใน และมัณฑนศิลป์) พ.ศ. 2565 ได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567

ศิลปินนักร้องชื่อดังหลากรุ่น ร่วมเชิดชู 'สมาน กาญจนะผลิน'

จบลงอย่างสวยงาม กับคอนเสิร์ต เชิดชูครูเพลง 103 ปี ชาตกาล "เพลงคู่...ครูสมาน กาญจนะผลิน" เมื่อวันนี้ บ่ายวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง เปิดงานช่วงแรกด้วย 2 พิธีกร โกมุท คงเทศ และ ขวัญรวี กาญจนะผลิน ที่ชวน จิรวุฒิ กาญจนะผลิน ทายาทครูสมาน มาเล่าเรื่องราว การประพันธ์เพลงของครูสมาน กาญจนะผลิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(เพลงไทยสากล) ปี 2531ให้ฟังกัน

ศิลปินแห่งชาติ แพร่บทความเรื่องการใช้เงินให้เป็น กรณีสกายวอล์กแยกปทุมวัน

นายวินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า สองวันนี้มีหลายคนถามผมว่าคิดอย่างไรกับงานออกแบบอัตลักษณ์เมือง (พวกเขาใช้คำฝรั่งว่า City Branding) ของกทม. ผมจะไม่แสดงความคิดเห็นในเรื่องการออกแบบ เพราะมันเป็นเรื่อง subjective บางคนชอบ บางคนไม่ชอบ เป็นเรื่องธรรมดา