กราฟิกอัตลักษณ์'น่าน' เพิ่มเสน่ห์เที่ยวเมืองรอง

จ.น่าน เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างกลุ่มอิทธิพลของลุ่มน้ำโขงและกลุ่มอิทธิพลล้านนา นครแห่งนี้สะสมบ่มเพาะปัญญาจากหลากทิศทางจนสามารถสร้างรูปแบบอัตลักษณ์อันเป็นฐานรากสำคัญนครน่านขึ้นมาได้ อัตลักษณ์น่านเติบโตโดยได้รับอิทธิพลสกุลช่าง ทั้งจากล้านช้าง สุโขทัย เมียนมาร์ และล้านนา เต็มไปด้วยเสน่ห์

เมืองเก่าแก่มากกว่า 700 ปีนี้ ผ่านการพัฒนาเมืองมาอย่างต่อเนื่อง มีความพิเศษเป็นเมืองที่มีชีวิตและคงคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรม ได้อย่างน่าสนใจ แต่ก็เผชิญความท้าทายในการรักษาความเป็นอัตลักษณ์น่านให้คงอยู่ภายใต้กระแสโลกที่หมุนเร็ว นักออกแบบอิสระกลุ่มเซียมไล้ (Siam Life) นำอัตลักษณ์น่าน เช่น ภาพปู่ม่านย่า ม่าน วัดภูมินทร์  ลวดลายงานศิลปกรรม สถาปัตยกรรมตามวัดวาอาราม แปลงโฉมด้วยงานออกแบบกราฟิกคลิปอาร์ตดูทันสมัย เก๋ไก๋  ที่คงอัตลักษณ์น่าน  ภายใต้โครงการออกแบบอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองในจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการทำเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับ จ.น่าน

นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวว่า สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) โดยกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ให้การสนับสนุนโครงการออกแบบอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองในจังหวัดภาคเหนือ มุ่งยกระดับการท่องเที่ยวเมืองรองของไทยให้มีภาพลักษณ์เทียบเท่านานาประเทศ และสร้าง Soft power จุดขายจากการท่องเที่ยว  โดยมีการใช้ศาสตร์ของการออกแบบเข้าไปช่วยพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น การออกแบบอัตลักษณ์ให้กับเมือง การออกแบบมาสคอต การออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์ การออกแบบ สภาพแวดล้อม การออกแบบสินค้า ของที่ระลึก และบรรจุภัณฑ์ต่างๆ  

“ โปรเจ็กต์นี้ตั้งเป้าหมายส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้มากขึ้น เกิดการกระจายรายได้ให้ชาวบ้าน ผู้ประกอบการ ซึ่งจะส่งผลถึงการสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในพื้นที่ และเห็นคุณค่าของทรัพยากร ธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตต่างๆ ไม่ให้เกิดการทำลายหรือปล่อยปละละเลยจนสูญหายไป “ นายประสพ กล่าว

ทั้งนี้ ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวด้วยว่า ได้พิจารณาคัดเลือก จ. น่าน เป็นเมืองรองในการดำเนินงาน โดยคณะทำงานได้ลงพื้นที่ เก็บข้อมูล และถ่ายภาพเพื่อศึกษาวิเคราะห์จุดแข็งของชุมชนครอบคลุมอำเภอต่างๆ ของ จ.น่าน จนตกผลึกมีการจัดทำคลิปอาร์ตจำนวน 100 ชิ้น ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของ จ.น่าน  ใช้แนวคิดแวดล้อม คือ ตัวตน สื่อถึงสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่หนึ่งๆ จะประกอบขึ้นในความรู้สึกและความทรงจำของผู้ที่อยู่อาศัยหรือผู้ที่ไปเยือนในสถานที่แห่งนั้น ทั้งลักษณะทางภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ วิถีชีวิตของผู้คน ข้าวของเครื่องใช้ อาหารการกิน การแต่งกาย ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ

สำหรับคลิปอาร์ตที่สร้างสรรค์  ถือเป็นงานร่วมสมัยที่มีคุณค่า สวยงาม เต็มไปด้วยเสน่ห์   ควรเผยแพร่ให้เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลาย  นายประสพ กล่าวว่า  ผลงานสามารถนำไปใช้ในงานออกแบบต่างๆ ในส่วนของการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อย่างหลากหลาย เช่น ภาพโฆษณา สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ แผ่นพับ โปสเตอร์ ของที่ระลึก สินค้าที่ระลึก บรรจุภัณฑ์ รวมถึงมาสคอตประจำจังหวัด โดยคณะทำงานจะมีการนำเสนอผลงานให้แก่ จ.น่าน  ในงาน”น่านเฟสติวัล” ซึ่งจะจัดขึ้นต้นเดือนมีนาคม 2567 นี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ในการผลักดันใช้งานออกแบบพัฒนา จ.น่านต่อไป ถือเป็นโครงการที่มุ่งใช้ความรู้ด้านงานออกแบบรักษาอัตลักษณ์ ต่อยอดศิลปวัฒนธรรมด้วยศิลปะร่วมสมัย  และส่งเสริมการยกระดับการท่องเที่ยวน่านอย่างยั่งยืน

ถือโปรเจ็กต์ตัวอย่างใช้การออกแบบสะท้อนตัวตนของภาคเหนือ ต่อยอดมิติท่องเที่ยว ซึ่งแต่ละภาคของไทยล้วนมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พะเยา-เชียงราย-แพร่-น่าน จัด'วิ่งเลาะเวียงเมืองล้านนาตะวันออก' 4จังหวัด4สนาม

พะเยา เชียงราย แพร่ น่าน ผนึกกำลัง 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 2  จัดใหญ่งานวิ่งเลาะเวียงเมืองล้านนาตะวันออก  กว่า 700 คนเหล็กเตรียมตบเท้าเข้าร่วม  4 จังหวัด 4 สนาม เริ่มสนามแรก วันที่ 30 พ.ย.-1  ธ.ค. 67  ที่จังหวัดพะเยา 

ประติมากรรมเพื่อชุมชน แหล่งรวมคนเมืองแห่งใหม่

ใจกลางกรุงเทพฯ นอกจากสวนสาธารณะพื้นที่สีเขียว สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นปอดให้กับคนเมืองแล้ว การมีสวนประติมากรรมให้เที่ยวชมย่านใจกลางเมือง เป็นแหล่งนัดพบชาวเมืองแห่งใหม่ เต็มเต็มความสุขของการใช้ชีวิตในเมืองด้วยผลงานศิลปะที่ชวนให้เราหยุดพัก

ประกาศเกณฑ์รับเงินอุดหนุนงานวัฒนธรรมปี68

28 ก.ย. 2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดทำโครงการงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายทางวัฒนธรรม

7 ศิลปินรางวัล'ศิลปาธร' ต้นแบบคนรุ่นใหม่

ศิลปินศิลปาธรล้วนเป็นศิลปินร่วมสมัยรุ่นกลางที่ทุ่มเทพลังความคิด สติปัญญา และจิตใจมุ่งมั่น สร้างผลงานศิลปะร่วมสมัยที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น ปีนี้ กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)ยกย่องเชิดชูเกียรติให้แก่ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัล’ศิลปาธร’ จำนวน  7 สาขา

ปักหมุดพิพิธภัณฑ์ใน LA ต้องไปชมสักครั้ง

การเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศให้สนุกสนาน  นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติที่งดงามตระการตาและแหล่งมรดกวัฒนธรรมล้ำค่า พิพิธภัณฑ์ เป็นอีกหนึ่งในเดสติเนชั่นที่เราอยากแนะนำให้ไปเยี่ยมชม เก็บเกี่ยวช่วงเวลาพิเศษควรค่าแก่การจดจำ

ไทยโชว์งานศิลปะร่วมสมัย'ช็องจู คราฟต์ เบียนนาเล่'

12 ก.ย.2567 - นายโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการจัดนิทรรศการประเทศรับเชิญในงาน 2025 Cheongju Craft Biennale ร่วมกับ Mr. Lee Beom-seok ผู้ว่าการเมืองช็องจู ประธานคณะกรรมการจัดงาน Cheongju Craft Biennale ณ สาธารณรัฐเกาหลีใต้ เมื่อวันก่อน