“ใบกระท่อม” พืชสมุนไพรท้องถิ่นกลับมาเป็นที่รู้จักในสังคมไทยอีกครั้งหลังจากถูกควบคุมและขึ้นบัญชีเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5มานานกว่าครึ่งศตวรรษ ในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมา มีการขายใยกระท่อม น้ำกระท่อม อย่างเสรี เห็นได้ตามริมถนน บนฟุทบาท ตลาดสด รถเร่ แผงลอย แต่สืบเนื่องจากปัญหาปลดล็อกกัญชาออกจากยาเสพติด และผุดนโยบายกัญชาเพื่อการแพทย์ แต่นำมาสู่การนำกัญชาไปใช้ทั้งการรักษาและการบริโภค รวมทั้งการเสพที่ไร้การควบคุม ทำให้ปัญหากัญชาเสรีที่ยังคลุมเครือ ลามมาถึงใบกระท่อมเสรีด้วย ปัจจุบันจึงมีการประกาศห้ามขายใบกระท่อม รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มาจากใบกระท่อมด้วย
รศ.เภสัชกร ดร.ธงชัย สุขเศวต อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทำวิจัยเรื่อง “กระท่อม”ว่ามีคุณและโทษอย่างไร กล่าว่ากระท่อมเป็นยาที่คนในสมัยโบราณใช้กันมานานมากเรียกได้ว่าเป็นยาสามัญที่มีอยู่แทบทุกบ้านเลยก็ว่าได้ ใช้ต้อนรับแขกผู้มาเยือนบ้านใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเข้าสังคมในงานสำคัญ ๆ ต่างและใช้เป็นยาชูกำลังในการทำงานที่ต้องใช้แรง ที่ผ่านมามีการศึกษาวิจัยพืชกระท่อมทางการแพทย์และเภสัชกรรมทำได้ยาก จนเมื่อมีการปลดล็อกพืชกระท่อมก็เปิดโอกาสให้เกิดการศึกษาวิจัยทางการแพทย์และยามากมาย โดยตนเองศึกษาวิจัยพืชกระท่อม ในมุนนำมาทำสารสกัดยาสมุนไพรมาตรฐานเป็นยาแก้ปวดที่มาจากธรรมชาติรวมถึงเป็นยาช่วยเลิกสารเสพติดประเภทยาบ้าและยามอร์ฟีน
“พืชกระท่อมมีศักยภาพที่จะพัฒนามาใช้เป็นยาทั้งทางการแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบันจึงควรมีการส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไป”
กระท่อมเป็นพืชพื้นถิ่นที่พบกระจายทั่วประเทศไทยพบหนาแน่นในพื้นที่ภาคใต้ ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น คนไทยตั้งแต่อดีตรู้จักและสั่งสมภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อ ทั้งในแง่การรักษาโรค ลด-คลายอาการปวดเมื่อย เพิ่มกำลังในการทำงาน เป็นต้น จนเมื่อปี 2486 เริ่มมีการออกกฎหมายควบคุมพืชกระท่อมภายใต้พ.ร.บ. พืชกระท่อม พ.ศ.2486 เมื่อรัฐผูกขาดภาษีฝิ่น เมื่อฝิ่นราคาแพง ผู้คนก็หันมาสูบใบกระท่อมแทน ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ จึงออกกฎหมายเพื่อควบคุมการปลูกและการใช้พืชกระท่อม” มาในปี 2522 มีการออกพ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และขึ้นบัญชี กระท่อม กัญชา เห็ดขี้ควาย และฝิ่นให้เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตั้งแต่นั้นมา ใบกระท่อมก็หายไปจากพื้นที่ชีวิตของผู้คน
ทำให้ในแง่การศึกษาวิจัยพืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือการศึกษาวิจัยในมนุษย์ก็ไม่สามารถทำได้ จนปี 2562 เริ่มมีการทบทวนแก้ไข และออกพ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562ปลดล็อกพืชกระท่อมและกัญชาให้สามารถใช้ในการศึกษาวิจัยในมนุษย์หรือนำมาใช้ทางการแพทย์ได้ ต่อมา พ.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ก็ได้ให้พืชกระท่อมออกจากยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 โดยสมบูรณ์ และล่าสุด พ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ. 2565 เปิดเสรีให้ปลูก ครอบครองและขายพืชกระท่อมได้ ทั้งนี้ การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ยา สมุนไพรเครื่องสำอาง ให้ขออนุญาตตามกฎหมายเฉพาะของผลิตภัณฑ์นั้น ๆส่วนการนำเข้าและส่งออกใบกระท่อมต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.)
ในอดีต กระท่อมเคยอยู่ในวิถีภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของสังคมไทยมายาวนาน ทั้งงานบวช งานแต่งงานงานศพ จะมีการใช้ใบกระท่อมสด ร่วมกับหมาก พลู น้ำชา ยาเส้น เพื่อเป็นการต้อนรับแขกผู้มาเยือน หรือเคี้ยวใบกระท่อมสด ร่วมกับน้ำชา กาแฟ ในร้านน้ำชา ร้านกาแฟ เพื่อเป็นการสังสรรค์และเข้าสังคม นอกจากนี้ ในงานของกลุ่มคนที่เล่นวัวชน ไก่ชนหรือกลุ่มนักแสดงพื้นบ้านในภาคใต้ เช่น หนังตะลุงก็นิยมเคี้ยวใบกระท่อมเพื่อไม่ให้ง่วงนอนและเกิดอารมณ์ร่วมในการบรรเลงเพลงและการแสดงต่าง ๆ กระท่อมในฐานะยาชูกำลัง กลุ่มผู้ใช้แรงงาน อาทิ เกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ชาวสวนยาง ชาวประมง กรรมกร คนขับรถขนส่ง รถโดยสารนิยมเคี้ยวใบกระท่อมสดก่อนจะออกไปทำงานโดยเชื่อว่าจะทำให้มีกำลังและความอดทนต่อการทำงานยิ่งขึ้น กระท่อมเป็นยา
ในทางการแพทย์หมอพื้นบ้านนิยมใช้ใบกระท่อมทำยาสมุนไพร ทั้งในรูปยาเดี่ยวหรือเป็นตำรับยาพื้นบ้าน เพื่อรักษาโรคและอาการต่าง ๆ อาทิ ไข้หวัด ท้องเสีย บิด ปวดเมื่อย แก้ไอ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน โรคกระเพาะอาหารเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยให้นอนหลับง่ายและใช้ทดแทนหรือบำบัดอาการถอนยาจากการเสพติด เช่น ฝิ่น เฮโรอีน
ในส่วนของแพทย์แผนไทยพบตำรับยา ที่มีพืชกระท่อมเป็นส่วนประกอบ ในคัมภีร์แพทย์แผนโบราณของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ เล่ม 1-3 ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ตำราเวชศึกษาของพระยาพิศณุประสาทเวชและจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ซึ่งได้แก่ ตำรับยาประสะใบกระท่อม ยาหนุมานจองถนนปิดมหาสมุทร ยาแก้บิดลงเป็นเลือด ยาแก้บิดหัวลูกยาประสะกานแดง เป็นต้น โดยมีสรรพคุณสำคัญในการรักษาโรคบิด ท้องร่วงท้องเสีย แก้ปวดมวนท้อง ปวดเบ่ง ท้องเฟ้อ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น
“ไมทราไจนีน” เป็นสารแก้ปวดและลดอักเสบที่มีอยู่ในใบกระท่อม สรรพคุณสารไมทราไจนีน ซึ่งพบแค่ในพืชกระท่อมเท่านั้นไม่พบที่ต้นไม้ชนิดอื่นแม้จะอยู่ในตระกูลเดียวกัน รศ.เภสัชกร ดร.ธงชัย กล่าวว่า ในการศึกษาวิจัยพบว่าสารไมทราไจนีนมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบและแก้ปวดในระดับปานกลางถึงค่อนข้างรุนแรงได้ จึงอาจนำกระท่อมมาเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาแก้ปวดที่มีสรรพคุณทางยาเทียบเท่ากับ “ทานาดอล” ที่เป็นเคมี” อาจด้วยฤทธิ์คลายปวดและลดการอักเสบของไมทราไจนีนในใบกระท่อมที่ทำให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานนิยมใช้พืชกระท่อมเป็นเสมือนยาชูกำลัง คลายปวดลดเมื่อย
“คนกลุ่มนี้นิยมเคี้ยวใบกระท่อมสดก่อนออกไปทำงานโดยเชื่อว่าจะทำให้รู้สึกแข็งแรง กระปรี้กระเปร่า ทำงานได้นาน ไม่เหนื่อยล้าไม่ปวดเมื่อย ไม่ง่วงนอน ทนต่อความร้อน สามารถทำงานกลางแดดได้นานยิ่งขึ้น”
นอกจากนี้ กระท่อมยังมีศักยภาพเป็นยารักษาอีกหลายโรค นอกจากฤทธิ์ในการลดปวด แก้อาการอักเสบแล้ว จากการศึกษาวิจัย พบว่าพืชกระท่อมอาจมีฤทธิ์ในการรักษาโรคอื่น ๆ อีกด้วย ได้แก่ ลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ลดอาการท้องเสียลดความอยากอาหาร ฤทธิ์ต้านปรสิตและเชื้อจุลชีพ ฤทธิ์ต้านอาการวิตกกังวลอาการซึมเศร้า และโรคจิต กระท่อม บำบัดและถอนยาเสพติดร้ายแรง
“พืชกระท่อมมีฤทธิ์แก้ปวดคล้ายมอร์ฟีน แต่อันตรายน้อยกว่าโอกาสติดน้อยกว่า ดังนั้นคนในบางประเทศจึงมีการนำกระท่อมมาใช้เป็นยาสำหรับการถอนยาเสพติดชนิดแรงๆ ตัวอื่น ๆ แทนการใช้ยาถอนยาเสพติดที่ทำมาจากเคมีในปัจจุบัน แม้กระท่อม มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน แต่ไม่สามารถ นำมาเป็นสารตั้งต้นการผลิตยาเสพติดได้ โดยเฉพาะการสกัดเอาไมทราไจนีนออกมาให้บริสุทธิ์นั้นไม่ง่ายมีขั้นตอนที่ซับซ้อนพอสมควร อีกประการต้นทุนในการผลิตก็สูง”อาจารย์ธงชัยกล่าว
แม้พืชกระท่อมจะไม่ใช่ยาเสพติดในทางกฎหมายแต่การนำพืชกระท่อมไปใช้ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ต้องศึกษาให้ดีเพราะการทำผลิตภัณฑ์จากกระท่อมบางอย่างอาจเข้าข่ายการผลิตยาเสพติด แม้การทำน้ำกระท่อม ชากระท่อมในครัวเรือนของตนเอง ไม่มีการซื้อขายก็สามารถทำและใช้ได้เลย ไม่ต้องขออนุญาต แต่ถ้าจะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากใบกระท่อมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ยา อาหารอาหารเสริม เครื่องสำอาง เพื่อขายจำเป็นต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
ข้อควรระวังอีกประการในการใช้พืชกระท่อม แม้จะมีสรรพคุณทางยา โทษน้อยแต่อาจารย์ธงชัยแนะนำว่า “ให้ใช้เฉพาะที่จำเป็น จะดีที่สุด” “สำหรับผู้ใหญ่ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้ ให้ใช้วิธีดูแลสุขภาพทั่วไป เช่นทานอาหารให้ครบถ้วน อย่างถูกต้อง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนเพียงพอและไม่เครียด และไม่ควรใช้ในเด็ก เพราะอาจะเกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ง่ายกว่า เช่น ลมชัก อาการทางจิตและประสาท และเมื่อเริ่มใช้แล้วอาจชักนำไปสู่การใช้ยาเสพติดให้โทษที่รุนแรงมากขึ้นได้ ผู้ที่ตั้งครรภ์ห้ามใช้โดยเด็ดขาด รวมทั้ง ผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต ห้ามใช้ หรือหากใช้แล้วมีอาการข้างเคียง เช่น ใจสั่น กระวนกระวาย คลื่นไส้อาเจียน ก็ให้หยุดใช้ และอย่าใช้อีก
” สำหรับคนเป็นเบาหวานให้ระวัง จากการวิจัยพบว่ากระท่อมมีสารที่ไปช่วยการลดน้ำตาลในกระแสเลือดถ้าใช้ควบคู่กับยาเบาหวาน หรือที่ต้องฉีดอินซูลิน เป็นประจำอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (ไฮโปไกลซีเมีย) ได้ ท้ายที่สุด กระท่อมมีประโยชน์มาก แต่ก็มีโทษเช่นกัน หากใช้ในทางที่ผิดและปราศจากการควบคุมที่เหมาะสม และมีผู้เอาใบกระท่อมไปเสพเพื่อสันทนาการ โดยผสมกับสารอื่น ๆที่เป็นอันตรายมากขึ้น เช่น ยาน้ำแก้ไอ ยากันยุง น้ำอัดลมผงในหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ เป็นต้น เป็นสูตรที่เรียกว่า 4X100เพื่อให้มีฤทธิ์มึนเมารุนแรงขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้เสพมาก”อาจารย์ธงชัยกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'จ๋าย ไททศมิตร' ใช้เวลา 14 วัน ลาขาดกระท่อม หลังกินมา 7 ปี
หลังจากหลงอยู่ในวังวนของใบกระท่อมที่เกือบจะเรียกได้ว่ากินแทนน้ำเปล่าไปนานกว่า 7 ปี จ๋าย-อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี นักร้องนำ วงไททศมิตร (TaitosmitH) ก็ขอปฏิวัติตัวเองใหม่ ประกาศดับเครื่องชน จะเลิกกระท่อมอย่างเด็ดขาด ซึ่งตอนนี้เจ้าตัวได้ทำสำเร็จแล้ว โดยใช้เวลา 14 วันเท่านั้น และล่าสุดหนุ่มจ๋ายได้ออกมาแชร์วิธีเอาชนะในครั้งนี้ผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว
จี้รัฐขีดเส้น ห้ามขายกัญชา กระท่อม 'เด็ก นักเรียน นักศึกษา'
อาจารย์อุ๋ย ปชป. ชี้กัญชา กระท่อม มีกฎหมายควบคุมชัดเจน ผู้จำหน่ายต้องมีใบอนุญาต ห้ามโฆษณา ห้ามขายเด็ก นักเรียน นักศึกษา หากฝ่าฝืนมีโทษถึงจำคุก
รัฐบาล รับข้อสังเกตสภาฯ แนวทางจัดการพืชกระท่อม
‘รัชดา’ เผยรัฐบาลรับข้อสังเกตสภาฯแนวทางจัดการพืชกระท่อม ‘ก.เกษตร’เร่งขยายพันธุ์แจกเกษตรกร
ก.เกษตรฯ เปิดทางนำเข้าเมล็ดพันธุ์ 'กัญชา - กัญชง - กระท่อม'
เพจไทยคู่ฟ้า แจ้งว่า นำเข้าได้! เมล็ดพันธุ์ “กัญชา - กัญชง - กระท่อม” ขึ้นทะเบียนที่เว็บกรมวิชาการเกษตร
‘กระท่อม’ จากพืชหัวไร่ปลายนาที่ต้องแอบปลูก ยกระดับสู่งานวิจัยเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชน
อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่ใช่จะเป็นแหล่งกำเนิด ‘เงาะโรงเรียน’ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศเท่านั้น
คลัสเตอร์กระท่อม-น้ำชายังระบาดหนัก! สั่งกวดขันงานกฐิน-บุญบั้งไฟ ห้ามเกิน 500 คน
โควิดชายแดนใต้ยังพุ่ง พบคลัสเตอร์กระท่อม-น้ำชาระบาดหนัก ศบค.สั่งทุกจังหวัดกวดขันงานกฐินและบุญบั้งไฟ ห้ามเกิน 500 คน