10 ก.พ.2567 - ศ.ดร.ธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีย้าย-ไม่ย้าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย หลังศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้อุเทนฯ ย้ายออกจากพื้นที่ของจุฬาฯ ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2565 โดยจะต้องดำเนินการภายใน 60 วันหลังจากมีคำสั่ง
ระบุว่า ก่อนหน้านี้ ผมไม่เคยออกความคิดเห็นเรื่องที่ตั้งวิทยาเขตอุเทนถวายซึ่งอยู่ในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ถึงเวลานี้เห็นใครต่อใครก็พูดเรื่องนี้กันให้ขรมไป ถ้าผมจะพูดบ้าง คงไม่เป็นไรนะครับ
1.ผมเคยทำหน้าที่ผู้อำนวยการหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่นานสิบกว่าปี ได้ค้นคว้าเอกสารและผ่านตาเอกสารเกี่ยวกับที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาครบทุกชิ้น ไม่ปรากฏหลักฐานใดว่า “อุเทนถวาย” ได้รับพระราชทาน ได้รับโอน หรือมีกรรมสิทธิด้วยประการหนึ่งประการใดในที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอุเทนถวายในปัจจุบัน มีแต่เพียงสัญญาเช่า ซึ่งครบกำหนดไปนานปีแล้ว และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ได้ต่อสัญญาเช่าให้อีก
2.อุเทนถวายมีข้อโต้เถียงในเรื่องกรรมสิทธิ และนำคดีขึ้นสู่ศาล คดีถึงที่สุดว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของแปลงนี้
3.ผมจำวันเวลาที่แน่นอนไม่ได้ แต่ได้มีการเจรจาตกลงและทำบันทึกความเข้าใจร่วมกันระหว่างอุเทนถวายกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าอุเทนถวายจะย้ายการเรียนการสอนไปยังสถานที่ใหม่ แต่ในทางปฏิบัติแล้วเหตุการณ์ดังกล่าวก็ไม่เคยเกิดขึ้นจริง
4.เรื่องเหตุกระทบกระทั่งระหว่างอุเทนถวายกับสถาบันการศึกษาอีกแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลกัน มีมาช้านาน และมีความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเกิดขึ้นต่อเนื่อง บางคราวประชาชนคนธรรมดาก็ถูกลูกหลง บาดเจ็บล้มตายไปกับเขาด้วย
5.ผมได้ทราบจากข่าวสารสาธารณะว่า กระทรวงอุดมศึกษามีแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาที่ยืดเยื้อมายาวนาน โดยการให้สถาบันการศึกษาที่ชื่อ อุเทนถวาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกยังคงรับนักศึกษาปีที่หนึ่งในปีการศึกษาหน้าที่จะถึงนี้ โดยให้ไปจัดการเรียนการสอนในวิทยาเขตหรือสถานที่อื่นซึ่งไม่ใช่พื้นที่ปทุมวัน ซึ่งมีคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดชี้ขาดมานานปีแล้วว่าเป็นที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6.การดำเนินการตามข้อ 5 ข้างต้น นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งย่อมอยู่ในฐานะที่จะได้รับทราบตั้งแต่ต้นแล้วว่า เมื่อตนเข้าไปเป็นนักศึกษา จะมีสถานที่เรียนอยู่ที่ใด เป็นการรับทราบข้อมูลล่วงหน้า ทำให้มีข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในสถาบันแห่งนี้
7.มีบางเสียงอภิปรายกล่าวอ้างว่า หากอุเทนถวายไม่อยู่ที่ปทุมวันที่แล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะนำที่ดินไปจัดผลประโยชน์หรือทำธุรกิจ ผมเห็นว่าข้อเถียงดังกล่าวเป็นการหลงประเด็น หลงตรรกะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิในที่ดินย่อมมีความชอบธรรมที่จะนำที่ดินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้ตามที่เห็นสมควร จากความรู้ส่วนตัวของผม พื้นที่ตรงนี้อยู่ในแผนการใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ในการศึกษามานมนานแล้ว
“แต่ถ้าในวันข้างหน้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคิดจะปรับแผนไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ก็เป็นเรื่องที่ประชาคมจุฬาฯรวมตลอดถึงประชาชนจะสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพราะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของผู้หนึ่งผู้ใด ถ้ามีเรื่องทุจริตคิดมิชอบเกิดขึ้น ไม่ต้องเดือดร้อนถึงคนอื่นหรอกครับ เพียงแค่คนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน เขาย่อมไม่ยอมอยู่นิ่งอย่างแน่นอนครับ”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รุ่นใหญ่ปะทะเดือด! 'ไพศาล' ตอก 'ขรัวธงทอง' คนนี้แหละ ที่ไปดูที่ทางให้ 'ทักษิณ' นั่งในวัดพระแก้ว
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย ทนายความ โพสต์ข้อความว่า ธงทอง (จันทรางศุ) แสดงความห่วงใย ม็อบสนธิ ว่าเป็นผู้สูงวัย เกรงว่าจะเป็นลม
'ธงทอง' เผยนั่งคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกฯ สานงานต่อยุครัฐบาลเศรษฐา
นายธงทอง จันทรางศุ ที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ 2 สัปดาห์ ตนได้รับการประสานจากนพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรีว่า ยังมีงานที่ตนทำค้างอยู่ในด้านต่างๆ ที่ตนรับผิดชอบในช่วงที่เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
'ชูศักดิ์' อ้าง 'ธงทอง' คอนเฟิร์มทักษิณใส่เครื่องแบบขาวปกติได้
นายชูศักดิ์ ศิรินิล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะวิปรัฐบาล ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์กรณีการใส่ชุดปกติขาวของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะสามารถใส่ได้หรือไม่ ว่า ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
'ธงทอง' แจงแล้ว หลังโพสต์คนในกระบวนการยุติธรรมบ่นทำคดีตามธง
นายธงทอง จันทรางศุ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่เคยโพสเฟซบุ๊คเมือปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ระบุว่าคนในกระบวนการยุติธรรมบ่นว่าต้องทำคดีตามธง ซึ่งขัดหลักการหลักกฎหมาย และส่งผลเสียระยะยาว ว่า เป็นเรื่องของคนบ่นจุกจิกจู้จี้ทั้งหลาย
ย้อนเวลา 120 ปี ร.ร.ราชินี สัญลักษณ์การศึกษาสตรีไทย
ปีนี้โรงเรียนราชินีครบ 120 ปี ย้อนประวัติศาสตร์ไปวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2447 ณ ตึกแถวมุมถนนอัษฎางค์และจักรเพชร “โรงเรียนราชินี” ถือกำเนิดขึ้นจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
'วิรังรอง' บอกใครเข้าใจผิด โปรดอ่านคำชี้แจง ศาลปกครองไม่เคยมีคำสั่งบังคับคดีอุเทนถวาย
นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ และนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 30 โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ศาลปกครองชี้แจงไม่ได้พิพากษาบังคับคดีอุเทนถวาย คำชี้แจงของศาลปกครองชัดเจนนะคะ