คัมภีร์ใบลานจดจารพระไตรปิฎกบรรจุไว้ในกล่องพระธรรม ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอพระไตรปิฎกวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม นักภาษาโบราณ กรมศิลปากร และเหล่าอาสาสมัคร นำมาสำรวจ อนุรักษ์ ลงทะเบียน จัดเก็บคัมภีร์ใบลานตามหลักวิชาการ เนื่องจากคัมภีร์ใบลานดังกล่าวสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเดิมภายในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริให้อัญเชิญคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกดังกล่าวไปประดิษฐาน ณ หอพระไตรปิฎกวัดราชประดิษฐฯ เอกสารโบราณเหล่านี้ผ่านกาลเวลากว่า 130 ปี ทำให้อยู่ในสภาพชำรุดต้องเร่งรักษามรดกของชาติด้วยการอนุรักษ์
พนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามกับกรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม โดยมีอาสาสมัครและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวม 25 คน ทำการสำรวจ อนุรักษ์ ลงทะเบียน จัดเก็บคัมภีร์ใบลานตามหลักวิชาการ ระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 30 เมษายน 2567 ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรมวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นวัดสำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และมีคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกบรรจุกล่องอยู่ในหอพระไตรปิฎก
“ คัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐฯ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเดิม ภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริให้อัญเชิญคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกดังกล่าวไปประดิษฐาน ณ หอพระไตรปิฎกวัดราชประดิษฐฯ โดยบรรจุไว้ในกล่องพระธรรม ทำด้วยไม้มีขนาดพอเหมาะกับคัมภีร์ชุดหนึ่งๆ หรือหมวดหนึ่งๆ ตามพระไตรปิฎก ด้านสันกล่องได้จารึกหมวดหมู่ชื่อเรื่องด้วยอักษรขอม ภาษาบาลี และภาษาบาลี-ไทย ลักษณะคล้ายประดับเกล็ดหอยฝังเนื้อไม้ วางเรียงไว้ตามชั้นต่างๆ ในตู้พระธรรมซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 อยู่ในฐานะเอกสารโบราณที่ควรอนุรักษ์จัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อการศึกษา ค้นคว้าและเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ทั้งนี้ นักภาษาโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ นำอาสาสมัครเข้าสำรวจตรวจสอบปริมาณกล่องคัมภีร์อย่างละเอียด พบกล่องคัมภีร์ใบลานจำนวน 87 กล่อง สภาพกล่องชำรุดเสียหาย ภายในกล่องพบคัมภีร์อยู่ในสภาพชำรุดมาก แยกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ คัมภีร์ใบลานที่จับผลึก ติดแน่น แข็งเป็นท่อน คัมภีร์ใบลานชำรุด พลัดผูก หัก งอ ผิดรูป และคัมภีร์ใบลานถูกแมลงสัตว์กัดกินเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ป่นเป็นผง เมื่อประเมินปริมาณงานที่ต้องดำเนินการแล้ว มีคัมภีร์ใบลานที่ชำรุดไม่สามารถจัดหมวดหมู่ ชื่อเรื่อง ลงทะเบียนได้ประมาณ 80% ของคัมภีร์ที่มีอยู่ทั้งหมด ส่วนคัมภีร์ใบลานที่เหลืออีก 20% สามารถดำเนินการอนุรักษ์ต่อในขั้นตอนตามหลักวิชาการได้ เช่น ทำความสะอาด เปลี่ยนสายสนอง อ่านวิเคราะห์ชื่อเรื่อง ออกเลขทะเบียน
สำหรับแนวทางในการดำเนินงาน สำรวจ อนุรักษ์ จัดเก็บ คัมภีร์ใบลานชำรุดมากทั้ง 3 ลักษณะนั้น จะมีการทำความสะอาด เขียนป้ายบอกลักษณะชำรุด ห่อ มัด และจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาลักษณะทางกายภาพของคัมภีร์ ส่วนคัมภีร์ใบลานที่สามารถอ่านศึกษาเนื้อหาได้ จะได้ดำเนินการตามหลักวิชาการในการอนุรักษ์ ทำทะเบียน และจัดเก็บต่อไป โครงการนี้ใช้เวลาซ่อมสร้างเพื่อคืนความสมบูรณ์ให้กับคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฏกวัดราชประดิษฐฯ ประมาณ 3 เดือน
โครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานดังกล่าวเป็นการบูรณาการความร่วมมือและสร้างการรับรู้ระหว่างคณะสงฆ์ กรมศิลปากร และภาคส่วนประชาชน เพื่ออนุรักษ์สืบสานคัมภีร์ใบลานซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาของบรรพชนให้มีอายุยืนยาว อีกทั้งยังเกิดเครือข่ายอาสาสมัครอนุรักษ์เอกสารโบราณ ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งต่อมรดกภูมิปัญญาให้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นสืบไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บูรณะวัดไชยวัฒนารามนำชีวิตชีวาสู่มรดกโลก
วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา งดงามทรงคุณค่า เป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาอดีตเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ วัดเก่าแก่แห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของอยุธยา และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่โดย
'4วัด1วัง'เที่ยวมรดกโลกอยุธยายามราตรี
กระแสตอบรับดีสำหรับโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ยกระดับท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรีเปิดโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แห่ง ประกอบด้วย
ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ
ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม
7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา
คนรักศิลปฯแย้งผู้ว่าฯทุบปูนปั้นครูทองร่วง ยันผู้เสียหายคือสาธารณะ เตือนผิดม.157
นายวรา จันทร์มณี เลขาธิการชมรมคนรักศิลปวัฒนธรรม อดีตเลขาฯศิลปินแห่งชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีทุบปูนปั้นครูทองร่วง เอมโอษฐ ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี (ตอนที่ 2) ระบุว่า
วธ.สั่งวางมาตรการลดเสี่ยงโบราณสถานตลอดฤดูฝน
13 ก.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย รู้สึกห่วงใยชาวจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมากที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด