กรมสุขภาพจิต ประสานรร.ผลิตแพทย์ แก้ปัญหาสุขภาพจิต 'นักศึกษาแพทย์ 'พบมีความเครียด กดดันหลายอย่าง

2 ก.พ. 2567- กรมสุขภาพจิตจัดประชุมการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตในนิสิต/นักศึกษาแพทย์ และวิชาชีพแพทย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มแพทย์ โดยเฉพาะการป้องกันการฆ่าตัวตาย พร้อมมุ่งเป้าบูรณาการประเมินดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมหลายหน่วยงาน อาทิเช่น แพทยสภา แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย โรงเรียนแพทย์ทั้ง 23 แห่ง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


นพ. พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัญหาการฆ่าตัวตายในนิสิตนักศึกษาแพทย์ถึงแม้จะไม่มีข้อมูลสถิติแน่ชัดแต่ก็มีข่าวออกมาเรื่อยๆ เนื่องจากนิสิตนักศึกษาแพทย์จะมีปัญหากดดันหลายเรื่อง เช่น การปรับตัวต่อการเรียน การปรับตัวต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ การปรับตัวต่อรุ่นพี่และอาจารย์ ซึ่งกรมสุขภาพจิต ได้ร่วมมือกับคณะแพทย์ศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนานวัตกรรมระบบ DMIND ในระบบหมอพร้อม เพื่อให้คำปรึกษาผู้ประสบปัญหาโรคซึมเศร้า โดยคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ในแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม แม่นยำ เข้าถึงง่าย ใช้สะดวก ช่วยลดภาระ ซึ่งการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพจิตนิสิต นักศึกษาแพทย์ และแพทย์ ต้องใช้ข้อเสนอแนะจากภาคเครือข่ายและมีการดำเนินการเร่งด่วนเพื่อค้นหา เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงและการป้องกันฆ่าตัวตาย โดยใช้ทั้งระบบปกติและระบบออนไลน์ รวมทั้งจำแนกความรุนแรงเพื่อวางแผนการดูแลรักษา ติดตามเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน พัฒนาอาจารย์เพื่อช่วยเหลือเด็ก รวมทั้งพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลการฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตายของนิสิต ต่อด้วย DMIND นักศึกษาแพทย์ รวมทั้งวิชาชีพมีความสำคัญเพื่อให้เกิดแผนร่วมกันในการดูแลปัญหานี้

นพ.จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เนื่องจากอัตราการฆ่าตัวตายประชาชนอายุ 20-59 ปี สูงขึ้นจากปี 2563 คือ 9.34 ต่อแสน เป็น 9.78 ต่อแสน ในปี 2566 จากการวิเคราะห์เหตุปัจจัยการฆ่าตัวตาย ปีงบประมาณ 2566 พบว่า ประมาณร้อยละ 30 ป่วยโรคทางกายเรื้อรัง และโรคจิตเวชร้อยละ 21.1 ใช้แอลกอฮอล์ ร้อยละ 13.7 ถูกทำร้าย เพียง 1 ใน 4 ของคนใกล้ชิดได้รับสัญญาณเตือนก่อนฆ่าตัวตาย โดยพบเป็นคำพูดหรือส่งข้อความมากที่สุด นิสิตนักศึกษาแพทย์ และแพทย์ เป็นวิชาชีพสำคัญในการดูแลคนเจ็บป่วยที่เผชิญกับความเครียด ความกดดัน และความคาดหวังจากการปฏิบัติงานสูง โดยในระยะสั้นกรมสุขภาพจิตจะร่วมมือกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์ฯ พัฒนาศักยภาพให้นิสิต/นักศึกษาแพทย์ เพื่อให้การดูแลโดยเพื่อน และร่วมมือกับโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท และวิศวะ แพทย์ จุฬา คัดกรองซึมเศร้าฆ่าตัวตายในนักศึกษาแพทย์ ร่วมมือกับแพทยสมาคมฯ หาทุนวิจัยให้สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์ทำวิจัยปัญหาสุขภาพจิตในนิสิต/นักศึกษาแพทย์และจะมีการวางแผนระยะยาวต่อไป


นพ. ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การฆ่าตัวตายในวิชาชีพแพทย์ รวมถึงนักศึกษาแพทย์ แพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน ข้อมูลที่เก็บได้มีน้อยกว่าความเป็นจริงมาก แต่ในกรณีที่เกิดขึ้น ศึกษาจนพบว่า พฤติกรรมการฆ่าตัวตายเกิดขึ้น เมื่อมีปัจจัยเสี่ยง มีปัจจัยกระตุ้น ด่านกั้นล้มเหลว และปัจจัยปกป้องอ่อนแอ จึงนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเกิดจากประสบปัญหาชีวิตหรือมีเหตุการณ์วิกฤติที่คิดว่าพ่ายแพ้ ล้มเหลว อาการทางจิตกำเริบ พิษจากสารเสพติด ข่าวการฆ่าตัวตาย ซึ่งมีข้อเสนอแนวคิดว่าควรมีการ 1. เฝ้าระวังสังเกตสัญญาณเตือน 2. เข้าหาพูดคุยและรับฟัง 3. ประเมินสถานการณ์วิกฤติเร่งด่วนและตอบสนองอย่างฉับไว 4. ให้ความช่วยเหลือทันทีและส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'กรมสุขภาพจิต' ขอความร่วมมือ หลีกเลี่ยง สร้างภาพจาก AI จะเร้าอารมณ์ผู้ที่กำลังโศกเศร้า

เพจ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อความว่า ขอความร่วมมือเขียนข้อความไว้อาลัยอย่างเหมาะสม โดย ”หลีกเลี่ยง“ การวาดภาพประกอบขึ้นมาใหม่หรือสร้างภาพจาก AI

เคาะ 6 ข้อเสนอ แผน 'สุขภาพจิตชุมชน' พร้อมดันสู่วาระชาติ

นายชาญชัย ทองสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยสถาบันพัฒนาศักยภาพเพื่อความเท่าเทียมทางสังคม มูลนิธิบุญยง-อรรณพ นิโครธานนท์ ตัวแทนแกนนำขับเคลื่อนโครงการพัฒนาความร่วมมือ

'กรมสุขภาพจิต' ส่งทีมเยียวยาจิตใจ ผู้ประสบอุทกภัยเชียงใหม่-เชียงราย

'กรมสุขภาพจิต' ส่งทีมเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งเชียงใหม่-ศูนย์พักพิงจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ชี้ยิ่งนานยิ่งน่าห่วง

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จับมือ กรมสุขภาพจิต สานพลัง สร้างสรรค์สื่อ เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตสู่สังคม

15 สิงหาคม 2567 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ลงนามความร่วมมือกับ นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต โดยมีผู้บริหาร ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม