งานศิลปะเจ้าชายน้อยจาก 10 ศิลปินร่วมสมัย

ครบรอบ 80 ปี ของเจ้าชายน้อย โดย อ็องตวน เดอ แซ็งเต็กซูเปรี วรรณกรรมเยาวชนสุดคลาสสิกที่ถูกแปลไปแล้วกว่า 560 ภาษา จนครองใจคนทั่วโลก โครงการเจ้าชายน้อยภาษาถิ่น, สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร, The Cloud , Antoine de Saint Exupéry Youth Foundation, Fondation Jean-Marc Probst pour le Petit Prince และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ร่วมกันจัดงานพิเศษมุ่งสื่อสารเรื่องราวความมหัศจรรย์ของ เจ้าชายน้อย ผ่านกิจกรรมมากมายในโครงการ ‘Talk of The Cloud : The Little Prince Planet’ เป็นส่วนหนึ่งเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 ระหว่างวันที่ 27 ม.ค. – 4 ก.พ. พ.ศ. 2567 ที่หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

หนึ่งกิจกรรมพิเศษ ‘งานศิลปะเจ้าชายน้อย’ จากศิลปินร่วมสมัย 10 คน ประกอบด้วย เกริกบุระ ยมนาค, พลอย จริยะเวช, Pomme Chan, นักรบ มูลมานัส, พุทธรักษ์ ดาษดา, Jiranarong, faan.peeti, TUNA Dunn, mig_mig และ Viput A. ซึ่งเปิดให้เข้าชมผลงานทั้ง 10 ศิลปินแล้ว อาทิ ภาพสีอะครีลิกบนกระดาษ “จากเจ้าชายน้อยในจินตนาการ โดยเกริกบุระ ยมนาค ศิลปินรังสรรค์บนแนวคิดแซ็งเต็กซูเปรี เขียนหนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องราวการประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกของชายผู้หนึ่งในทะเลทรายแอฟริกากับการได้พบเจ้าชายน้อยในความคิดฝันหรือความจริง เจ้าชายพาเขาเดินทางไปตามดวงดาวในอุดมคติ และความคิดฝันของตัวละครในเรื่องราวดั่งภาพประกอบที่ศิลปินได้นำเสนอตัวละครของเจ้าชายน้อย ดวงดาวต่าง ๆ ที่เขาได้พบเจอ และแสดงออกถึงความคิดอ่าน อารมณ์ความรู้สึกของผู้แต่ง เป็นบรรยากาศตามที่ศิลปินถ่ายทอดไว้ในจินตนาการ

ภาพ“When the hiding well turned rose fountain”โดยพลอย จริยะเวช เทคนิคพู่กันจีนและสีปากกา ศิลปินได้แรงบันดาลใจจาก‘ผลิใหม่จากตนเดิม’ วาดให้ดูเฉลิมฉลอง บ่อน้ำกลายเป็นน้ำพุ และเพื่อเป็นเกียรติแก่หมาจิ้งจอก ตัวละครที่เธอชอบสุดในเจ้าชายน้อย น้ำพุมีดอกกุหลาบตามที่จิ้งจอกอธิบายความเรื่องความรับผิดชอบ การใส่ใจดูแล เป็นพื้นฐานของความรัก  โดมครอบกุหลาบใหญ่เหนือจริง สลักข้อความบนหินที่เป็นคำถามไว้บนน้ำพุมีชื่อภาพเป็นคำตอบ

ส่วนศิลปินชื่อดัง Pomme Chan สร้างสรรค์ผลงาน “There are plenty of roses in the garden”จากความประทับใจตอนที่เจ้าชายน้อยเดินทางมาพบสวนแห่งหนึ่งเต็มไปด้วยกุหลาบนับร้อย และได้รู้ความจริงว่ากุหลาบของเขาไม่ได้พิเศษไปกว่าที่หาได้ในสวนแห่งนี้ รูปลักษณ์ กลิ่น หรือสีสันที่เขาเคยคิดว่ามีเพียงหนึ่งเดียว แท้จริงกลับไม่ใช่ แต่กุหลาบเขาพิเศษเหนือดอกอื่น ๆ เป็นช่วงเวลาที่ได้ใช้ร่วมกันฝังลึกในความทรงจำ ปอม ชาน เลือกย้อนวันวานคืนสู่ความเรียบง่ายผ่านลายเส้นสีดำบนกระดาษไข เหมือนกับดอกกุหลาบของเจ้าชายน้อย ในวันที่มุมมอง ยังไม่ถูกแต่งแต้มด้วยประสบการณ์และยังไม่รู้

‘วาดแกะให้ผมสักตัวเถิด’ โดย Jiranarong ผลงานชิ้นนี้เทคนิคสีน้ำ สีไม้ คอลลาจ วาดรูปวาดต่าง ๆ ในเรื่อง เจ้าชายน้อย โดยได้แรงบันดาลใจจากต้นฉบับจริงในลายเส้น เทคนิค ความงามแบบของศิลปิน อีกผลงาน’ he wheat, which is golden, will remind me of you’ ศิลปิน  faan.peeti เทคนิคภาพพิมพ์ดิจิทัล เรื่องราวมาจากวรรณกรรมเด็กคลาสสิก  ฯลฯ

ส่วนคนรักหนังสือชวนร่วมกิจกรรมFinding The Little Prince หนังสือเจ้าชายน้อยและของสะสมจากทั่วโลก  วันที่ 2 ก.พ. 2567 เวลา10.00 – 20.00 น.  นิทรรศการจัดแสดงสิ่งของสุดพิเศษจากเรื่องเจ้าชายน้อย ซึ่ง ฌอง-มาร์ก พร็อพสต์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเจ้าชายน้อย ที่เมืองโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ ไปเบิกมาจากเซฟของธนาคาร แล้วนำมามอบให้จัดแสดงด้วยตัวเอง ประกอบด้วย หนังสือ เจ้าชายน้อย ฉบับภาษาฝรั่งเศส และฉบับภาษาอังกฤษ  พร้อมลายเซ็น แซ็งเต็กซูเปรี , หนังสือ เจ้าชายน้อย ฉบับภาษาอังกฤษ พร้อมลายเซ็น เช เกวาร่า , หนังสือ เจ้าชายน้อย ฉบับพิมพ์ครั้งแรกของสำนักพิมพ์กัลลิมารด์,หนังสือ เจ้าชายน้อย ฉบับที่กงซูเอโล จัดพิมพ์อุทิศให้แซ็งเต็กซูเปรี  สัญญากับสำนักพิมพ์เรย์นัล แอนด์ ฮิตช์ค็อก ฉบับจริง  ภาพวาดพอร์เทรตของแซ็งเต็กซูเปรี ภาพจริง ร่วมด้วยหนังสือ เจ้าชายน้อย ภาษาต่าง ๆ กว่า 100 ปก ของสุพจน์โล่ห์คุณสมบัติ   งานนี้ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะมอบให้โครงการเจ้าชายน้อยภาษาถิ่น 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.จัดงาน'แพรพัสตรา บรมราชินีนาถ' เฉลิมพระเกียรติ พระพันปีหลวงฯ

1 ส.ค. 2567 ที่หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดแถลงข่าวงานแพรพัสตรา บรมราชินีนาถ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2567