รางวัลเจ้าฟ้ามหิดล เชิดชูสองแพทย์ผู้ค้นพบโปรตีนวีอีจีเอฟ -พิษต่อตับจากยาพาราฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดําเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจําปีพุทธศักราช 2566 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำ  ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารเมื่อวันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567  ที่ผ่านมา

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจําปี  2566  มีผู้ได้รับการสนอชื่อข้ารับรางวัลทั้งสิ้น 92 ราย จาก 31 ประเทศ ผลปรากฏว่ามีผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล  สาขาการแพทย์ ได้แก่ ศ. นพ. นาโปเลโอเน เฟอร์รารา (Napoleone Ferrara, M.D.)จาก อิตาลี / สหรัฐอเมริกา และสาขาการสาธารณสุขได้แก่ ศ. นพ.แบร์รี่ เอช. รูแมค(Barry H. Rumack, M.D.) จาก สหรัฐอเมริกา

สำหรับ ศ.นพ. นาโปเลโอเน เฟอร์รารา  เป็นศาสตราจารย์พิศิษฐ์ภาควิชาจักษุวิทยาและพยาธิวิทยารองผู้อำนวยการอาวุโสด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ศูนย์มะเร็งมัวรส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย  สําเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยคาตาเนีย ประเทศอิตาลี หลังจากนั้นฝึกอบรมหลักสูตรหลังปริญญาเอกด้านวิทยาต่อมไร้ท่อระบบสืบพันธุ์ และด้านการวิจัยโรคมะเร็ง ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันดํารงตําแหน่งศาสตราจารย์พิศิษฐ์ ภาควิชาจักษุวิทยาและพยาธิวิทยา และรองผู้อํานวยการอาวุโสด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ศูนย์มะเร็งมัวรส์ คณะแพทยศาสตร์ ม.แคลิฟอร์เนีย

กรมสมเด็จพระเทพ ฯ พระราชทานรางวัลเจ้าฟ้ามหิดลฯประจำปี 2566 แก่ ศ.นพ. นาโปเลโอเน เฟอร์รารา  

เมื่อพ.ศ.2532 ขณะทํางานที่บริษัท เจเนเทค ศ.นพ.นาโปเลโอเน ได้ค้นพบและสกัดโปรตีนที่เร่งการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด หรือโปรตีนวีอีจีเอฟ ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด และได้ทําการศึกษาทั้งในด้านชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลของโปรตีนวีอีจีเอฟ รวมถึงตัวรับโปรตีนวีอีจีเอฟชนิดต่างๆ และกลไกในการกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดใหม่ ทั้งในภาวะปกติและภาวะที่เกิดพยาธิสภาพที่สําคัญคือ โรคมะเร็งบางชนิดและโรคศูนย์กลางจอตาเสื่อมจากอายุ หรือโรคเอเอ็มดี  ผลการศึกษาดังกล่าวนําไปสู่การพัฒนายาชนิดแอนติบอดีต่อโปรตีนวีอีจีเอฟ ได้แก่ ยาบีวาซิซูแมบ (เอวาสติน) ใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะที่มีความรุนแรง ร่วมกับมีการสร้างหลอดเลือดอย่างหนาแน่น ได้แก่ มะเร็งสมอง มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลําไส้

นอกจากนี้ผลงานของ ศ.นพ. นาโปเลโอเน  ยังได้เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสูงอายุ  ที่เป็นโรคเอเอ็มดีด้วยผลิตภัณฑ์ยาที่มีองค์ประกอบหลัก เป็นส่วนของแอนติบอดีและมีฤทธิ์  ต้านการทํางานของปรตีนวีอีจีเอฟคือ ยารานิบิซูแมบ (ลูเซนติส) อีกด้วยผลสําเร็จจากการศึกษาค้นคว้าของศ. นพ. นาโปเลโอเน  ได้ถูกนําไปใช้อย่างกว้างขวางในผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคตาเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลก

ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2566 สาขาการสาธารณสุข ศ. นพ.บร์รี่ เอช. รูแมค ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สาขากุมารเวชศาสตร์ และเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคโลราโดสหรัฐอเมริกา  สําเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจําบ้านกุมารเวชศาสตร์ และแพทย์ประจําบ้านต่อยอดเภสัชวิทยาคลินิค และพิษวิทยา มหาวิทยาลัยโคโลราโด  ปัจจุบันดํารงตําแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ สาขากุมารเวชศาสตร์ และเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคโลราโด  และผู้อํานวยการเกียรติคุณ ศูนย์พิษและยา ร็อคกี้เมาเทน โคโลราโด
เมื่อพ.ศ. 2516 ศ.นพ. แบร์รี่ ได้ฝึกงานเพิ่มเติมกับ นพ.เฮนรี แมทธิว  ที่โรงพยาบาลรอยัลแห่งเอดินบะระในสกอตแลนด์ช่วงเวลานี้

ศ.นพ.แบร์รี่ เริ่มมีความสนใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของยาพาราเซตามอล ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ภาวะพิษจากยาพาราเซตามอล  เป็นสาเหตุของภาวะตับวายเฉียบพลันร้อยละ 40-70 ของผู้ป่วยทั่วโลก  ศ. นพ.แบร์รี่ ได้รวบรวมกรณีผู้ป่วยภาวะพิษจากยาพาราเซตามอลเกินขนาด 34 กรณี รวมกับกรณีได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ก่อนหน้านั้น 30 กรณี นำมาใช้เป็นข้อมูลสร้างเป็นภาพกราฟประดิษฐ์เป็นเครื่องมือประเมินความเสี่ยงและวินิจฉัย ผู้ป่วยภาวะพิษจากยาพาราเซตามอลเฉียบพลันที่เรียกว่า Rumack–Matthew Nomogram ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2518

กรมสมเด็จพระเทพ ฯ พระราชทานรางวัลเจ้าฟ้ามหิดลฯประจำปี 2566 แก่ ศ.นพ.แบร์รี่ เอช. รูแมค

รูแมค – แมทธิว โนโมแกรม เป็นเครื่องมือที่มีชื่อเสียงมากในวงการแพทย์ทั่วโลก เป็นภาพกราฟแสดงระดับความเข้มข้นของยาพาราเซตามอล ในเลือดและระยะเวลาหลังการกินยาเกินขนาด และบ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อภาวะเป็นพิษต่อตับในผู้ป่วยแต่ละราย เครื่องมือนี้ช่วยให้แพทย์ทั่วโลกวินิจฉัย และรักษาภาวะพิษจากพาราเซตามอลเกินขนาดแบบเฉียบพลันได้อย่างเหมาะสม และเป็นส่วนสําคัญของแนวทางการรักษาซึ่งกลายเป็นมาตรฐานสากล ในการรักษาภาวะพิษจากพาราเซตามอล การประยุกต์ใช้เครื่องมือนี้ร่วมกับประสิทธิภาพของยาเอ็น อะซิติลซิสเตอีน (N-acetylcysteine) ที่ใช้เป็นยาต้านพิษช่วยลดภาวะตับอักเสบชนิดรุนแรง จากพาราเซตามอลลงอย่างมากจากอุบัติการณ์ 54% เหลือเกือบ 0% และแนวทางการรักษานี้ยังคงใช้ในห้องฉุกเฉินทั่วโลกในปัจจุบัน


นอกจากนี้ศ. นพ.แบร์รี่ ยังเป็นผู้พัฒนาและบุกเบิกการใช้ Poisindex ซึ่งเป็นฐานข้อมูลดิจิทัลทางด้านพิษวิทยาคลินิกและเป็นฐานข้อมูลมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงในการรักษาผู้ป่วยด้วยข้อมูลที่แม่นยําและทันสมัยในโรงพยาบาลและศูนย์พิษวิทยาทั่วโลก อีกด้วย

นับได้ว่า ศ.นพ. แบร์รี่ เอช. รูแมค เป็นผู้ที่มีคุณูปการในสาขาพิษวิทยาทางการแพทย์ตลอด 4 ทศวรรษที่ผ่านมา การทํางานวิจัยทางด้านภาวะพิษของพาราเซตามอลอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบัน เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย ความมุ่งมั่นในฐานะแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ของ ศ. นพ. แบร์รี่ เอช. รูแมค ได้ทําให้เกิดนวัตกรรมที่นําไปประยุกต์ใช้ช่วยชีวิตผู้ป่วยจํานวนนับล้านคนทั่วโลก เป็นแบบอย่าง และแรงบันดาลใจให้แพทย์และบุคลากรด้านสาธารณสุขในการปฏิบัติงานศึกษาและค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติอย่างไม่หยุดยั้ง

ซ้าย- ศ.นพ.แบร์รี่ เอช. รูแมค และขวา- ศ.นพ. นาโปเลโอเน เฟอร์รารา 

————————–

  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเจิมเทียนพรรษา

7 ก.ค.2567 - เวลา ๑๓.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออกแทนพระองค์ ณ วังสระปทุม ทรงเจิมเทียนพรรษา สำหรับทรงพระราชอุทิศพระราชทานไปจุดบูชา

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงบาตรในโอกาสครบ 110 ปี รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

30 พ.ค.2567 - เวลา 07.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบาตร เนื่องในโอกาสวันสถาปนาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ครบ 110 ปี

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรจำลอง

20 พ.ค.2567 - สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษก พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (จำลอง) ซึ่ง มูลนิธิรามาธิบดีฯ และ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ได้ร่วมกันจัดสร้างให้ประชาชนเช่าบูชา

'จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง' พระราชนิพนธ์กรมสมเด็จพระเทพฯ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  พระราชทาน พระราชานุญาตให้มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดพิมพ์พระราชนิพนธ์ “ปราสาทพนมรุ้ง และจารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง” เผยแพร่   ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “ปราสาทพนมรุ้ง และจารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง”

ตื่นตาสินค้าพื้นเมือง 57 ชาติ งาน'ออกร้านคณะภริยาทูต'

เตรียมตัวเที่ยวงานออกร้านคณะภริยาใจกลางกรุงเทพฯ ตื่นตากับสินค้าพื้นเมืองที่เป็นอัตลักษณ์ของของแต่ละประเทศ  ด้วยการจับมือร่วมกันสภากาชาดไทย โดยสำนักงานจัดหารายได้ Donation HUB “รับ”เพื่อ“ให้” กับสถานทูต 57 ประเทศทั่วโลก และศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยประกาศคามพร้อมการจัดกิจกรรม “งานออกร้านคณะภริยาทูตครั้งที่ 57”