วธ.เปิด3เส้นทางมูเตลู สร้างรายได้ชุมชน

‘เสริมศักดิ์’ ดันท่องเที่ยวมูเตลู กระตุ้นเศรษฐกิจชาติ อธิบดี ศน.ขานรับเปิด 3 เส้นทาง ‘ ไหว้พระธาตุ12 นักษัตร – ศรัทธาพญานาค – ตามรอยสมเด็จโต’ ยันทรัพยากรมูเตลูไทยมีเพียบ

26 ม.ค.2567 – นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ในปี 2567 ได้มอบนโยบายให้กรมการศาสนา (ศน.) ขับเคลื่อนการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อ (มูเตลู) ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน Soft power ที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของไทย โดยบูรณาการกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กท.) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) นำพลังแห่งความเชื่อความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งทางศาสนา การผสมผสานกับสิ่งเร้นลับทางธรรมชาติ โหราศาสตร์ ตลอดจนวัตถุมงคลที่ผู้คนนับถือบูชา มาใช้ในการส่งเสริมจัดแผนงานและโครงการต่างๆ ทั้งนี้ จากรายงานของ Future Market Insight พบว่า การท่องเที่ยงเชิงศรัทธาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลกปี 2565 มีมูลค่าถึง 13.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าในปี 2576 จะเพิ่มเป็น 40.92 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกือบ 3 เท่า จึงส่งเสริมให้จัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงศรัทธาที่กำลังเติบโต

ด้านนายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวว่า กรมการศาสนาร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และเครือข่ายในพื้นที่จัดกิจกรรมตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา 3 เส้นทาง ได้แก่ 1.เส้นทางความเชื่อความศรัทธาลุ่มแม่น้ำโขง 5 จังหวัด ได้แก่ จ.มุกดาหาร นครพนม บึงกาฬ หนองคาย และ จ.อุดรธานี พร้อมบูรณาการกิจกรรมผ้าไทย ใส่บาตร ปูสาดริมโขง 2.เส้นทางสักการะพระธาตุประจำปีเกิด 12 นักษัตร จ.เชียงใหม่ และ 3. เส้นทางตามรอยเถราจารย์สมเด็จพระพุฒาจารย์โต จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ จากการจัดกิจกรรมในปีที่ผ่านมาสามารถสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร ธุรกิจท่องเที่ยว และวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น สร้างรายได้กว่า 1 พันล้านบาท

“ ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวสะสมตั้งแต่เดือน ม.ค.- ก.ค.66 รวมกว่า 1.045 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 613,030 ล้านบาท และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 432,194 ล้านบาท นักท่องเที่ยวสะสมสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ มาเลเซียกว่า 3.2 ล้านคน จีน 2.5 ล้านคน เกาหลีใต้ 1.1 ล้านคน อินเดีย 1.1 ล้านคน และรัสเซียกว่า 9.9 แสนคน รวม 20 กว่าล้านคน โดยกระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่า การแสวงบุญสามารถสร้างรายได้หมุนเวียนในระบบมากถึง 10,800 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ต่อมูลค่าการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศในปี 2562 โดยทรัพยากรการท่องเที่ยวมูเตลูของไทย มีทั้งวัด โบสถ์ มัสยิด ศาลเจ้า เทวสถาน รูปจำลองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ส่วนมูเตลูที่ไม่ใช่สถานที่ ได้แก่ เครื่องรางของขลัง พิธีกรรม และบุคคล” อธิบดี ศน. กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศน.ชวนแจ้งความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน 9 พระอาราม

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ และพระราชานุญาตให้กระทรวง กรม หน่วยงานองค์กร คณะบุคคล และเอกชนที่มีความประสงค์ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินพร้อมเครื่องบริวารพระกฐิน เพื่อน้อมนำไ

'นวราตรี' พื้นที่ของทุกศาสนา

หนึ่งปีมีครั้งเดียวเทศกาล “นวราตรี” ถือเป็นช่วงเวลาที่ชาวฮินดูบูชาพระแม่อุมาเทวีจากความเชื่อตามตำนานที่พระแม่อุมาเทวีในร่างอวตารเป็นองค์ “พระแม่ทุรคา“ ปราบอสูรชื่อว่า “มหิษาสูร” ที่สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั่วได้สำเร็จ หลังสู้รบกันมา 9 วัน 9 คืน

รุ่นใหม่วัยเยาว์ 5 ศาสนา ท่อง'กะดีจีน'

ชุมชนกะดีจีนหรือชุมชนกุฎีจีนถือเป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางความวัฒนธรรมและความเชื่อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ย่านนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับทุกวัยและทุกศาสนา ในพื้นที่มีชุมชนและศาสนสถานแต่ละศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม เพื่อส่งต่อเรื่องราวพหุวัฒนธรรม เยาวชนรุ่นใหม่จาก 5 ศาสน

เปิดประเพณี'กวนอาซูรอ'ชายแดนใต้

ทุกศาสนาของโลก พุทธ คริสต์ อิสลาม สืบทอดมายาวนานจนทุกวันนี้ เพราะเปิดทางให้ผู้ศรัทธาและผู้สนใจศึกษาได้เรียนรู้และนำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและสร้างสังคมที่เข้มแข็ง ศาสนาอิสลามในคัมภีร์อัลกุลอารหลักคำสอนให้คำนึงถึงการแบ่งปัน โดยมีการส่งต่อวัฒนธรรมทางศาสนา

เส้นทางสักการะหลวงปู่ทวด ย้อนตำนานพระเถระ

หลวงปู่ทวด เป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดรูปหนึ่ง มีการสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวดและพระหลวงปู่ทวดในทุกภูมิภาค สถานที่ที่เป็นที่รู้จักและลูกศิษย์นิยมไปกราบสักการะเป็นอย่างมาก คือ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี แต่ยังมีวัดที่มีประวัติศาสตร์และตำนานที่เกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดอีกมาก

เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศลพระพันปีหลวง

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรี จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล และจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยทำความสะอาดบริเวณลานวัด อุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญ และปลูกต้นไม้ผลและไม้ประ