กลับมาแล้ว “Bangkok Design Week 2024” (BKKDW 2024) เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ปีนี้ปีที่ 7 มาในธีม ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ วันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 การจัดงานทั้ง 9 วัน ปลุกชีวิตและเติมสีสันแต่ละย่านผ่านกิจกรรมกว่า 500 โปรแกรม ที่มีหัวใจสำคัญ 3 มิติ ได้แก่ Hard Matters เมืองดีต่อกาย กายภาพดี เข้าถึงง่าย เชื่อมโยงผู้คน ให้อยู่สบาย มีสุขภาพดี ,Heart Matters เมืองดีต่อใจ ใส่ใจผู้คน กิจกรรมหลากหลาย วัฒนธรรมแข็งแรง และ Design Matters เมืองออกแบบดี ชีวิตดี หัวใจในการพัฒนาพื้นที่ ชุมชน และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนความร่วมมือระหว่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ และภาคีเครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ปีนี้พิเศษกับโจทย์ ‘HACK BKK’ ท้าทายเหล่านักสร้างสรรค์ให้ทดลองออกไอเดียแก้ปัญหาเมืองที่มีอยู่จริงเพื่อพัฒนาและเปลี่ยนแปลงให้เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน โดยขยายพื้นที่จัดงาน 15 ย่าน แต่ละพื้นที่หยิบยกดีเอ็นเอประจำย่านมาต่อยอดสร้างสรรค์ ได้แก่ เจริญกรุง – ตลาดน้อย เปิดพื้นที่ให้ผลงานใหม่ได้เข้ามาจัดแสดง เช่น Pocket Oasis Garden งานออกแบบเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวขนาดเล็ก และ Street Furniture ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวกเหมาะกับพื้นที่ย่านที่มีพื้นที่สีเขียวน้อย ระบบป้ายนำทางจักรยานและจุดจอดที่นำมาสู่โมเดลทดลอง ,พระนคร ผสานความเก่าเข้ากับความล้ำสมัยสร้างพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของย่านเมืองเก่า ทั้งเพิ่มประสบการณ์การใช้งานและการเดินทางในพื้นที่สาธารณะ การพัฒนาเส้นทางเดินเท้า มีกิจกรรม Projection Mapping และ Moving Image สร้างประสบการณ์ในพื้นที่ประปาแม้นศรี สวนรมณีนาถ ป้อมมหากาฬ ฯลฯ
ปากคลองตลาด ต่อยอดอัตลักษณ์ ‘ตลาดดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย’ ผ่านการสร้างประสบการณ์ใหม่ด้วยงานออกแบบ เช่น ต้นแบบขยายพื้นที่ Display หน้าร้านของแม่ค้าปากคลองฯ บนทางเท้าให้ดูมีเสน่ห์น่าเดิน ปรับอาคารเก่าที่เป็นโรงงานน้ำตาลปี๊บ ‘โล้วเฮียบเส็ง’ กลายเป็นพื้นที่แสดงงานศิลปะ ‘In Progress is Progress’ และไปรสนียาคาร อาคารไปรษณีย์แห่งแรก
นางเลิ้ง ต่อยอดภูมิปัญญาในย่านวัฒนธรรมมีชีวิตผ่านความร่วมมือผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมกับนักออกแบบผู้ย้ายเข้ามาใหม่ที่สื่อสารนางเลิ้งในมุมมองใหม่ผ่านงานออกแบบให้เป็นย่านที่บันเทิงทุกวัน พื้นที่จัดแสดงหลักโรงเรียนสตรีจุลนาคและบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี อาคารเก่าแก่ที่อยู่ร่วมกับชุมชนย่านนางเลิ้ง
เยาวราช สานต่อตำนานย่านสตรีทฟู้ดระดับโลกที่โดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมจีนจากรุ่นสู่รุ่น พร้อมขยายเรื่องราวไปสู่เจเนอเรชันที่หลากหลาย ด้วยการเจาะกลุ่มเด็กวัยมัธยมต้น ผ่านหนังสือการ์ตูน และ Street Art ธีมกิจการเสื่อผืนหมอนใบภายในถนนทรงวาด
หัวลำโพง ผลักดันย่านสร้างสรรค์รอบสถานีรถไฟใจกลางเมือง จากเรื่องราวในอดีตที่ไม่เคยถูกบันทึกเป็นพื้นที่เชื่อมต่อจากเจริญกรุง – ตลาดน้อย มีโครงการ ‘Made in Hua Lamphong’ ที่ร่วมกับ 6 ผู้ประกอบการเก่าแก่ x 5 นักสร้างสรรค์ สร้าง Branding ภาพจำใหม่ของหัวลำโพง โปรแกรมทัวร์สำรวจย่าน และนิทรรศการปาจื้อ: คน/ดวง/เมือง สื่อสารธาตุประจำตัวจากโหราศาสตร์จีน
อารีย์ – ประดิพัทธ์ มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้สวนสาธารณะกรมประชาสัมพันธ์ การสร้างพื้นที่จัดกิจกรรมของชุมชนสร้างสรรค์ในอารีย์ ฯลฯ บางโพ – เกียกกาย สร้างคุณค่าใหม่ให้ถนนสายไม้กลายเป็นย่านสร้างสรรค์ผ่านการออกแบบพร้อมขยายพื้นที่ไปเกียกกายเปิดพื้นที่กองทัพบกให้เป็นพื้นที่สันทนาการและจำหน่ายสินค้าชุมชน
วงเวียนใหญ่ – ตลาดพลู เชื่อมโยงคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ ต่อยอดวัฒนธรรมฝั่งธนฯ บนพื้นที่สองย่านเชื่อมโยงกันโดยเส้นทางรถไฟ ทั้งการจัดแสดง ทัวร์ลงรถไฟ เกษตรฯ – บางบัว ร่วมกันออกแบบที่นั่งสาธารณะและที่นั่งรอมอเตอร์ไซค์รับจ้างตรงบริเวณสถานีบีทีเอสบางบัว ปรับพื้นที่คลองบางบัวและริมถนนพหลโยธินเป็นพื้นที่ฉายภาพยนตร์ ตลาด Projection Mapping ฯลฯ
พร้อมพงษ์ มีไฮไลต์เป็น ‘บ้านนก บ้านกระรอก’ ส่วนหนึ่งของระบบนิเวศบนต้นไม้ริมทางที่นักออกแบบในย่านต้องการให้เกิดความรื่นรมย์ในระหว่างการเดินเท้า ออกแบบที่นั่งพักคอยของมอเตอร์ไซค์รับจ้างท้ายซอยสุขุมวิท 26
สยาม – ราชเทวี เปิดประตูรับรู้เรื่องราวชุมชนประวัติศาสตร์สร้างสรรค์ที่ซ่อนไว้ใจกลางกรุงเทพฯ ผ่านการส่งเสริมวัฒนธรรมอาหารในชุมชนบ้านครัว ชุมชนมุสลิมเก่าแก่ โดยนักสร้างสรรค์นำเสนอเรื่องราวผ่านสำรับอาหาร และโครงการลัดเลาะในซอย งานศิลปะซ่อมแซมพื้นที่และกำแพงที่แตกร้าว ฯลฯ
บางกอกใหญ่ – วังเดิม ฟื้นคืนชีวิตให้พื้นที่ประวัติศาสตร์ริมคลองบางกอกใหญ่ เช่น แลนด์มาร์กสำคัญอย่างวัดอรุณฯ และชุมชนรอบด้าน โดยนักสร้างสรรค์ทำโปรแกรมที่เปิดให้คนในพื้นที่ร่วมสร้างสรรค์ เช่น Sound of Bangkok Yai นิทรรศการเสียง ฯลฯ
พระโขนง – บางนา ทดลองพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะภายในย่านให้เป็นสวนเคลื่อนที่ แล้วยังมีบ้านต้นไม้ในซอยสุขุมวิท 95 ฟื้นคืนพื้นที่สาธารณะที่ถูกทิ้งร้างด้วยการปรับปรุงพื้นที่ บางมด หนุนย่านท่องเที่ยวสร้างสรรค์ผ่านพื้นที่เพาะปลูกผลไม้ดั้งเดิมและวิถีริมคลอง มีโปรแกรมทัวร์ และมีพื้นที่อื่นๆ
เตรียมตัวไปเดินเที่ยวเมืองพร้อมกัน วันที่ 27 ม.ค. – 4 ก.พ.นี้ ตั้งแต่เวลา 11:00 – 22:00 น. ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม Bangkok Design Week 2024
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Creative Excellence Awards 2024 (CE Awards 2024) เวทีประกาศรางวัลความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ ประจำปี 2567
กลับมาเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ สำหรับ Creative Excellence Awards 2024 (CE Awards 2024) เวทีประกาศรางวัลความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ ประจำปี 2567 ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA
CEA ร่วมเปิดงานเทศกาลเชียงรายเมืองออกแบบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 3 ชูศักยภาพเชียงราย 'เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ' ของยูเนสโก
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ในฐานะหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ เชียงราย ภายใต้เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network: UCCN)
เปิด ‘พระนคร’ ย่าน ‘เก่าแก่’ ที่ไม่มีวัน ‘เก่าเก็บ’ บ้านใหม่ของผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ใน Bangkok Design Week 2024
หากนึกถึงย่าน ‘พระนคร’ ทั้งในสายตาของชาวไทยและชาวต่างชาติ ย่านเก่าแก่แห่งนี้คือจุดหมายปลายทางอันดับต้น ๆ เมื่อมาเยือนกรุงเทพมหานคร
เปิดพิกัดลับ'Solar Art' ย่านศรีนครินทร์
ครั้งแรกของย่านศรีนครินทร์ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 (Bangkok Design Week 2024) เพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้แก่คนกรุงเทพฯ ผ่าน 4 คอนเซ็ปต์ “คน แสง เวลา อารมณ์” ที่จะเนรมิตพื้นที่ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ และ MMAD – MunMun Art Destination คอมมูนิตี้อาร์ต ให้กลายเป็นพื้นที่งานศิลปะสร้างสรรค์ฝั่งกรุงเทพฯ ตะวันออก ทั้งยัง
CEA ปลื้ม “CHANGEX2 : LOCAL COLLAB แท็กทีมปั้นธุรกิจใหม่ โชว์ Soft Power ไทย สร้างรายได้แพ็กคู่” ได้ 30 คู่ธุรกิจ
เพราะเล็งเห็นว่า ธุรกิจในทุกภูมิภาคของไทยยังมีโอกาสเติบโตไปได้อีก ในยุคที่การ Collab เป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญในการต่อยอดธุรกิจ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
CEA แถลงสรุปโครงการ “CHANGEx2 Local Collab” โชว์ผลงานปั้นธุรกิจใหม่ ร่วมกับ ครีเอเตอร์ 30 คู่ ส่งเสริมรายได้อย่างยั่งยืน
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA แถลงสรุปโครงการ “CHANGEx2 Local Collab แท็กทีมปั้นธุรกิจใหม่ หนุน Soft Power ไทย สร้างรายได้แพ็กคู่