'2 นครา มรดกโลก' กระตุ้นเที่ยวโบราณสถาน

หลังจากเปิดโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน ชูมนต์เสน่ห์ศิลปะสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของโบราณสถานที่สาดด้วยแสงสีจูงใจนักท่องเที่ยวและผู้หลงไหลในศิลปวัฒนธรรมให้มาตื่นตาตื่นใจกับความเป็นที่สุดของประวัติศาสตร์ จนประสบผลสำเร็จมีประชาชนจำนวนมากสนใจ อย่างเที่ยววัดไชยวัฒนารามฯ ยามราตรี นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งใส่ชุดไทยมาเก็บภาพที่ระลึกเข้ากับบรรยากาศและโบราณสถานที่งดงามเป็นเอกลักษณ์

ล่าสุด กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ต่อยอดความฮอตของโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน จัดทัวร์นำเที่ยวโบราณสถานภายใต้กิจกรรม “ศิลปากรสัญจร” เอาใจนักเดินทางที่หลงไหลในประวัติศาสตร์ในราคาสบายกระเป๋า

นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า  นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้มอบนโยบายให้กรมศิลปากรเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวโบราณสถานเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ต่อยอดความสำเร็จของโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในปีที่ผ่านมา กรมศิลปากรจึงได้จัดทัวร์นำเที่ยวโบราณสถานภายใต้กิจกรรม”ศิลปากรสัญจร” นำผู้สนใจเดินทางท่องเที่ยวไปกับกรมศิลปากรในราคาย่อมเยา โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายนำเข้าสมทบกองทุนโบราณคดี เพื่อบูรณะโบราณสถานและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ

​สำหรับเส้นทางแรก “ไหว้พระ ชมโขน ยลศิลป์ ถิ่นพิมาย” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2567  ด้วยเส้นทางปราสาทหิน และโบราณสถานสำคัญในจังหวัดนครราชสีมา เช่น พระนอนทวารวดีเมืองเสมา โบราณสถานกลุ่มปราสาทเมืองแขก โดยเฉพาะปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บูรณาการงานนาฏศิลป์ ชมการแสดงโขนกรมศิลป์ ภายในปราสาทหินพิมาย ในบรรยากาศโบราณสถานที่งดงามยามค่ำคืน โดยได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลาม ขณะนี้มีผู้สนใจร่วมเดินทางท่องเที่ยว ทำให้เต็มทุกที่นั่งอย่างรวดเร็ว 

แต่หลังจากนี้ จะมีการเปิดอีก 2 เส้นทางท่องเที่ยว อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวเพิ่มเติมว่า เป็นเส้นทาง  “2 นครา มรดกโลก” พาเยี่ยมชมโบราณสถาน ณ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มรดกโลก  และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากองค์การยูเนสโกเมื่อปีที่ผ่านมา เป็นสองอุทยานประวัติศาสตร์ที่ไม่ควรพลาดชม และเป็นสุดยอดในสายตานักท่องเที่ยวทั่วโลก

อีกเส้นทางศิลปากรสัญจร คือ   “เส้นทางวัฒนธรรมวงแหวนตะวันตก : ต้นธารแห่งอารยธรรมไทย” นำเที่ยวแหล่งโบราณสถานและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในพื้นที่ภาคตะวันตกของไทย ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม 

“ การจัดนำเที่ยวของกรมศิลปากรได้เตรียมวิทยากรมากประสบการณ์ รวมทั้งนักโบราณคดีที่ได้ทำงานในแต่ละพื้นที่ ร่วมเป็นมัคคุเทศก์เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจในประวัติศาสตร์อย่างสนุกสนาน และรับทราบความเป็นมาของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และยังช่วยให้ร้านอาหาร ที่พัก มีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการทำงานด้านวัฒนธรรมสอดรับกับนโยบาย Soft Power ของรัฐบาล “ นายพนมบุตร กล่าวแต่ละพื้นที่เป็นโบราณสถานควรค่าแก่การไปสัมผัสด้วยตัวเองสักครั้ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาแหล่งโบราณคดีโคราช สู่หมุดหมายระดับโลก

จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองมรดกโลกที่คนทั่วโลกรู้จักจากผืนป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่  ถิ่นโคราชยังมีความโดดเด่นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีแหล่งโบราณคดีเป็นวัตถุดิบชั้นดีใน

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สุดวิจิตรประณีตศิลป์ไทย

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติทั่วประเทศไทย งานพระราชพิธีสำคัญที่จะเกิดขึ้นการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน พุทธศักราช 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามฯ

ซ่อมเรือพระราชพิธีใกล้เสร็จ

21 มิ.ย. 2567 - เวลา 9.15  น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ตรวจเยี่ยมการซ่อมแซมและตกแต่งเรือพระราชพิธี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และเยี่ยมชมการฝึกซ้อมฝีพาย ณ แผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ กองทัพเรือ เ

สหรัฐเตรียมส่งคืนเสาสลักหินทราย'ปราสาทพนมรุ้ง'กลับไทย

18 มิ.ย.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า สถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก (The Art Institute of Chicago) สหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุให้กับกรมศิลปากร จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ชิ้นส่วนเสาติดผนังสลักจากหินทรายรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ

ชมสำรับ'กับข้าวเจ้านาย'ในสยาม

พูดถึงตำรับอาหารชาววัง บางคนนึกถึงเมนูอาหารสุดพิถีพิถันและประณีตบรรจงในทุกขั้นตอน  บางคนนึกถึงการประดิษฐ์ประดอยอาหารคาวหวานให้มีความสวยงามน่ากิน รสอาหารกลมกล่อม ตำรับอาหารชาววังนั้นครองใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ 

ปักหมุดเที่ยวงาน'มรดกสยาม 3 สมัย'

14 มิ.ย.2567 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นางยุพา  ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานเปิดงาน Happy Journey with BEM “มรดกสยาม ๓ สมัย” โดยมีนายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล รองอธิบดี