กมธ.กฎหมาย ชี้ ฟ้อง 9 นักกิจกรรมชาวมลายูมุสลิม ไม่ถูกต้องระวังได้ไม่คุ้มเสีย


17 ม.ค.2567 - ที่รัฐสภา นายกมลศักดิ์ ลีวามะ สส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร แถลงภายหลังการประชุมกรณีนักกิจกรรม 9 คน ร้องเรียนการถูกละเมิด สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมของนักกิจกรรมชาวมลายูมุสลิม ประเทศไทย ว่า ในที่ประชุมนอกจากนักกิจกรรมทั้ง 9 คน ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า ตำรวจภูธรภาค 9 และผู้กำกับสถานีตำรวจสายบุรี จ.ปัตตานี เข้าชี้แจง รวมถึงได้เชิญสส.จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง 13 คน เข้าร่วมฟังการชี้แจงครั้งนี้ด้วย ซึ่งกมธ.ได้สอบถามถึงการที่มีการแจ้งความร้องทุกข์ว่านักกิจกรรมกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ของ โดยกล่าวหาว่าทำให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน อั้งยี่ซ่องโจร ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นได้ ซึ่งข้อหากล่าวนี้ทางผู้ร้องปฏิเสธว่ากิจกรรมของเขาไม่ได้เป็นไปอย่างที่ถูกกล่าวหา และก่อนหน้านี้ได้มีหน่วยงานคือกอ.รมน. ได้มาทำความเข้าใจกันแล้ว เพื่อให้มีการแก้ไขกิจกรรม ซึ่งหลังจากถูกแจ้งความมีการจัดกิจกรรมอีกครั้ง เป็นไปตามที่ได้มีการขอความร่วมมือ ซึ่งทางกอ.รมน.ให้ความร่วมมือตลอด แต่ยังมีความระแวงอยู่

นายกมลศักดิ์ กล่าวต่อว่า ทางผู้ชี้แจงระบุว่าการออกหมายเรียกไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับชุดแต่งกายมลายู หากเป็นกิจจกรรมที่มีนัยยะแอบแฝง มีถ้อยคำที่อาจจะส่อไปในขัดต่อกฎหมาย มีธงสัญลักษณ์ของขบวนการแนวร่วมปฏิวัติมลายูปัตตานี (BRN) ปรากฏอยู่ในกิจกรรม ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน ทั้งนี้ ทางกมธ.เห็นว่าการฟ้องร้องดำเนินคดีไม่อาจนำไปสู่การแก้ปัญหาได้ ควรเจรจาเพื่อหาข้อยุติอย่างสันติ โดยกมธ.จะทำหนังสือข้อเสนอแนะไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีความเป็นห่วงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เพราะการกระทำของเจ้าหน้าที่ ไม่เอื้อต่อกระบวนการสันติภาพ ที่เกิดขึ้นตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี และทางกมธ.มองแล้วว่าการดำเนินการต่างๆ เกรงว่าจะเป็นการได้ไม่คุ้มเสีย ซึ่งทางกมธ.จะเป็นสะพานเชื่อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อร้องเรียนของผู้ร้องต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ณฐพร’ ห่วงบุคลากรกระบวนการยุติธรรม ไม่ทำหน้าที่ตาม รธน.

ดร.ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า  บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ทุกท่านต้องไม่ลืมว่า ท่านมีหน้าที่ตามบทบัญัตติ รัฐธรรมนูญ มาตรา 50 (1)(2)

ไม่รอด! บุก ป.ป.ช. ทวงถาม ‘รมต.ทวี’ หลุดโผเอื้อนักโทษเทวดาชั้น 14

สืบเนื่องจากกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง (ป.ป.ช.) มีมติรับเรื่องไว้พิจารณาและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง

'หมอวรงค์' จวกยับพักโทษคดีโกง เท่ากับร่วมมือกันทำลายประเทศ!

เราต้องยอมรับว่า คดีทุจริตที่เกิดจากนักการเมือง ต้องถือว่าเป็นคดีร้ายแรง พอๆกับคดีค้ายาเสพติด หรือแม้แต่คดีฆ่าข่มขืน เพราะการทุจริตเป็นการทำลายโอกาสของประชาชน มีผลกระทบต่อการ

สว.ปฏิมา กังวลกระบวนการยุติธรรมไทยกำลังถูกสั่นคลอนหนัก!

นายปฏิมา จีระแพทย์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ปัจจุบันนี้ เราต่างทราบดีว่า การรักษาความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศคื