16 ม.ค.2567นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า ปัญหาการร้องเรียนเกี่ยวกับอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ค่อนข้างสูงของสถานพยาบาลเอกชน เป็นปัญหาที่พบการร้องเรียนอยู่เป็นระยะ ซึ่งมักจะเกิดเพราะสถานพยาบาลไม่แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล หรือขาดการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับบริการ ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาความเข้าใจผิด หรือข้อร้องเรียนจากการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล กรม สบส.ขอเน้นย้ำให้โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกทุกแห่ง แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการ และสิทธิของผู้ป่วย ณ จุดบริการให้ผู้รับบริการเห็นได้อย่างให้ชัดเจน พร้อมตั้งจุดบริการให้ประชาชนสอบถามอัตราค่าบริการ ประการสำคัญ บุคลากรของสถานพยาบาล จะต้องสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ป่วย หรือญาติให้ชัดเจน มีการชี้แจงรายละเอียดอย่างตรงไปตรงมา เปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถตรวจสอบอัตราค่ารักษาพยาบาล เช่น แสดง QR Code อัตราค่ารักษาพยาบาลในแต่ละแผนก หรือตั้งจุดสอบถามอัตราค่าบริการ เพื่อช่วยลดความเข้าใจผิด หรือข้อเคลือบแคลงต่ออัตราค่ารักษาพยาบาล และสร้างความเชื่อมั่นต่อสถานพยาบาลไทย
ในกรณี ที่กรม สบส.ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอัตราค่ารักษาพยาบาล ของสถานพยาบาลเอกชน พนักงานเจ้าหน้าที่ จะดำเนินการตรวจสอบในประเด็นการกระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1)โรงพยาบาลมีการแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่นๆและสิทธิของผู้ป่วยให้เห็นชัดเจนที่จุดบริการ และจัดให้มีจุดสอบถามอัตราค่าบริการหรือไม่ 2)โรงพยาบาลเก็บค่ารักษาพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่นๆ เกินกว่าราคาที่แสดงหรือไม่ และ 3)แพทย์ผู้ให้บริการ มีการวินิจฉัยโรคตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่
หากพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ ตรวจพบว่าโรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิกแห่งใดไม่ติดป้ายแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล ยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่นๆและสิทธิของผู้ป่วย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากเรียกเก็บค่ารักษาเกินอัตราที่แสดง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ หากประชาชน พบเห็นสถานพยาบาลเอกชนแห่งใด ไม่จัดแสดงค่าบริการให้ชัดเจน หรือเรียกเก็บค่ารักษาเกินอัตราที่แสดง ณ สถานพยาบาล สามารถแจ้งได้ที่ กรม สบส.หมายเลขโทรศัพท์ 02 193 7000 หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ ในวันและเวลาราชการ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ราชกิจจาฯ เผยแพร่กฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๗
พาณิชย์ยันโรงพยาบาลเอกชน ไม่ขึ้นราคาค่ารักษาพยาบาล
กรมการค้าภายในถกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน หลังมีข่าวปรับขึ้นค่าบริการจากผลกระทบค่าไฟฟ้า ยืนยันพร้อมร่วมมือในการตรึงราคา และไม่มีแผนปรับขึ้นราคา เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับประชาชน
กรม สบส. สั่งแบนโฆษณาโรงพยาบาลเอกชน อวดอ้างแจกยาฟาวิพิราเวียร์
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สั่งระงับโฆษณาโรงพยาบาลเอกชน ย่านบางปะกอก หลังพบเบาะแสมีการอวดอ้างว่าแจกยาฟาวิพิราเวียร์ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ชี้การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ต้องอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ ห้ามแจกจ่ายเอง หากใช้อย่างไม่ระวังสุ่มเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงกับหญิงตั้งครรภ์ หรือการทำงานของตับ
บัญชีกลางปรับอัตราค่ารักษาพยาบาลกลุ่มผู้ป่วยโรคไตวาย
กรมบัญชีกลางปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) (ฉบับที่ 6) เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนจริง
สำนักงานประกันสังคม โดยกองทุนเงินทดแทนคุ้มครองลูกจ้างเนื่องจากการทำงาน
เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ลูกจ้างจะได้รับสิทธิจากกองทุนเงินทดแทนทันทีนับตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานให้นายจ้าง