อาจารย์หมอ ย้ำชัดเป็นสมองเสื่อม รู้เร็วป้องกันชะลอไม่ให้ลุกลามได้

14 ม.ค.2567- ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กหัวข้อ “ต้องรู้เป็นสมองเสื่อมหรือไม่…แต่เนิ่นๆ” ระบุว่า สมองเสื่อมมีหลายยี่ห้อแล้วแต่ชนิดของโปรตีนพิษบิดเกลียว ที่จะมีทางวิ่งไปยังสมองส่วนต่างๆไม่เหมือนกัน ดังนั้นทำให้อาการที่ปรากฏขึ้นนั้น มีความผิดแผกแตกต่างกันได้ แต่ทั้งนี้ กลไกการเกิดและการทำลายสมองนั้นใกล้เคียงหรือเหมือนกัน

ที่ทั่วโลกรู้จักก็คือยี่ห้อ อัลไซเมอร์ และ พาร์กินสัน โดยที่โรคแรกนั้น ปรากฏอาการออกมาในรูปของความจำและดำเนินไปเรื่อยจนสูญเสียความมีเหตุมีผล การตัดสินใจ การพูดจา สื่อสารติดต่อ การทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน และเกิดอารมณ์แปรปรวนต่อเนื่อง ไป จนกระทั่งนอนติดเตียง

พาร์กินสัน นั้นปรากฏอาการออกมาในรูปของการเคลื่อนไหวผิดปกติ เกร็งซีกใดซีกหนึ่งก่อน และลามไปทั้งตัว โดยจะมีสั่นมากหรือน้อยก็แล้วแต่ จนสูญเสียการทรงตัวและจบลงที่นอนติดเตียง ทั้งนี้ทั้งสองโรคนั้นอาจจะเกิดในคนเดียวกันได้ (co-pathology)

การที่ต้องรู้แต่เนิ่น ๆ หมายความว่า รู้ตั้งแต่มีอาการน่าสงสัยแม้แต่จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม รวมทั้งถ้ามีคนในครอบครัวเป็นสมองเสื่อม และจนกระทั่งในปัจจุบัน ปี 2023 ทุกสำนักมีความเห็นตรงกันว่า ยิ่งรู้เร็วตั้งแต่ยังไม่มีอาการใดๆทั้งสิ้น จะได้เปรียบโดยที่ต้องทำการป้องกันชะลอ ไม่ให้ลุกลามไปได้

ทั้งนี้การสู้กับโรค มีได้ทั้งสองแบบก็คือโปรตีนพิษ ยังคงอยู่ในสมอง แต่อาการไม่แสดงออกและยังดูเหมือนเป็นคนปกติอยู่ และในแบบที่สองที่ยิ่งดีใหญ่ ก็คือโปรตีนพิษเหล่านี้ถูกทำลายหรือถูกขับทิ้งออกไปได้ และแน่นอน อาการไม่ปรากฏ การที่ยิ่งรู้เร็วยิ่งดี จะนำไปสู่การปรับตัว มีวินัยอย่างเข้มข้น โดยประกอบไปด้วย การต้องออกกำลัง  ไม่ว่าจะเป็นแบบหนัก แบบคาร์ดิโอ หรือตามสังขารตามอายุ คือเดินเข้าใกล้ 10,000 ก้าว ตากแดด ปรับอาหารเข้าใกล้มังสวิรัติ งดแป้ง ไม่กินเนื้อสัตว์ กินปลาได้ กิจกรรมแลกเปลี่ยน เพื่อฝึกสมองไม่ใช่ไปเล่นเกมส์กด และพบปะสังสรร ผู้คน เป็นต้น

และที่ดีไปกว่านั้นอีก ก็คือมียาที่เริ่มพิสูจน์แล้วว่าสามารถป้องกันการก่อตัวสะสมจนกระทั่งถึง เลาะออกของโปรตีนพิษ ตลอดไปจนกระทั่ง เพิ่มการสร้างเซลล์ใหม่และปรับสภาพการทำงานเชื่อมโยงของสมองพูดภาษาชาวบ้านก็คือเหมือนกับวางระบบสายไฟใหม่ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยมีเครือข่ายโยงใยไม่รกรุงรัง

ยาพื้นบ้านที่เรามีอยู่แล้วมีได้ตั้งแต่ สาร เรสเวอลาทรอล ที่มีการให้ความสนใจตั้งแต่มีการประชุมของสถาบัน ทางวิทยาศาสตร์ นิวยอร์ก (NY Academy of Science) ตั้งแต่ปี 2012 จนถึงปัจจุบัน ยากันชง ที่เป็นการกระตุ้น CB2 และกรดไขมันอิ่มตัวสายกลาง คาร์พริลิค ที่เป็นอาหารให้สมองที่เริ่มใช้กลูโคสไม่ได้แล้ว

กลุ่มยาที่เจ๋งขึ้นไปอีก เป็นยาที่ใช้ในเบาหวานและต่อมาใช้ในการลดน้ำหนัก และมีผลในโรคไขมันเกาะตับ และมีตับอักเสบ (NASH non-alcoholic steatohepatitis) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม glucagon-like peptide-1 (GLP-1) มีหลายตัว เช่น Ozempic Wegovy Mounjaro และอยู่ในการทดสอบในมนุษย์ เข้าสู่ระยะที่สาม และทำโดยทั้งบริษัทเอง และมหาวิทยาลัย Oxford

ทั้งนี้ ข้อมูลก่อนหน้าในสัตว์ทดลองซึ่งทำโดยกลุ่ม Johns Hopkins และตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ รวมทั้งกลุ่มอื่นด้วย ได้แสดงให้เห็นว่าการกระตุ้นตัวรับ

GLP-1 นี้ ให้ผลหลากหลายในการยับยั้งกระบวนการพิษ จาก โปรตีนอมิลอยด์ ทาว และ อัลฟ่า ซินนูคลิอิน ในหนูที่ปรับแต่งพันธุกรรม ให้เป็นโรคแบบมนุษย์ และพบว่าดีขึ้น แต่เมื่อทำการศึกษาในมนุษย์ระยะที่สองในโรคพาร์กินสัน กลับได้ผลไม่ดี ทั้งนี้กลุ่มคณะที่ทำการศึกษาเมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วยังพบว่ายายังสามารถชะลอการทำลายของสมองในคนที่อายุน้อยกว่าและยังไม่มีอาการของโรค ซึ่งพ้องกับ ยิ่งรู้ก่อนยิ่งดี

ทั้งนี้ ตัว GLP-1 นั้น ผลิตจากเซลล์ในลำไส้และมีผลหลากหลายในการควบคุมให้ไม่หิว ปรับการสร้างอินซูลิน และป้องกันการดื้ออินซูลิน และลดการอักเสบในสมอง ในสัตว์ทดลอง กันการเกิดเซลล์แอสโตรเกลียที่เป็นตัวร้าย ที่ผ่านการกระตุ้นจากเซลล์ไมโครเกลีย และกระพือการอักเสบไปใหญ่ รวมทั้งมีการทำลายเซลล์สมอง นิวรอน

ยาพื้นๆ สำหรับโรคสมองเสื่อมอีกตัวคืออินซูลิน ซึ่งกระบวนการให้จะเป็นการพ่นเข้าจมูกโดยเครื่องพ่นพิเศษ เสมือนกับเป็นอนุภาคนาโน ทั้งนี้โดยที่มีการพิสูจน์ว่าทำให้คนไข้ที่มีอาการสมองเสื่อมแล้วดีขึ้นได้และเริ่มเข้าการศึกษาในมนุษย์ระยะที่สาม

ยาอีกตัวที่เหลือเชื่อก็คือยาละลายเสมหะ ambroxol  ซึ่งมีกลไกแบบเดียวกับ resveratrol และยาเบาหวาน metformin และ thiazolidinediones และขมิ้นชัน ให้สมอง มีชีวิตยืนยาวใช้พลังงานอย่างประหยัดมัธยัสถ์และรีไซเคิล หรือ autophagy

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง 'ลิ่มเลือดสีขาว' ไม่เกี่ยวฉีดวัคซีนโควิด

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่อง ลิ่มเลือดสีขาว (White clot) และวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA จากกรณีที่มีการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการพบสิ่งแปลกปลอมซึ่งมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดสีขาว (White clot) ในหลอดเลือดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19

'หมอธีระวัฒน์' เลิกพูดถึงเรื่อง 'white clot' แต่ยังให้ความสำคัญกับผลกระทบของวัคซีน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

'หมอธีระวัฒน์' เปิดรายงานใช้วัคซีนโควิด ส่งผลเส้นเลือดตัน-แตก กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ เกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการใช้วัคซีนโควิด มีเนื้อหาดังนี้