ย้อนเวลาสู่อยุธยา สวด'โอ้เอ้วิหารราย'

การสวดโอ้เอ้วิหารราย เป็นบทสวดที่ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการอ่านกาพย์พระไชยสุริยาที่นำมาจากหนังสือมูลบทบรรพกิจ เป็นตำราเรียนขั้นปฐมภูมิของเด็กสมัยโบราณ ช่วยในการอ่านออกเสียงและผันวรรณยุกต์  เมื่อมีการขยายโครงการฝึกหัดสวดโอ้เอ้วิหารรายให้กับครูและนักเรียนในส่วนภูมิภาคขึ้นเป็นครั้งแรก กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม  คัดเลือก จ.พระนครศรีอยุธยา ให้เป็นตัวแทนภาคกลาง จัดอบรมวัยทีนเมืองเก่าสวดโอเอ้วิหารราย   ระหว่างวันที่ 10-11 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ณ วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา ตลอด 2 วัน วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมศิลปากรและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ซึ่งล้วนเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญการสวดโอ้เอ้วิหารรายมาบรรยายให้ความรู้และให้คำแนะนำแก่น้องๆ ผู้เข้ารับการอบรมอย่างใกล้ชิด

นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวว่า กรมการศาสนา ให้ความสำคัญการสวดโอ้เอ้วิหารราย จัดโครงการฝึกหัดสวดโอ้เอ้วิหารรายให้กับครูและนักเรียน ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ปัจจุบันมีสถานศึกษาจำนวนมากให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุกปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กรมการศาสนาได้จัดโครงการอบรมฝึกหัดสวดโอ้เอ้วิหารรายให้แก่เยาวชนในส่วนภูมิภาค มีการจัดทำหลักสูตรและเตรียมความพร้อมให้กับครูผู้ฝึกสอนและนักเรียน รวมทั้งผลิตเอกสารและสื่อสำหรับใช้ในการฝึกหัดสวดโอ้เอ้วิหารราย  ซึ่งกำหนดจัด 3 ภูมิภาค ภูมิภาคละ 150 คน  ครั้งที่ 1 ภาคกลาง จัดอบรมที่วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 17 – 18 ม.ค. ณ วัดกลาง จ.บุรีรัมย์ ครั้งที่ 3 ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 24 – 25 ม.ค. ณ วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช การอบรมทุกครั้งยังสามารถเข้ารับการอบรมผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ZOOM) ได้  500 คน เพื่อให้ครูอาจารย์ นักเรียนและนักศึกษา ในจังหวัดใกล้เคียงได้ฝึกซ้อมไปพร้อมกันทั่วประเทศอีกด้วย

“ การอบรมสวดโอเอ้วิหารรายที่อยุธยา นอกจากครูและนักเรียนแล้ว ยังเชิญวัดสำคัญในอยุธยาเข้าร่วมโครงการ  เป็นวัดเก่าแก่เคยสวดโอเอ้วิหารรายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่น วัดมงคลบพิตรฯ วัดมหาธาตุ วัดมเหยงคณ์ เหมือนได้ย้อนเวลาสู่ยุคอยุธยา   เป็นการขยายโอกาสและเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย  ทั้งยังเพิ่มทักษะความรู้ความสามารถของผู้สนใจให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยฝึกหัดและปรับพื้นฐานให้เยาวชนสามารถสวดโอ้เอ้วิหารรายได้ถูกต้องตามแบบและอักขรวิธี สวดโอ้เอ้วิหารรายมีทั้งทำนองกาพย์ยานี 11 ทำนองกาพย์ฉบัง 16 ทำนองกาพย์สุรางคนางค์ 28  เป็นการอนุรักษ์และสืบทอดการสวดโอ้เอ้วิหารรายที่ถูกต้องตามโบราณราชประเพณีให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย  สืบไป “ นายชัยพล กล่าว

สำหรับโครงการฝึกหัดสวดโอ้เอ้วิหารรายเป็นแบบอย่างการทำงานแบบบูรณาการและประสานระหว่างกรมการศาสนากับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา อาทิ สำนักพระราชวัง กรมศิลปากร วิทยาลัยนาฏศิลป กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  เพื่อฝึกหัดและจัดหานักเรียนเข้าไปร่วมสวดโอ้เอ้วิหารราย ณ ศาลารายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของทุกๆ ปี  โดยการสวดโอ้เอ้วิหารราย เป็นการสวดเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ช่วงเข้าพรรษา กลางพรรษา และออกพรรษา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระราชินี จะเสด็จฯ ไปประกอบพิธีทางศาสนา ถือเป็นธรรมเนียมวัฒนธรรมไทยที่มีมายาวนาน

สำหรับสถานศึกษาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่ผ่านการอบรมฯ สามารถเข้าร่วมการประกวดสวดโอ้เอ้วิหารราย ระหว่างวันที่ 1 – 15 ก.พ. 2567 และจัดประกวดรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ ระหว่างวันที่ 16 – 17 มี.ค.2567 ณ อาคารหอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อคัดเลือกสถานศึกษาเข้ารับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วันอาสาฬหบูชา' เปิดพื้นที่อนุรักษ์วิถีแห่งศรัทธา

วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีนี้ ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2567  ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสน อาสาฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่ 4 ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย มักตรงกับเดือน ก.ค. หรือ

ศรัทธาพุทธศาสนาในเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์

เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ 67 พรรษา วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีด้วยการบำเพ็ญคุณงามความดีถวายพระกุศล

เจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติกรมพระศรีสวางควัฒนฯ ที่วัดป่าบ้านตาด

28 มิ.ย.2567 ที่ศาลาใหญ่ วัดเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี พระราชวชิรธรรมาจารย์ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดเกสรศีลคุณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็

'ตักบาตรหาบจังหัน' วิถีงดงามบ้านหาดสองแคว

ประเพณีตักบาตรหาบจังหัน เป็นวัฒนธรรมประเพณีชาวบ้านหาดสองแคว จ.อุตรดิตถ์ หรือชาวไทยเชื้อสายลาวเวียงที่อาศัยอยู่ในหาดสองแคว ที่พบเห็นได้ยามเช้าของทุกวันที่ชาวบ้านออกมารอใส่บาตรพระ ด้วยชุมชนแห่งนี้ผูกพันกับวัด คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติและสืบทอดกันมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น 

ตั้ง4คณะอนุกรรมการ เร่งทำข้อมูลเสนอ'ครูบาศรีวิชัย'ต่อยูเนสโก

18 มิ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า  ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการเสนอวาระครบรอบ 150 ปี ชาตกาล ครูบาเจ้าศรีวิชัย เพื่อให้องค์การยูเนสโกรับรองและร่วมเฉลิมฉลอง ครั้งที่ 1/2567

อัศจรรย์! สามเณร 8 ขวบ สอบผ่าน 'ปาติโมกข์' ใช้เวลาเพียง 55 นาที

เพจเฟซบุ๊ก "โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์-วัดตะโก" ได้โพสต์แสดงความยินดีกับ "สามเณรกานต์กวินต์ ธานีวรรณ" อายุเพียง 8 ขวบ ซึ่งได้สอบผ่านโครงการนี้ โดยใช้เวลาในการสอบรวม 55 นาที