โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้มากในเพศหญิงตั้งแต่วัยสาวถึงวัยชรา และพบมากเป็นอันดับ 5 ของโรคมะเร็งในผู้หญิงไทย แต่ในขณะเดียวกันมะเร็งชนิดนี้มีแนวทางในการป้องกันได้ถึงร้อยละ 80 หากได้รับการตรวจคัดกรองหาเชื้อเอชพีวี (HPV) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ
ปัจจุบันภาครัฐจึงบูรณาการความร่วมมือกับภาคเอกชนในการรณรงค์ให้สตรีกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการตรวจคัดกรองหาเชื้อ เอชพีวี ด้วยการเพิ่มทางเลือกการคัดกรองแบบเก็บตัวอย่างด้วยตนเอง คือ “HPV DNA Self-sampling หรือ HPV DNA Test ” ทำให้สามารถเก็บตัวอย่างได้ด้วยตนเอง เพื่อแก้ปัญหาการอายแพทย์ กลัวการขึ้นขาหยั่ง กลัวเจ็บ ในโอกาสที่เดือนมกราคม เป็นเดือนที่องค์การด้านโรคมะเร็งทั่วโลก พร้อมใจกันรณรงค์ต้านภัยมะเร็งปากมดลูก เพื่อรณรงค์ให้สตรีตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองฯ ตลอดจนสนับสนุนภาครัฐในการแสวงหาหนทางเพื่อพัฒนาการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างต่อเนื่อง ตามเป้าหมายกำจัดมะเร็งปากมดลูกให้เป็นศูนย์ในที่สุด
ทาง บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้จัดงานเสวนาย่อย ในหัวข้อภาพรวมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบเก็บตัวอย่างด้วยตนเอง “HPV DNA Self-Sampling กับก้าวต่อไปในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี” โดย รศ.นพ.วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.นพ.วิชัย กล่าวว่า เดิมมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งอันดับที่ 1 ในผู้หญิงมานานมาก จนกระทั่งในปัจจุบันมะเร็งเต้านมได้ขึ้นแท่นเป็นอันดับที่ 1 แทน โดยมะเร็งเต้านมมีผู้ป่วยรายใหม่ 22,000 รายต่อปี มีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ย 8,000 คน ส่วนมะเร็งปากมดลูกมีผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยอยู่ที่ 9,000 รายต่อปี หรือประมาณ 25 คนต่อวัน และมีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 50 หรือเสียชีวิต 13 คนต่อวัน ซึ่งมีเฉลี่ยแล้วมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มการเสียชีวิตสูงกว่ามะเร็งเต้านม และเมื่อเทียบกับต่างประเทศ อัตราการเป็นมะเร็งปากมดลูกอันจะอยู่รั้งท้ายหรือแทบไม่ค่อยพบแล้ว
รศ.นพ.วิชัย อธิบายว่า มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งมีหลายสายพันธุ์โดยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดมะเร็งหลักๆ มีทั้งหมด 14 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่เป็นผู้ร้ายตัวจริงคือ สายพันธุ์ที่ 16 และ 18 เป็นสาเหตุก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกถึง 70% ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในกลุ่มสตรีอายุน้อยระหว่าง 30-40 ปี ดังนั้นใครก็ตามหากมีการตรวจหาเชื้อ HPV โอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกจะมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ติดเชื้อ HPV ถึง 35 เท่า ทั้งนี้การติดเชื้อไวรัสตัวนี้อาจจะพบได้ตามสุขภัณฑ์ชักโครก ราวบันได กลอนประตู แต่ไม่ต้องกังวลหากมีการทำความสะอาดมือเป็นประจำ แต่โอกาสที่จะพบการติดเชื้อได้สูงถึงร้อยละ99 คือ การมีเพศสัมพันธ์ และผู้ชายก็สามารถติดเชื้อไวรัสตัวนี้และก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน เอาทิ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งองคชาต มะเร็งคอหอย ซึ่งมะเร็งที่คอเกิดจากการออรัลเซ็กส์ ในการมีเพศสัมพันธ์จึงควรสวมถุงยางอนามัย
“สำหรับระยะเวลาจากเชื้อไวรัสจนพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งปาดมดลูกใช้เวลาประมาณ 10-15 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาการฟักตัวของเซลล์อย่างช้าๆ และในระยะแรกมักจะไม่พบอาการใดๆ ดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่ดีในการตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันไว้ก่อน เพราะมะเร็งชนิดนี้ถือเป็น 1 ใน 2 มะเร็งที่สามารถป้องกันได้ โดยการฉีควัคซีน HPV ซึ่งในประเทศไทยมีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ 2 สายพันธุ์, 4 สายพันธุ์ และ 9 สายพันธุ์ โดยต้องฉีดให้ครบทั้ง 3 โดส ในเว้นระยะห่างจากโดสแรก เพื่อฉีดโดสที่ 2 ประมาณ 2 เดือน และฉีดโดสที่ 3 ในเดือนที่ 6 หลังจากฉีดโดสที่ 2 ซึ่งประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันมีระยะเวลาถึง 20-30 ปี” รศ.นพ.วิชัย กล่าว
อีกแนวทางในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุดคือการตรวจคัดกรอง รศ.นพ.วิชัย กล่าวว่า ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมี 2 วิธีคือ 1.การตรวจแบบ PAP Smear เป็นการตรวจด้วยวิธีทางเซลล์วิทยา โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างบริเวณปากลดลูก เพื่อส่งตรวจสอบต่อในห้องปฏิบัติการณ์ และต้องมีการตรวจเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีความแม่นยำ 50-60% และความไวในการตรวจเจอโรค 53% เมื่อมีการตรวจแบบ HPV DNA Test เป็นการใช้เทคโนโลยีใหม่ในการตรวจถึงระดับ DNA เพื่อหาเชื้อ HPV ชนิดความเสี่ยงสูง คือ สายพันธุ์ที่ 16 และ 18 เพื่อหาความเสี่ยงโรคมะเร็ง หรือ ภาวะก่อนเป็นมะเร็ง โดยผู้ที่ต้องการตรวจสามารถทำได้ด้วยตนเอง เพียงสอดไม้สวอปเข้าไปในช่องคลอดให้ลึก หมุนไม้สวอปประมาณ 10-30 วินาที และเก็บเข้าใส่ในหลอดตัวอย่าง คล้ายกับวิธีการตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วยการสวอปผ่านจมูก และตรวจต่อเนื่องทุกๆ 5 ปี
“วิธีนี้พบว่ามีความแม่นยำถึง 96% และมีความไวในการตรวจเจอโรค 92% ข้อควรระวัง คือ ต้องไม่มีการตรวจภายในมาก่อนในช่วง 24 ชม. ไม่มีการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือยาที่ใช้ทางช่องคลอด ห้ามล้างหรือทำความสะอาดช่องคลอดและงดการมีเพศสัมพันธ์ภายใน 48 ชม. ไม่ควรตรวจช่วงมีประจำเดือน ซึ่งในโรงพยาบาลเอกชนก็มีการนำทั้ง 2 วิธีมาใช้ตรวจรร่วมกันซึ่งจะทำให้มีความแม่นยำถึง 100% แต่เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจเจอโรค ใช้วิธีการตรวจแบบ HPV DNA Test ก็เพียงพอแล้ว” รศ.นพ.วิชัย ยืนยันประสิทธิภาพของ HPV DNA Test
ทั้งนี้จากสถิติการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทยเมื่อปี พ.ศ.2563-2565 พบว่า การตรวจคัดกรองโดยแพทย์แล้วกว่า 5 ล้านคน ตรวจพบสายพันธุ์ 16 และ 18 เฉลี่ย 1.5% สายพันธุ์อื่นๆ 4.6% ส่วนการตรวจด้วยตนเองแบบ HPV DNA Test ไปกว่า 80,000 คน ตรวจพบสายพันธุ์ 16 และ 18 เฉลี่ย 1.5% สายพันธุ์อื่นๆ 4.7% ซึ่งในปีนี้มีอัตราการตรวจด้วยตนเองเพิ่มขึ้นกว่า 200,000-300,000 คน ดังนั้นเมื่อตรวจเจอเชื้อ HPV ก่อน ก็มีโอกาสที่รักษาหายเพราะร่างกายภูมิคุ้มกันจากวัคซีน และหากพบว่าเป็นเร็งปากมดลูกในระยะที่ 1 ได้ไว ก็มีโอกาสจะรักษาหาย 100% แต่หากพบว่าเป็นระยะที่ 2-4 ไปแล้วโอกาสหายขาดก็จะน้อย
โดยทางองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้มีการรณรงค์ลดมะเร็งปากมดลูกในสตรี มีการกำหนดเป้าหมายว่าในปี พ.ศ. 2573 จะต้องมีเด็กอายุ 15 ปี ต้องเข้าการฉีดวัคซีน HPV ให้ได้ถึง 90% โดยวัคซีน HPV สามารถที่จะฉีดได้ตั้งแต่ 9 ขวบ จนถึงอายุ 55 ปี และผู้ชายก็สามารถฉีดได้ ส่วนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 70% และผู้หญิงที่เสียงเป็นมะเร็งปากมดลูกต้องได้รับการรักษา 90%
สำหรับประเทศไทยได้มีการรณรงค์คัดกรองมะเร็งปากมดลูกไปแล้วประมาณ 50% โดยสตรีอายุ 30-60 ปี ตรวจได้ฟรี และปัจจุบันฉีดวัคซีน HPV ไปเพียง 12% ซึ่งในประเทศไทยเด็กอายุระหว่าง 11-12 ปีฉีดฟรี ดังนั้นคาดว่าจะทำตามเป้าหมายของ WHO ได้ดีขึ้น ทั้งนี้การคัดกรองและฉีดวัคซีน ผู้ที่ไม่เข้าหลัดตามสิทธิ อาจจะต้องตรวจสอบสิทธิในส่วนค่าใช้จ่ายตามสิทธิ์การรักษาจากรัฐของสตรีแต่ละท่าน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นับหนึ่ง..กาสิโน | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2568
'หมอยง' เปิดข้อมูลไข้หวัด hMPV ระบาดในไทย เทียบกับปีก่อน
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
เปิดลึก ม.69 ทะเลไทยต้องไม่พินาศ!! | ห้องข่าวไทยโพสต์สุดสัปดาห์
เปิดลึก ม.69 ทะเลไทยต้องไม่พินาศ!! | ห้องข่าวไทยโพสต์สุดสัปดาห์
เปลี่ยน เพื่อ...เปลี่ยน!? | จับจ้องมองโลก..อิสรา สุนทรวัฒน์
เปลี่ยน เพื่อ...เปลี่ยน!? จับจ้องมองโลก..อิสรา สุนทรวัฒน์ : วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม 2568