รัฐหนุนธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล ผ่านโครงการ d-startup พาธุรกิจไทยเติบโตไกลสู่ระดับโลก

6 ม.ค.2667 - นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลมุ่งวางรากฐานอุตสาหกรรมดิจิทัลให้ประเทศ รองรับการเติบโตของเทคโนโลยีในอนาคต โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการและรูปแบบ เพื่อพัฒนาไปสู่นวัตกรรมสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ได้จัดทำโครงการ d-startup ระยะเริ่มต้น (Early Stage) S2 “พาธุรกิจไทย เติบโตไกลสู่ระดับโลก” ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เปิดรับสมัครบุคคลหรือนิติบุคคลเพื่อขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล พร้อมผลักดัน Digital Startup ของไทยให้มีศักยภาพการเติบโตเชิงธุรกิจ ครอบคลุมสายงานต่าง ๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 8 สาขา ได้แก่ บริการภาครัฐ สุขภาพ ท่องเที่ยว การเกษตร การศึกษา การบริการ การเงิน และ เมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ที่ผ่านมา ดีป้าส่งเสริมธุรกิจ Digital Startup ของไทยแล้วจำนวน 160 ธุรกิจ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 15,000 ล้านบาท โดยในปี 2567 นี้ โครงการดังกล่าวดำเนินการภายใต้มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (depa Digital Startup Fund) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดผลิตภัณฑ์หรือบริการดิจิทัลสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ ซึ่งดีป้าจะเป็นผู้พิจารณาผ่านกลไกสนับสนุนในรูปแบบ Angel Fund โดยกำหนดคุณสมบัติหลัก ดังนี้ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทจำกัด ที่จดทะเบียนจัดตั้งไม่เกิน 3 ปี ซึ่งประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดิจิทัลตามเป้าหมาย 8 สาขา ได้แก่ บริการภาครัฐ สุขภาพ ท่องเที่ยว การเกษตร การศึกษา การบริการ การเงิน และ เมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน วงเงินสนับสนุน สูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท ต่อโครงการ โดยกำหนดเป้าหมายที่จำนวน 15 โครงการ

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อพิจารณาขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านระบบออนไลน์ที่ member.depa.or.th และศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.depa.or.th/startup หรือ [email protected] เบอร์โทรศัพท์ 0 2026 2333 ต่อ 1128 1272 หรือ 1025 โดยสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567

“นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ย้ำถึงการสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพ และให้ความสำคัญกับธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัลของไทย ภาครัฐพร้อมสร้างพื้นที่ และโอกาสเพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงการสนับสนุนหรือแหล่งเงินทุนได้ โดยนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นในศักยภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ของสตาร์ทอัพไทย เชื่อว่าการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจและสังคม และสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ สร้างแต้มต่อของขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ในอนาคต” นายชัย กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทีมโทรโข่งรัฐบาล ติวเข้มโฆษกกระทรวงส่ง 'ข่าวดี' ทุกสัปดาห์ เร่งตีปี๊บผลงาน 3 เดือน

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายคารม พลพรกลาง นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ครม. ตั้ง 'บิ๊กรอย' นั่งที่ปรึกษาภูมิธรรม 'คารม-ศศิกานต์' รองโฆษกรัฐบาล

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1.พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและรมว.กลาโหม

จับตา! ครม.ได้ฤกษ์ตั้ง ขรก.การเมืองล็อตใหญ่ ‘จิรายุ’ โฆษกรบ. ’คารม-ศศิกานต์’ รองฯ

เลขาฯนายกฯเผยตรวจสอบคุณสมบัติ ขรก.การเมืองเสร็จส่วนหนึ่งแล้ว เชื่อว่าจะสามารถนำรายชื่อเสนอในการประชุมครม.วันที่ 1 ต.ค.พิจารณาแต่งตั้งได้เป็นส่วนใหญ่ตามที่ได้เสนอชื่อมา

'จิรายุ' แจงครม.ยังไม่เคาะตั้งข้าราชการการเมือง นายกฯกำชับตรวจคุณสมบัติ

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะมนตรี (ครม.) ว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในการแต่งตั้งข้าราชการเมือง โดย 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมาไม่สามารถนำรายชื่อเข้าที่ประชุมครม.ได้ เนื่องจากนายกฯได้สั่งการสืบเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวข้องกับมาตรฐานจริยธรรม รวมทั้งระเบียบพ.ร.บ.

ครม.ยังไม่แต่งตั้งข้าราชการการเมือง-ทีมโฆษกรัฐบาล รอตรวจสอบคุณสมบัติเข้มข้น

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า วันนี้ไม่ได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการการเมือง ซึ่งส่งมา 40 – 50 คน เพราะต้องกลั่นกรองให้เรียบร้อย