คนเราเมื่ออายุมากขึ้น ค่าแรงบีบจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ในผู้สูงอายุมากกว่า 1ใน 3 มีค่าเฉลี่ยแรงบีบมือต่ำกว่าเกณฑ์ทั้งชายและหญิง โดยแรงบีบมือจะลดลงเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งพบว่าเมื่อค่าแรงบีบความแข็งแรงของมือลดลง ทุกๆ5 กิโลกรัม จะเพิ่้มอัตราการตายโดยรวม 16% เพิ่มอัตราการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 17% ดังนั้น การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของมือ จึงมีความสำคัญอย่างมาก
แต่ในปัจจุบัน อุปกรณ์ฝึกแรงบีบมือในท้องตลาดมี 2ระบบ คือ ระบบสปริงขดแบบดึงอันเดียว มีลักษณะคล้ายตะเกรียบ ค่าความหนักคงที่ของแรงบีบมือ แต่ละครั้งอยู่ที่ 10-15 กก.เมื่อออกแนรรงบีบขาจับเข้าหากันเพื่อยืดสปริง เกิดแรงกดลงมาที่บริเวณง่ามนิ้ว ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วขี้มาก จนอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย
อีกแบบเป็นระบบสปริงขดแบบกดเมื่อออกแรงกดสปริง น้ำหนักจะกดลงไปที่ฝ่ามือโดยตรง ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บมือได้ง่าย และไม่สามารถบอกค่าความหนักคงที่ของแรงบีบมือในแต่ละครั้งได้
ในขณะที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับคำแนะนำให้ฝึกแรงบีบมือค่าความหนักแต่ละครั้งแของแรงบีบมือได้น้อยกว่า 10 กิโลกรัม จึงได้รับคำแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ เช่น ผ้าขนหนูนำมาบิดไป-บิดกลับ หรือฝึกกำลูกบอลที่มีขนาดพอดีฝ่ามือ หรือใช้วิธีบีบดินน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าว ไม่สามารถบอกค่าความหนักคงที่ของแรงบีบมือแต่ละครั้งได้ ทำให้การฝึกแรงบีบมือไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะบ่งชี้ว่าสามารถเพิ่มความแข็งแรงของแรงบีบมือได้
Manugrip เป็นอุปกรณ์บีบมือ/คลายมือใช้ในการออกกำลังกาย โดยใช้แรงต้านแบบเกร็งค้างด้วยมือ คิดค้นและพัฒนาโดย ดร.สุณี สุวรรณพสุ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญพิเศษ รพ.จุฬาลงกรณ์ ซึ่งใช้เวลากว่า5 ปี ในการศึกษาจนได้อุปกรณ์ ต้นแบบและได้รับรางวัลระดับนานาชาติ ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการ ( CMICe) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับบริษัทดีไซน์เทค จำกัด
แนวคิดการพัฒนาอุปกรณ์นี้มาจากเครื่องวัดแรงบีบมือ Dynamometer และการใช้แรงต้านจากสปริงขดแบบดึงคู่ ประกอบด้วยแกนยึด แกนบีบ และแกนจับ ที่ออกแบบให้ม่ีขนาด รูปร่าง และผิวสัมผัสเหมาะสมกับฝ่ามือ ซึ่งทำมาจากพลาสติกชนิดพอลิสไตรีน หรือ PS มีความแข็งแกร่งไม่เปราะง่าย ไม่ดูดความชื้นและน้ำ และไม่มีกลิ่น ถูกจัดวางในแนวเดียวกันและมีระยะห่าง ระหว่างกันที่ได้กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดแรงสูงสุดในการบีบค้างไว้ โดยปลายแต่ละด้านของแกนถูกสปริงขดแบบดึงสองชั้น ทำให้มีการการะจายแรงที่กดลงมาที่บริเวณฝ่ามือลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บที่มือได้มาก โดยสปริงขดแบบดึงคู่นี้ ทำจากสเตนเลสคุณภาพสูง แรงบีบมี 3ความหนัก คงที่จากแรงสปริงที่ได้รับรองจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้แก่ ระดับมาก คือ 9 กิโลกกรัมแรง แรงระดับปานกลาง 6กิโลกรัมแรง และระดับน้อย 3 กิโลกรัมแรง สามารถเลือกให้เหมาะสมแต่ละคน
ผลต่อสุขภาพ Manugrip ถือว่าเป็นการฝึกแรงต้านแบบเกร็งค้างด้วยมือ (isometic handgrip exercise)ในลักษณะการเกร็งกล้ามเนื้อต่อสู้กับแรงต้านทานด้วยแรงหนืดของสปริงพร้อมกัน และคลายมือทำให้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงดังนี้
1.ขนาดของเส้นใยกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น 2.ความแข็งแรงของเส้นใยกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น 3.ช่วยป้องกันการเสื่อมสลายของกล้ามเนื้อ 4.ความแข็งแรงและความหนาแน่นของกระดูกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนบน ส่งผลให้การทรงตัวดีขึ้น
นอกจากนี้ เวลาที่เรากำมือแน่นๆ และเกร็งไว้จะทำให้กล้ามเนื้อแขนบีบเส้นเลือดไปพร้อมกันด้วย พอเราคลายมือออกทำให้เส้นเลือดคลายตัวทันที ในจังหวะนั้น จะทำให้เซลล์เยื่อบุเส้นเลือดหลั่งสารไนตริกออกไซด์ออกมา ซึ่งสารนี้จะทำให้เส้นเลือดขยายตัว ส่งผลต่อการลดความดันโลหิตได้ และยังช่วยรีดเลือดจากเส้นเลือดดำในกล้ามเนื้อแขนกลับไป ยังไหล่ ทรวงอก และหัวใจตามลำดับ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น
งานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายโดยใช้แรงต้านแบบเกร็งค้างด้วยมือที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการเกร็งค้างไว้ 2นาที(นับ1-20)พัก 1นาที ทำข้างละ 2รอบ นับเป็น 1 เซ็ต ทำวันละอย่างน้อย 2เซ็ต ต่อเนื่องอย่างน้อย 3สัปดาห์ สามารถลดความดันโลหิตในกลุ่มความดันโลหิตสูงขั้นต้นได้
สำหรับคนทั่วไปเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการบีบค้างแล้วนับ1-20 แล้วคลาย สามารถทำได้บ่อยๆ แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ เช่น เป้าหมายบีบค้างไว้ 1นาที พัก1 นาที ทำข้างละ 4 รอบ นับเป็น 1เซ็ต ทำวันละ 2เซ็ต หรือ เป้าหมายบีบค้างไว้ 2 นาที แล้วพัก 1นาที ทำข้างละ 2รอบ นับเป็น 1เซ็ต ทำวันละ 2เซ็ต เป็นต้น
แต่สำหรับผู้มีอาการเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ การบีบและคลายมือด้วย Manugrip น้ำหนัก 3กิโลกรัมแรง ทำวันละ3-4 ครั้ง สามารถช่วยบรรเทาอาการเอ็นอักเสบของนิ้วหัวแม่มือได้ .
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไม่ไกลเกินเอื้อม! พิชิต 'สมองเสื่อม' ด้วย 'ยาแก้ไอ'
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า พิชิตสมองเสื่อมด้วยยาแก้ไอ
'หมอธีระวัฒน์' เผยข้อมูลติดเชื้อซ้ำ ยิ่งมีอาการหนัก ลองโควิดยืดยาวขึ้น แม้วัคซีนเต็มแขน
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ยิ่งติดซ้ำ ยิ่งหนักขึ้นในภายหลัง แม้ว่าจะได้วัคซีนเต็มเหนี่ยวแล้วก็ตาม
หมอจุฬาฯ เผยอาการผู้ป่วยโควิดที่พบมากขึ้นในช่วงนี้ รพ.เริ่มแน่นขึ้น แต่คนไข้หนักไม่เพิ่ม
ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Opass Putcharoen กล่าวถึงโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ว่า ขณะนี้กำลังเพิ่มขึ้นปนกับสายพันธุ์อื่นที่ระบาดก่อนหน้านี้