สกุลช่าง'จ่าทวี' Soft power พิษณุโลก

การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในแต่ละจังหวัด ถือเป็นเครื่องมือสำคัญส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมนอกห้องเรียน หากใครมาเยือนจ.พิษณุโลก แล้วไม่ได้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี ถือว่ามาไม่ถึงเมืองสองแคว ล่าสุด กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดงานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ บ้านจ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมและศิลปาจารย์ ภายใต้ชื่องาน “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี บูรณเขตต์ แหล่งเผยแพร่งานศิลป์ ถิ่นเมืองสองแคว”  โอกาสนี้ นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดี สวธ. เป็นประธาน และมอบโล่และเข็มยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปาจารย์ ประจำปี  2565 ให้แก่ จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์  ณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี  จ.พิษณุโลก  พร้อมการแสดงพื้นบ้าน ’มังคละเภรีศรีสองแคว’ อัตลักษณ์จังหวัดพิษณุโลกอันเป็นมงคล ซึ่งขึ้นทะเบีบนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ในวันเปิดงาน ปัจจุบันสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลกจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละใน  9 อำเภอของจังหวัด งานนี้ จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ วัย 92 ปี เจ้าบ้านต้อนรับผู้มาเยือนอย่างอบอุ่น

นายพชรเสฏฐ์ บุญศิริสาริศา รองผู้ว่าฯ พิษณุโลก กล่าวว่า  เป็นที่ทราบกันดีว่า  จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ เป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี จากความชื่นชอบและหลงไหลในภูมิปัญญา เครื่องมือเครื่องใช้เก่าๆ นำเงินจากการสะสมจากการทำงานรับราชการไปซื้อสิ่งของในชีวิตประจำวันและภาพถ่ายเก่า จนกระทั่งปี 2526 เกิดเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีขึ้นมา รวบรวมองค์ความรู้ประวัติศาสตร์พื้นถิ่นของพิษณุโลก และภาคเหนือตอนล่าง เพื่อถ่ายทอดให้เห็นถึงเรื่องราวในห้วงเวลาต่างๆของพิษณุโลก สะท้อนรากเหง้าความเป็นไทยและแสดงถึงวัฒนธรรมดีงามที่บรรพบุรุษสร้างไว้ เป็นความภาคภูมิใจของชาวพิษณุโลกและชาวไทย จนได้รับการยกย่องเป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม สาขาช่างหล่อ และศิลปาจารย์คนแรกของประเทศ ปัจจุบันจ่าสิบเอกทวียังสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง

นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจัดงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี บูรณเขตต์ ให้เป็นอีก 1 แหล่งเรียนรู้ 1 ลานสร้างสรรค์ของจังหวัดพิษณุโลก ในการอนุรักษ์ สืบสาน  และเผยแพร่องค์ความรู้เป็นภูมิปัญญาของจ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมและศิลปาจารย์ ผู้ริเริ่มบุกเบิกการปั้นหล่อองค์พระพุทธชินราชจำลองมีเทคนิควิธีการเฉพาะตัวที่เรียกว่า “สกุลช่างจ่าทวี” ให้แก่นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ครูอาจารย์ ศิลปิน และประชาชนที่จะสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ในงานช่างในแบบฉบับของตนเองขึ้นมา

“ สกุลช่างจ่าทวี ถือเป็นอีกหนึ่ง  Soft Power พลังขับเคลื่อนของสาขาศิลปะตามยุทธศาสตร์ Soft Power แห่งชาติ และนำเสนอให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คนทั่วโลกในมิติด้านวัฒนธรรมไทย สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจฐานรากด้วยทุนทางวัฒนธรรม ในพื้นที่ชุมชนและจังหวัดพิษณุโลก ตามแนวทาง 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ตามแนวทางรัฐบาล งานยังเป็นส่วนหนึ่งพัฒนาพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งนี้สู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน สามารถรองรับนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ สร้างงาน สร้างอาชีพให้ชุมชน สามารถพึ่งพาตัวเอง “ นางสาววราพรรณ กล่าว

โอกาสนี้ จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ ศิลปาจารย์  และนายธรรมสถิตย์ บูรณเขตต์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี ได้นำรองอธิบดี สวธ.  พร้อมคณะ เข้าเยี่ยมหอศิลปาจารย์ และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน แหล่งเรียนรู้นี้ ประกอบด้วยอาคาร 5 หลัง เป็นที่รวบรวมและจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้หลากหลายชนิด มีสิ่งของมากกว่า 10,000 ชิ้น เป็นเสมือนแหล่งวิทยาการพื้นบ้าน แหล่งรวบรวมความรู้ แสดงถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยโบราณ แสดงงานหัตถกรรมและศิลปหัตถกรรม เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร เครื่องมือช่าง เครื่องจับ-ดักสัตว์บก เครื่องเขิน เครื่องหวาย เครื่องเงิน เครื่องสังคโลก เป็นต้น รวมถึงงานปั้นหล่อองค์พระพุทธชินราชจำลอง  การสร้างงานพระพุทธชินราชจำลองรุ่นต่างๆ ซึ่งจ่าสิบเอกทวี ถือว่าพระพุทธชินราชเป็นครู  ส่วนคุณธรรมที่ยึดถือมาตลอด คือ ความซื่อสัตย์สุจริตการสร้างพระตามจำนวนเท่านั้น สำหรับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี

นายธรรมสถิตย์ บูรณเขตต์ ผอ.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี บุตรชายจ่าทวี กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัย สกุลช่างจ่าทวียังคงเอกลักษณ์แบบโบราณ ประกอบด้วยช่อฟ้า เกศ จมูก เส้นสังคติ และข้อพระบาท จะเป็นเส้นตรง เป็นความโดดเด่นชองสกุลช่างจ่าทวี  ผลงานมีความประณีต และพัฒนางานขึ้นตามนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น การพ่นเคลือบทองพีวีดี องค์พระเป็นทองคำ ด้านในเป็นทองเหลือง ตลอดจนเทคนิคการสร้างงานแบบสามกษัตริย์ เงิน ทอง นาค  ถือเป็นการสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์ ผลงานที่จัดแสดงในอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นองค์ความรู้ของไทย  พิพิธภัณฑ์เปิดต้อนรับทุกคนมาเรียนรู้สกุลช่างจ่าทวีและรากเหง้าของจังหวัดพิษณุโลก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แม่ค้าไส้กรอก ต่อยอดเงินหมื่น ลงทุนซื้อรถพ่วงข้าง ออกขายได้ไกล รายได้มากขึ้น

นางสมคิด  จันทร์ศรี อายุ 66ปี ชาวบ้านอ.ด่านซ้าย จ.เลยมาประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและขายไส้กรอกในจ.พิษณุโลกได้หลายปีแล้ว แต่ปัจจุบันได้ยึดอาชีพ ขายไส้กรอกย่าง ออกแต่เวรขาย

'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก

“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น  สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง  ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ 

CP LAND รุกโครงการบ้านเดี่ยว ส่ง SŌLVANI ปูพรมภาคกลาง พิษณุโลก – นครสวรรค์ จับตลาดบน

CP LAND บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทย เดินหน้าสานต่อบุกตลาดบ้านเดี่ยวระดับพรีเมียมโซนภาคกลาง พิษณุโลก-นครสวรรค์

ทุ่งบางระกำ รับน้ำเหนือจากสุโขทัย เข้าทุ่งกักเก็บแล้ว 143% แม่น้ำยมเพิ่มอีก 30 ซม.

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย.ถึง 8 ต.ค. 2567 มีพื้นที่ได้รับกระทบ จำนวน 304 หมู่บ้านจาก 50 ตำบล ในพื้นที่ 9 อำเภอของจ.พิษณุโลก ซึ่งส่วนใหญ่จะรับน้ำเหนือผ่านจังหวัดสุโขทัย

ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต อัตลักษณ์แห่งศรัทธาสืบทอดมา 199 ปี

จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการอ๊าม (ศาลเจ้า) และองค์กรต่าง ๆ พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2567  โดยมี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล

ทุ่งบางระกำโมเดล เก็บน้ำแล้ว 112% ชาวพรหมพิราม เดือดร้อนขาดฟางข้าว-ต้นหญ้าเลี้ยงสัตว์

สถานการณ์น้ำที่ จ.พิษณุโลก วันนี้เริ่มดีขึ้น แม่น้ำลำคลองทุกสายเริ่มลดระดับลงอีกครั้ง แม้มีฝนตกในพื้นที่อยู่บ้างก็ตาม ขณะทุ่งบางระกำโมเดล เก็บน้ำเข้าทุ่ง 449 ล้าน ลบ.ม คิดเป็น 112%