‘ เมื่อมีการกำหนดระยะเวลาการเปิดผับถึง 04.00 น. ตัวเลขแนวโน้มเวลาที่จะเกิดอุบัติบนท้องถนนอาจจะมีการขยับขึ้นจากเดิมที่สิ้นสุดที่เวลา 05.00 น. ขยับเป็น 07.00 น. ดังนั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมกับคน 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มแม่ค้าที่ไปจ่ายตลาดตอนเช้ามืด 2.พระสงฆ์ที่ออกบิณฑบาตตอนเช้า 3.พนังงานทำความสะอาดถนน พนังงานเก็บขยะ และ 4.กลุ่มเด็กที่ต้องเดินไปโรงเรียน ก็อยากให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือไว้ ‘
อีก 1 สัปดาห์ข้างหน้า ก็จะเข้าสู่เทศกาลปีใหม่ 2567 หยุดยาวตั้งแต่ 29 ธ.ค.2566 – 1 ม.ค. 2567 เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนจะได้เดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวเคาท์ดาวน์ สนุกสนานยาวๆอีกกับการเปิดผับถึง 04.00 น. ซึ่งเปิดได้เฉพาะร้านที่เข้าเกณฑ์ ในพื้นที่นำร่อง 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ และ อ.เกาะสมุย สุราษฏ์ธานี ซึ่งอาจจะเพิ่มอัตราการเสียชีวิตจากการเมาแล้วขับพุ่งสูงขึ้นในปีใหม่นี้
แต่สิ่งที่น่าห่วงในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวนั้นก็คือ อุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ก่อให้เกิดความสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยช่วงหยุดยาวของทุกปี จะมีอัตราการเสียชีวิตพุ่งสูงขึ้น สาเหตุหลักๆ มาจากการขับรถยนต์หรือขับขี่จักรยานยนต์ใน ขณะที่มีอาการมึนเมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ โดยข้อมูลในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 มีจำนวน 7,868 คดี เมื่อเทียบกับช่วงปีใหม่ พ.ศ. 2566 จำนวน 8,567 คดี พบว่า คดีขับรถขณะเมาสุรา มีจำนวนเพิ่มขึ้น 699 คดี คิดเป็น 8.88 %
ด้วยเหตุนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) และภาคีเครือข่าย แถลงข่าว “ยิ่งดื่มนาน สมองยิ่งเสี่ยง ดื่มไม่ขับ” ปีใหม่ 2567 เน้นย้ำรณรงค์ช่วงเทศกาลสำคัญ
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า ดื่มแล้วขับ เป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลผลการตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดของกลุ่มผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน พบว่า มากกว่า 50% พบแอลกอฮอล์ในเลือด ซึ่งในช่วงเทศกาลต่างๆ อย่าง เทศกาลปีใหม่ เป็นช่วง 7 วันอันตราย ซึ่งที่ผ่านมา เฉลี่ยแล้วมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนอยู่ที่ 300 คน โดยตลอดทั้งปี 2565 อัตราการเสียชีวิตจากสาเหตุเมาแล้วขับเฉลี่ยอยู่ที่ 17,000 คน ดังนั้นเป้าหมายปลอดภัยทางถนนที่จะต้องลดคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือไม่เกิน 8,500 คน หรือลดให้เหลือผู้เสียชีวิต 12 คน ต่อประชากรแสนคน ซึ่งก็ยังต้องผนึกกำลังในการทำงานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
“การรณรงค์เมาแล้วขับ ไม่หวังแค่ช่วง 7 วันอันตราย แต่หวังว่าหลังจากนั้นจะมีอุบัติที่เกิดจากการเมาแล้วขับลดลง สิ่งที่สำคัญคือการสร้างกระแสสังคมที่จะโอบล้อมปัญหานี้ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในการตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดื่มไม่ว่าจะมาจากการขับรถ และปัจจัยอื่นๆด้วย”ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
นายวิทยา จันทร์เสนะ ผู้อำนวยการกองบูรณาการความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวถึง จากความร่วมมือกันทุกภาคส่วนในการรณรงค์ กำกับดูแลอุบัติเหตุบนท้องถนน ส่งผลให้ตัวเลขผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตมีจำนวนลดลงตั้งแต่ปี 2554 และลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็ยังคงมีการดำเนินการต่อเนื่องในการกำกับดูแลดื่มไม่ขับ ตามแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565 – 2570 โดยมี 2 เป้าหมายที่ต้องบรรลุภายในปี 2570 คือ 1.ลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนให้เหลือ 12 คนต่อประชากร 100,000 คน 2.ลดจำนวนผู้บาดเจ็บให้ลดลงเหลือ 8,000 คน ทั้งได้มีการกำหนดตัวชี้วัด สำหรับดื่มแล้วขับ ได้แก่ ลดจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเฉพาะคนขับ ให้ลดลงเหลือ เฉลี่ยปีละ 10% จนถึงปี 2570
วิทยา กล่าวต่อว่า สถิติอุบัติทางถนนจากศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) รายงานว่า ปีใหม่ 2566 ตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค. 2564 – 4 ม.ค. 2566 เกิดอุบัติเหตุรวม 2,440 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 317 ราย ผู้บาดเจ็บ 2,437 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับเร็ว 37.5% ดื่มแล้วขับ 25.49% ตัดหน้ากระชั้นชิด 18.69% ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือรถจักรยานยนต์ 82.11% รถกระบะ 5.56% รถเก๋ง 3.24% โดยในช่วงเทศกาลต่างๆที่จัดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมาพบว่า อุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดจากเมาร่วงลงอยู่อันดับ 2 และอันดับที่ 1 ขึ้นแทนที่คือ ความเร็วในการขับขี่ อย่างไรก็ตามก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังต่อไป
สำหรับแนวทางดำเนินการป้องกันลดอุบัติเหตุทางถนนวิทยา กล่าวว่า มี 5 ข้อหลัก ได้แก่ 1. กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ บูรณาการร่วมขับเคลื่อนในพื้นที่อย่างจริงจัง ต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยใช้แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565 – 2570 เป็นกรอบดำเนินงาน 2. ระดับพื้นที่ใช้กลไก ศปถ.จังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เน้นมาตรการชุมชน มาตรการทางสังคม อาทิ เคาะประตูบ้าน ด่านชุมชน ด่านครอบครัว ป้องปรามพฤติกรรมเสี่ยง 3. จังหวัดร่วมกับตำรวจภูธรจังหวัด บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง ควบคู่กับการรณรงค์ให้มีความตระหนัก สร้างจิตสำนึก รับผิดชอบต่อสังคม 4. ทุกภาคส่วนบูรณาการข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน 5. เสริมสร้าง ปลูกฝัง สร้างความตระหนักรู้ และจิตสำนึกอย่างจริงจัง เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัย
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) กล่าวว่า ปีใหม่นี้ได้สื่อสารประชาสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างความรู้ ความตระหนักแก่ประชาชนผู้ขับขี่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนเทศกาล และช่วงเทศกาล โดยผลิตสื่อฯ และชุดข้อมูลการเฝ้าระวังป้องกัน ลดอุบัติเหตุทางถนนสนับสนุนภาคีเครือข่ายทั้งรัฐ และเอกชน กระจายไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เป็นกรอบ และแนวทางทำงานในพื้นที่ตามนโยบายศปถ.
“ทั้งนี้เมื่อมีการกำหนดระยะเวลาการเปิดผับถึง 04.00 น. ตัวเลขแนวโน้มเวลาที่จะเกิดอุบัติบนท้องถนนอาจจะมีการขยับขึ้นจากเดิมที่สิ้นสุดที่เวลา 05.00 น. ขยับเป็น 07.00 น. ดังนั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมกับคน 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มแม่ค้าที่ไปจ่ายตลาดตอนเช้ามืด 2.พระสงฆ์ที่ออกบิณฑบาตตอนเช้า 3.พนังงานทำความสะอาดถนน พนังงานเก็บขยะ และ 4.กลุ่มเด็กที่ต้องเดินไปโรงเรียน ก็อยากให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือไว้”
พรหมมินทร์ แสดงความเห็นเพิ่มว่า อุบัติเหตุบนท้องถนนสามารถแบ่งได้ 2 ช่วง คือ นอกเทศกาลจะพบว่าการขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นปัญหาหลัก แต่พอในช่วงเทศกาลสำคัญจะพบว่าปัญหาหลักคือ เมาแล้วขับ และขับรถเร็วเพิ่มร่วมด้วย หากกลไกรัฐไม่สามารถที่จะควบคุมดูแลได้ เช่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการห้ามขายคนอายุต่ำกว่า 20 ปี ตรวจแอลกอฮอล์คนขับก่อนกลับ หากเกิน 50 mg% จัดที่พักคอย หากไม่รอให้ติดต่อเพื่อนหรือ ญาติพากลับ หรือจัดหารถส่งลูกค้า จะช่วยลดผลกระทบความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนได้ อาจจะทำให้แนวโน้มตัวเลขผู้เมาแล้วขับมีโอกาสเพิ่ม และเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้นด้วย ในส่วนของสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนช่วงโควิด-19 เห็นได้ชัดว่าลดลงไปเกือบ 30% แต่ในปีนี้ ช่วงปีใหม่ที่ผู้คนออกเดินทางจำนวนมาก รวมกับปรับเปลี่ยนระยะเวลาการเปิด-ปิดผับ ได้ประมาณการไว้ที่ 25% ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่ากังวลพอสมควร จึงอยากให้จากการเฝ้าระวัง 7 วันอันตราย เป็น 7 วันที่คนไทยทุกคนได้มีความสุข
ด้านนพ.ประชา กัญญาประสิทธิ์ ศัลยแพทย์ระบบประสาทและหลอดเลือดสมอง รพ.เชียงใหม่ราม กล่าวว่า 84% ของประชากรทั่วโลกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้สูญเสียความสามารถการตัดสินใจ ความมีเหตุผล การควบคุมการเคลื่อนไหว สูญเสียความสามารถการรับรู้ มองเห็น ได้ยิน และความจำ ยิ่งดื่มยิ่งส่งผลต่อสมอง และเสี่ยงอุบัติเหตุสูง ทั้งนี้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 0.01-0.05% ทำให้เริ่มตื่นตัว 0.03 – 0.12% โดพามีน เริ่มหลั่งจะรู้สึกสดชื่น มีความมั่นใจ รู้สึก Relax สดใส 0.08 – 0.25% เริ่มกดสมองส่วนต่างๆ เช่น กดสมองส่วนหน้าเกิดการยั้งคิด กดสมองส่วนทรงตัวทำให้ทรงตัวไม่ได้ กดสมองส่วนที่แปลประสาทตาทำให้ตาเบลอ กดสมองส่วนที่ใช้พูดก็จะพูดช้า กดสมองส่วนที่ทำให้ตัดสินใจส่งผลให้ให้ตัดสินใจผิดพลาดได้ง่ายดาย 0.18 – 0.30% สับสน ความจำเริ่มเสื่อมลง มากกว่า 0.25% จะเริ่มซึมเริ่มหลับ มากกว่า 0.35% ก็ทำให้โคม่า และมากกว่า 0.45%ทำให้เสียชีวิตได้
นพ.ประชา กล่าวอีกว่า ในฐานะที่ทำงานเป็นแพทย์ผ่าสมองมากว่า 20 ปี พบว่าสมองของคนที่เกิดอุบัติเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ จะมีเลือดไหลออกปริมาณมากและหยุดยาก ซึ่งมาจากตับที่มีความผิดปกติ มีโอกาสพิการและเสียชีวิตมากกว่าคนปกติ คนไทยเสียชีวิตจากสาเหตุของแอลกอฮอล์ 1 คนในทุกๆ 10 นาที หรือใน 1 ชั่วโมงเสียชีวิตไปแล้ว 6 คน นอกจากแอลกอฮอล์จะมีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ยังมีส่วนทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง มากกว่าคนปกติอีกด้วย
ทั้งนี้แนวทางรณรงค์ของทาง สสส. ได้ผลิตสปอตโฆษณา 2 เรื่อง รณรงค์ให้ผู้ขับขี่ตระหนักถึงอันตราย ลด ละ เลิกพฤติกรรมดื่มแล้วขับ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไม่ประมาท ให้เห็นผลเสียของแอลกอฮอล์ต่อการขับขี่ที่ผลกระทบต่อสมอง และส่งผลต่อการขับขี่ จึงได้พัฒนาแคมเปญ ดื่มไม่ขับ : ดื่มเหล้าเมาถึงสมอง สื่อสารผลเสียของแอลกอฮอล์ ที่ส่งผลต่อสมอง ทำให้ตอบสนองช้าลง ตัดสินใจเบรกรถไม่ทัน และกะระยะในการขับขี่ผิดพลาด
และขับเคลื่อนร่วมกับภาคีเครือข่ายสร้างความปลอดภัยทางถนน พัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะ รณรงค์ป้องกันปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเข้มข้นใน 189 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 35 อำเภอ 20 จังหวัด เครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับร่วม 100 เครือข่าย ทั่วประเทศ ร่วมรณรงค์ในพื้นที่ หนุนเสริมตรวจแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่ทุกรายที่ประสบอุบัติเหตุ และไม่สนับสนุนการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับเด็กและเยาวชน และเครือข่ายสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) ที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพิ่มความเข้มข้นช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดที่มีการจัดกิจกรรมฉลองปีใหม่ หรือพื้นที่อำเภอเสี่ยง และพื้นที่ท่องเที่ยวเน้นมาตรการดูแลเรื่อง ดื่มไม่ขับ-ไม่ขับเร็ว-สวมหมวกนิรภัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เด็กไทยป่วยซึมเศร้าทะลุ 2,200 คน ต่อประชากรแสนคน เสี่ยงทำร้ายตัวเอง 17.4% ซ้ำเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพจิต
ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม “ดูแลวัยเด็กด้วยศิลปะด้านใน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568” ภายใต้โครงการโมเดลวิทยากรต้นแบบศิลปะด้านในเชิงลึกเพื่อขยายชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะเด็กก่อนวัยรุ่น เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่
กรมกิจการเด็กและเยาวชน จับมือ มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว-สสส. จัดเสวนาสะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 68 เสริมแกร่งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 ม.ค. 2568 ที่โรงแรมแมนดาริน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
หนุ่มเมาเต็มคราบ จุดไฟเผา จยย.ตำรวจวอดทั้งคัน หวิดลามไหม้ป้อม
ชายวัย 48 เมาหนักขี่ จยย.พ่วงข้างผ่านถนน 24 โชคชัย-เดชอุดม ถึงร้านสะดวกซื้อข้างทาง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ลงไปซื้อของเดินกลับมาจำที่จอดรถไม่ได้ คิดว่า ตร.ที่เข้าเวรอยู่จุดบริการ ปชช.ตู้ยามตำบลหนองโบสถ์ยึดรถไป ท้าต่อยจุดไฟเผา
ชี้คนไทย"พร่อง"กิจกรรมทางกาย สสส.รณรงค์สร้างสุขกระฉับกระเฉง
โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 3 แสนคนต่อปี คิดเป็น 75% ของสาเหตุการตายทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง
'นิกร' แนะรัฐถอดบทเรียน ยอดตายบนถนนพุ่ง 8% ชี้ประเด็นสำคัญ ขับเร็ว ไม่ใช่เมาแล้วขับ
นายนิกร จำนง ที่ปรึกษาคณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุเพื่อสร้างความปลอดภัยทางถนนแห่งรัฐสภา และประธานคณะอนุกรรมการด้านประสานงาน บริหารจัดการ รณรงค์ และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันและลดอุบัติเหตุเ
รัฐบาลเตือนเช็กอาการ 6 โรคหลังไปเที่ยวปีใหม่
รองโฆษกรัฐบาลขอ ปชช.เดินทางท่องเที่ยว ปลอดภัย ไร้โรค ไร้ภัย แนะหมั่นสังเกตอาการ หลังเดินทางกลับ หากมีอาการผิดปกติ รีบพบแพทย์