19 ธ.ค.2566-พญ.ชไมพันธุ์ สันติกาญจน์ อดีตที่ปรึกษาด้านป้องกันการบาดเจ็บภาวะพิการ ประจำองค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ผู้รับผิดชอบโครงการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ผู้ใช้จักรยานยนต์ปลอดภัย เปิดเผยว่า ตามที่ตนและคุณศิริวรรณ สันติเจียรกุล ได้เข้าพบคณะผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เพื่อเสนอข้อมูลและหารือถึงมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณาที่อาจส่งผลเสียต่อสังคมโดยรวม โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก แต่กลับมีการโฆษณาที่สร้างแรงจูงใจให้มีการขับขี่ที่เร็ว แรง โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และ ผู้ที่ใช้รถ ใช้ถนนร่วมกับรถจักรยานยนต์ ส่งผลให้ผู้ใช้จักรยานยนต์ มีการบาดเจ็บรุนแรงและตายอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ย 1 คน ทุก 34 นาที และพิการเฉลี่ย 9,841 คนต่อปี ขณะที่อัตราตายต่อประชากรเป็นลำดับ 1 ของโลกในรายงานองค์การอนามัยโลกปี 2015 และ 2018
อดีตที่ปรึกษาฯ ระบุว่า จากการมอนิเตอร์โฆษณารถจักรยานยนต์ตามสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ พบว่า ว่าผู้ผลิตหรือจำหน่ายจักรยานยนต์ในไทย ไม่ได้ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยอย่างจริงจัง แม้เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่สำคัญที่สุด นอกจากนี้ ผู้ผลิต จำหน่ายและขายจักรยานยนต์ไทยยังตั้งชื่อรุ่น “ครอบครัว” ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าจักรยานยนต์ใช้ขับขี่ได้ทุกวัย ซึ่งจากการเฝ้าระวังทางสื่ออินเทอร์เน็ตทั่วโลก พบว่าผู้ผลิตมีการใช้คำนี้เฉพาะประเทศไทย ลาว กัมพูชา เท่านั้น ขณะที่ในประเทศผู้ผลิตและการส่งออกไปยังต่างประเทศในอเมริกาและยุโรปไม่มีการใช้คำว่ารุ่นครอบครัว นอกจากนี้ ยังมีการโฆษณาเหนี่ยวนำพฤติกรรมขับขี่เร็ว ขับขี่หวาดเสียว เสี่ยงอันตรายและผิดกฎหมาย อย่างต่อเนื่อง
“อยากเรียกร้องให้ท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คุณพวงเพ็ชร ชุนละเอียด ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้เร่งรัดดำเนินการให้มีการออกมาตรการที่ควรดำเนินงานและคำเตือนข้อความให้ความรู้ที่ควรมีในโฆษณาทุกประเภทของรถจักรยานยนต์ต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเร่งด่วนเพื่อไม่ให้คนไทยต้องบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตมากขึ้น” พญ.ชไมพันธ์ กล่าว
ทั้งนี้ ข้อเสนอของโครงการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ผู้ใช้จักรยานยนต์ปลอดภัยและภาคีเครือข่ายกว่า 40 องค์กร เสนอให้การโฆษณาของบริษัทรถจักรยานยนต์ ควรมีข้อความ เช่น “หากไม่สวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่หรือซ้อนท้าย จะถึงแก่ชีวิตได้” ,ความเร็วในการขับขี่จักรยานยนต์ที่มีการชนจนถึงแก่ชีวิต พบมากสุดที่ความเร็ว 51 ถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ,การมีระบบเบรค abs หรือ cbs สำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่จักรยานยนต์, แสงไฟส่องสว่างที่ชัดเจนและแผ่นสะท้อนแสงรอบด้านของจักรยานยนต์สำคัญต่อการขับขี่กลางคืนให้เสี่ยงลดลง และไม่ควรหลีกให้ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีที่ไม่มีหมวกนิรภัยมาตรฐานโดยสารรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลอย่าเสี่ยง! แจงยิบทำไม 'MOU 44' เข้าข่าย รธน. มาตรา 178
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าเสี่ยงจงใจขัดรัฐธรรมนูญ! MOU 44 ต้องผ่านรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ 60 มาตรา 178
นายกฯ ปลุกทุกภาคส่วน ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีทุกรูปแบบ
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านวีดิทัศน์ว่า เนื่องในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ประจำปี 2567
'สุริยะใส' เขย่า 'แจกเงินหมื่น' หอกทิ่มแทง วัดใจจุดเปลี่ยนรัฐบาลแพทองธาร
“สุริยะใส” ชี้จุดสลบใหญ่เรื่องเศรษฐกิจ นโยบายเรือธงอย่างดิจิทัล แจกเงินหมื่นเป็นหอกทิ่มแทง วัดใจจุดเปลี่ยนของรัฐบาลแพทองธาร
'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน
ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49
‘ภูมิธรรม’ มั่นใจนายกฯกลับมาประชุมตั้ง ‘เจทีซี’ เสร็จ ชงเข้าครม.19 พ.ย.ทันที
‘ภูมิธรรม’ ระบุ หากนายกฯกลับมา เรียกถก ตั้ง เจทีซี วันนี้ก็ เข้าครม.ทันพรุ่งนี้ โยน กต.เคาะรายชื่อ ลั่น เกาะกูดไม่จบซํ้ารอยเขาพระวิหารแน่ ยัน ไม่มีเหตุผลต้องยกเลิกเอ็มโอยู 44
ชาวนาต้นทุนกระฉูด! ปุ๋ยคนละครึ่งไม่ตอบโจทย์
บุรีรัมย์ ชาวนา เรียกร้องให้รัฐบาล ช่วยค่าเก็บเกี่ยวไร่ละพัน แบ่งเบาภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขายได้ราคาต่ำ