สอบตั๋วครูรอบ2 สอบด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์กว่า1.1หมื่นราย และสอบด้วยกระดาษกว่า3.1หมื่นรายประกาศผล 19 ม.ค.67

18 ธ.ค.2566- พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการคุรุสภา เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู รายวิชาครู ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบกระดาษ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 รอบที่ 2 เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2566 ณ ศูนย์สอบมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งคุรุสภาได้จัดการทดสอบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบกระดาษ จำนวนทั้งสิ้น 16 แห่ง พร้อมกันทั่วประเทศ
โดยคณะผู้บริหารศธ.ที่ลงพื้นที่สนามสอบ ยังมี ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา ดร.สุดา สุขอ่ำ รองเลขาธิการคุรุสภาผศ.ดร.พลรพี ทุมมาพันธ์ รองเลขาธิการคุรุสภา ศ.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ ประธานอนุกรรมการอำนวยการทดสอบฯและคณะอนุกรรมการอำนวยการทดสอบฯ

พลตำรวจเอกเพิ่มพูน กล่าวว่า การทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูฯ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 นี้คุรุสภาได้จัดขึ้น จำนวน 4 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1 และรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 16 – 17 ธันวาคม 2566 และรอบที่ 3 และรอบที่ 4 ระหว่างวันที่ 23 – 24 ธันวาคม 2566 มีผู้เข้ารับการทดสอบฯ รวมจำนวนทั้งสิ้น 42,474 คน หากจำแนกผู้มีสิทธิ์เข้าสอบตามสนามสอบ ทั้ง 16 แห่ง มีจำนวนดังนี้

สนามสอบภาคกลาง 4 แห่ง จำนวน 14,780 คน ประกอบด้วย1. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 2,802 คน 2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1,474 คน 3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 4,051 คน 4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 6,453 คน
สนามสอบภาคเหนือ 2 แห่ง จำนวน 4,834 คน 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 2,220 คน2. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 2,614 คนสนามสอบภาคตะวันออก 1 แห่ง จำนวน 1,482 คนมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 1,482 คน

สนามสอบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 แห่ง จำนวน 14,981 คน 1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3,393 คน2. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 1,843 คน3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 6,039 คน4. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 3,706 คน

และสนามสอบภาคใต้ 5 แห่ง จำนวน 6,397 คน 1. มหาวิทยาลัยทักษิณ 1,343 คน2. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 1,199 คน3. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 1,060 คน4. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 1,265 คน5. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 1,530 คน

ในจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมดนี้ แบ่งเป็นผู้เข้ารับการทดสอบด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 11,137 คน และเข้ารับการทดสอบด้วยระบบกระดาษ จำนวน 31,337 คน

รมว.ศธ. กล่าวต่อว่า การลงพื้นที่ในวันนี้ เป็นการตรวจเยี่ยมความเรียบร้อยของสนามทดสอบ รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูฯ ครั้งที่ 2/2566 สำหรับการจัดสอบครั้งนี้ คุรุสภาจัดการทดสอบทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบกระดาษ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้ารับการทดสอบที่มีความต้องการสมัครสอบเป็นจำนวนมาก จึงได้จัดการสอบระบบกระดาษเข้ามาเพิ่มเติมควบคู่กับระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับผู้เข้าสอบได้มากขึ้น ซึ่งคณะผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาและคณะอนุกรรมการอำนวยการทดสอบฯ ก็ได้มาให้กำลังใจแก่ผู้เข้าทดสอบทุกคน โดยภาพรวมของการจัดการทดสอบฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สะดวกและปลอดภัย นอกจากนี้ มีรายงานจากสนามสอบอื่น ๆ พบว่า การจัดการทดสอบดำเนินการด้วยความเรียบร้อยเช่นเดียวกัน และทุกสนามสอบปฏิบัติตามมาตรการการเข้ารับการทดสอบอย่างเคร่งครัด เป็นไปด้วยความโปร่งใส ยุติธรรมและปลอดทุจริต 100%

ขณะที่ในส่วนของข้อสอบที่ใช้จัดการทดสอบทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบกระดาษนั้น เป็นข้อสอบเดียวกัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของการทดสอบ โดยจะเป็นข้อสอบในแนวทางการวัดเชิงสถานการณ์ (Situation-Based Testing) เชิงบูรณาการความรู้ทักษะและคุณลักษณะที่เป็นองค์รวมที่แสดงถึงการแสดงออกของสมรรถนะตามวิชาชีพครู ตามขอบเขตสถานการณ์การทำงานของครู ซึ่งหลักสูตรผลิตครูก็ได้สอนในเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว และนักศึกษาก็ได้พบเจอ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร

ทั้งนี้ เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบทั้ง 4 รอบแล้ว คุรุสภาจะประกาศผลสอบ ในวันที่ 19 มกราคม 2567 ผ่านทางเว็บไซต์ https://ksp662.thaijobjob.com/ และผ่านระบบ “KSP Self-Service” ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา โดยสามารถตรวจสอบและพิมพ์ผลการทดสอบฯ เป็นรายบุคคลในรายวิชาที่เข้าทดสอบผ่านช่องทางออนไลน์ได้ด้วยตนเอง

รมว.ศธ. กล่าวอีกว่า สำหรับแผนการจัดการทดสอบฯ ประจำปีงบประมาณ 2567 คุรุสภา และคณะอนุกรรมการอำนวยการทดสอบฯได้มีแผนการดำเนินการในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม จำนวน 12 รอบ โดยคุรุสภาได้ประสานกับสถาบันอุดมศึกษา ที่มีความพร้อมในการเป็นสนามสอบ ทั้งนี้ อาจจะมีสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมเป็นสนามสอบเพิ่มขึ้น ซึ่งจำนวนที่นั่งสอบก็จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนสนามสอบ โดยจะประกาศให้ทราบเป็นครั้ง ๆ ไป ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะมีการรับฟังความต้องการเข้ารับการทดสอบก่อนการรับสมัครทุกครั้งเพื่อประกอบการพิจารณาและเป็นการวางแผนการจัดการสอบให้มีความเรียบร้อยและมีคุณภาพต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครม.ปรับเงื่อนไขชดใช้ทุนของ รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

ครม.มีมติปรับเงื่อนไขการชดใช้ทุนหลังสำเร็จการศึกษาของนักเรียนทุนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น

"เพิ่มพูน" เดินหน้า "ปฏิวัติการศึกษาแก้ปัญหาประเทศ" อย่างเร่งด่วน เหตุกระแสโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ผศ. พิมล ศรีวิกรม์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และประธานอนุกรรมการพิจารณาจัดการสนับสนุนสมาคมกีฬาจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน

“รมช.สุรศักดิ์” ห่วงนักเรียน-เยาวชน “เล่นพนันบอล-สุขภาพแย่” ช่วงการแข่งขันบอลยูโร

เมื่อวันจันทร์ ที่ 17 มิถุนายน 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือ ยูโร 2024 ที่เยอรมนีเป็นเจ้าภาพ โดยมีการจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน - 14 กรกฎาคม ว่า กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ.

"รมช.สุรศักดิ์​" เป็นประธานเปิดงาน“ความท้าทายของระบบการศึกษาไทยในยุค​ Digital Disruption”

เมื่อวันเสาร์ที่​ 15​ มิถุนายน​ 2567 นายสุรศักดิ์​ พันธ์เจริญวร​กุล​ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ​ เป็นประธานเปิดงานโครงการสัมมนาวิชาการ

“เพิ่มพูน”ประชุมขับเคลื่อนโยบาย ยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA ขอทุกหน่วยงานร่วมอนุรักษ์ "การไหว้ครู " ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย

วันที่ 12 มิถุนายน 2567 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมประสานภารกิจกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 22/2567 เมื่อ ว่า มีการประชุมขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA โดย สสวท.

เตือนเกียรติบัตรอบรม e-Learning ก.ค.ศ. ใช้ต่อใบประกอบวิชาชีพไม่ได้

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อมูลปรากฏถึงเรื่องอบรมออนไลน์หลักสูตร e-Learning สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา