กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงลงพระนาม MOU ระหว่างราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กับ 4 สถาบัน สร้างบัณฑิต-พัฒนาบุคลากรทางการแพทย์
15 ธ.ค.2566 – เวลา 13.30 น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปในพิธีลงพระนามและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รักษาการรองเลขาธิการ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ถวายรายงานถึงการลงพระนามและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กับ 4 สถาบัน ด้วยพระปรีชาสามารถและด้วยพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล เพื่อที่จะทรงสร้างบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเป็นเลิศในวิชาชีพ มีความรู้และทักษะทางการแพทย์ ในวิชาชีพแพทย์และศาสตร์อื่นๆ และเพื่อเป็นการสนองพระปณิธาน หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 7 ปี 2 ปริญญา ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จึงมีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพตลอดจนทักษะทางด้านการวิจัย นวัตกรรม ควบกับศาสตร์ด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบวิชาชีพแพทย์ที่สามารถนำไปประยุกต์เพื่อรับใช้และพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้นไป จึงได้ก่อให้เกิดความร่วมมือจาก 4 สถาบันหลักใน “โครงการหลักสูตรแพทยศาสตรบันฑิตควบคู่กับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา” โดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ยินดีให้ความร่วมมือ สนับสนุน และส่งเสริมการนำสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาของคณะต่างๆ ไปเป็นสาขาวิชาควบให้กับนักศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน
ระยะแรกจะมีจำนวน 8 สาขาวิชา จากคณะวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และวิทยาลัยการจัดการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งหลักสูตรนานาชาติ สาขาพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน โดยมีสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ยินดีให้ความร่วมมือสนับสนุนนักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัย ให้กับการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ทั้งนี้เมื่อนักศึกษาแพทย์สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และปริญญาระดับบัณฑิตศึกษาจากสถาบันตามหลักสูตรที่เลือกเรียนอีก 1 ปริญญา รวมเป็น 2 ปริญญา
สำหรับวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นโรงเรียนแพทย์ลำดับที่ 23 ของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานสากลของ World Federation for Medical Education โดยสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์และแพทยสภา จัดตั้งขึ้นโดยพระปณิธานใน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ด้วยพระวิสัยทัศน์กว้างไกลที่จะยกระดับการศึกษาทางด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพในประเทศไทย ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและเครือข่ายสถาบันการแพทย์ชั้นนำในการผลิตหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อสร้างแพทย์และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสำคัญและตอบสนองต่อความต้องการของประเทศชาติ
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรที่ทันสมัยทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นผู้นำด้านสุขภาพและการบริการทางการแพทย์ ที่มีความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งบูรณาการงานบริการวิชาการสู่สังคมตลอดจนปลูกฝังการมีจิตวิญญาณในการอุทิศตนเพื่อสร้างประโยชน์และช่วยเหลือประชาชนด้วยจิตเมตตา ตามพระปณิธาน ผ่านการดำเนิน “โครงการอาสาจุฬาภรณ์” เพื่อส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชนเมืองและชุมชนชนบทเพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนให้เป็นชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพสู่ความยั่งยืน นอกจากนี้ นักศึกษาแพทย์ยังมีโอกาสได้เข้าร่วมปฏิบัติงานในหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. เพื่อเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์การให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนตามท้องถิ่นห่างไกลเพื่อจะได้ออกไปเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไป
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2567 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้จัดตั้งหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภายใต้โครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิด วิเคราะห์ และสร้างนวัตกรรม ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการหรือต่อยอดในเชิงพาณิชย์-อุตสาหกรรมได้ นอกจากนี้นักศึกษาในชั้นปีที่ 4 ยังได้มีการฝึกปฏิบัติงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกสถาบันรวมระยะเวลา 1 ปีเต็ม เพื่อเสริมสร้างทักษะทางด้านการวิจัย นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัย นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือนวัตกรด้านการแพทย์ และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในระดับที่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต และมีจิตสาธารณะ เพื่อสนับสนุนและพัฒนาทางการแพทย์ งานวิจัย งานวิชาการ ยกระดับสุขภาวะประชาชนสู่ความเป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดอกไม้และผีเสื้อ'แห่งองค์สิริศิลปิน ส่งต่อความสุข
ตลอดเดือนธันวาคมนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ชวนประชาชนร่วมชื่นชมพระอัจฉริยภาพและเรียนรู้พระกรณียกิจกับนิทรรศการ “สิริศิลป์ศรีจักรีจุฬาภรณ์” ดั่งดอกไม้บาน รังสรรค์ความงดงามจากผลงานภาพวาดฝีพระหัตถ์ “ดอกไม้และผีเสื้อ” ของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ
'เสืออวกาศ'ผลงานชุดใหม่'องค์สิริศิลปิน'
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงได้สร้างสรรค์ผลงานภาพวาดฝีพระหัตถ์ “เสือ”ชุดใหม่ในปี 2567 นี้ จำนวน 51 ภาพ พร้อมทั้งพระราชทานชื่อนิทรรศการครั้งนี้ว่า “เสืออวกาศ”
ชมภาพวาดฝีพระหัตถ์องค์สิริศิลปิน สานพลังใจเพื่อผู้ป่วย
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานและนายกสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 4 กรกฎาคม 2567 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
เชิญชวนปชช.ลงนามถวายพระพรกรมพระศรีสวางควัฒนฯ
1 ก.ค.2567 - สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ วันที่ 4 กรกฎาคม 2567
ศรัทธาพุทธศาสนาในเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์
เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ 67 พรรษา วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีด้วยการบำเพ็ญคุณงามความดีถวายพระกุศล
เจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติกรมพระศรีสวางควัฒนฯ ที่วัดป่าบ้านตาด
28 มิ.ย.2567 ที่ศาลาใหญ่ วัดเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี พระราชวชิรธรรมาจารย์ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดเกสรศีลคุณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็