เปิดโอกาสให้พสกนิกรไทยมีโอกาสได้ร่วมตายรอยเสด็จฯ และชื่นชมพระอัจฉริยภาพด้านการถ่ายภาพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผ่าน 150 ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ทรงบันทึกไว้ระหว่างการเสด็จฯ ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในระหว่างปี 2565 – 2566 ในนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “บ้านเขา เมืองเรา : Theirs and Ours” ประจำปี 2566 ครั้งที่ 17 สนับสนุนโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
ในโอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแป็นประธานพิธีเปิด โดยมี นายตุลย์ หิรัญญลาวัลย์ นายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ นายนิติกร กรัยวิเชียร เลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมการถ่ายภาพ และคณะกรรมการจัดงานเฝ้าฯ รับเสด็จ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อวานนี้
โอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ ประจำปี 2566 ความว่า วันนี้ก็ได้พบกันอย่างเคย รวมทั้งภาพต่างๆ ที่อาจได้น้อยกว่าก่อนๆ นี้มาก เพราะว่ามีโควิด ก็เลยต้องกลัวไว้ก่อน ไม่ได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง ระยะหลังจะขี้ลืมมากกว่าเดิม ต้องมีวิธีต่างๆ ที่จะฝึกสมอง การถ่ายภาพและจัดงานภาพถ่ายน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกสมอง ทำให้สมองดีขึ้น
ทรงบรรยายภาพ ”โกษาปาน” ตอนที่ไปฝรั่งเศส เพื่อไปงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ รูปเอกสารของโกษาปาน ค.ศ. 1686 อยู่ที่ส่วนจัดแสดงเอกสารต่างประเทศของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส จัดแสดงที่ Missions Etrangeres กรุงปารีส เป็นบันทึกเล่าเหตุการณ์ของโกษาปาน และภาพเอกสารคุณพ่อลามอตต์ ลาโน ที่เป็นผู้เผยแพร่ศาสนาสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ตัวหนังสือที่เขียนเป็นภาษาไทย ท่านใช้เวลาในเรือนจำเขียนเรื่องคำสอนศาสนาตคริสต์ ส่วนภาพงานเลี้ยงรับรองทูตไทย เป็นงานเลี้ยงรับรองราชทูตไทยที่ไปครั้งนั้น
ภาพ”พระศรีศากยมุนีที่ห้องพระที่นาลันทามหาวิหาร” เป็นวัดญี่ปุ่น เมื่อก่อนเคยไป แล้วท่านให้ค้างที่วัด แต่เวลาเดินทางไปทีไร ขาไม่ปกติทุกที ก็ไม่ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้น เค้าก็มีล่ามที่แปลภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็มีหน้าที่พิเศษต้องมาพยุง ขึ้นลงบันได ก็เห็นใจเขา เรากลับไป ล่ามคงปวดเมื่อยไปทั้งตัว เพราะเราก็น้ำหนักเบาเสียเมื่อไหร่ วัดนี้จัดงานต่างๆ ถวายในหลวง รัชกาลที่ 9 ก่อนจะไปท่านให้เขียนหนังสือเป็นตัวคันจิ ตัวญี่ปุ่น ที่วัดนี้เสาต้นใหญ่ แต่ละต้นสูง 18 เมตร 6 คนโอบไม่รอบ หินขนมาจากเมืองจีน มีลักษณษะเหมือนนาลันทาที่อินเดีย
ภาพ”วัดเทพ พิธีกงเต็กคุณหญิงวรรณา” ประเทศไทย วันที่ 24 มีนาคม 2566 ชอบรูปนี้ เพราะท้องฟ้ามีหน้าตา มีปากยิ้ม เป็นงานพิธีกงเต็กของคุณหญิงวรรณา กงเต็ก คือ การระลึกถึงคุณงามความความดีของผู้วายชนม์ เดี๋ยวนี้คนนิยมทำกระดาษเป็นของที่ผู้วายชนม์เคยใช้ หรือบ้าน พาหนะ คนที่ทำงานกระดาษฝีมือดีแบบนี้ก็หาได้ยาก อีกอย่างเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ส่วนใหญ่สมัยนี้ทำเล็กๆ พอเป็นพิธีที่เหลือจะทำบุญให้โต๊ะ เก้าอี้ เตียง ข้าวของต่างๆ ที่ใช้ได้ไปถวายวัด ให้โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นการทำบุญ
ทรงบรรยายถึงพิพิธภัณฑ์เอ็มพลัส เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ประกอบด้วยภาพ นิทรรศการในพิพิธภัณฑ์เอ็มพลัส แปลว่า Museum and more ,ภาพ เอ็มพลัส ห้องนี้เข้าไปแล้วงง มีกระจก ,ภาพนิทรรศการศิลปะสมัยใหม่ในเอ็มพลัสเหมือนจะเป็นนามบัตร แต่ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร ว่า พิพิธภัณฑ์ที่เพิ่งสร้างใหม่ เรียกว่า เอ็ม พลัส ถามเค้าว่า แปลว่าอะไร เค้าบอกว่า Museum and more คำว่า more หมายถึงประวัติศาสตร์ การออกแบบ การสั่งสมทางวัฒนธรรม อันนี้เป็นรูปที่สำคัญของศิลปินที่มีชื่อเสียง ยาโยอิ คุซามะ ท่านมีปัญหาทางด้านจิต ต้องอยู่ในสถานที่ดูแลรักษา ท่านอายุ 94-95 ปี เค้าเล่าว่า สมองดี ถึงเวลาพาไปที่สตูดิโอ งานศิลปะหล่อเลี้ยงชีวิตเขา ทำให้อยู่ได้ เป็นคนที่สร้างสรรค์ มีจิตใจที่ดี ชอบทำงานประติมากรรมและอินสตอเลชั่น นำงานส่วนหนึ่งมาแสดงที่ฮ่องกง
ภาพ”เหล่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สวนปทุมวนานุรักษ์” ศักดิ์สิทธิ์แค่ไหนไม่ทราบ แต่ว่าดูหน้าตาศักดิสิทธิ์ เห็นวางอยู่ที่มุมหนึ่งของสวนสวนปทุมวนานุรักษ์ ที่ตรงนั้น ตอนแรกเราคิดว่าจะทำเป็นสวนสาธารณะ ปลูกต้นรไม้ให้คนมาชมสวน ออกกำลังกายได้จะดีกว่า จากที่ตอนแรกเขาคิดว่าจะทำศูนย์การค้า เราบอกว่า ศูนย์การค้ามีเต็มไปหมดเลยตอนนั้น เยอะแยะ เปลี่ยนแนวบ้างเป็นสวนสาธารณะ คนจะได้เข้าไปพักผ่อนหย่อนใจได้ ก็มีคนดูแล ผู้ว่าฯ กทม.ก็ช่วยดูแลด้วย แต่เหล่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ใครเป็นคนไปตั้งก็ไม่ทราบ
ภาพ”คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร” เป็นที่ที่ใหญ่มากและมีของเป็นแสนๆ ชิ้น เก็บอย่างมีระเบียบระบบและนำมาจัดแสดง ภาพ แผ่น จปร.ที่สะพานเฉลิมหล้า หรือสะพานหัวช้าง ภาพหนังสือสมุดไทยเรื่องพระมาลัย มีภาพประกอบ และภาพนักวิทยาศาสตร์ซ่อมและทำความสะอาดศิลปวัตถุที่คลังกลางด้วย
ทรงบรรยายภาพสัตว์ทรงเลี้ยงในวังสระปทุม ภาพสุนัข’ละมุนละไม’ ด.ญ.ละมุนละไม ต้องตั้งชื่อตัดไม้ข่มนาม เขาไม่ละมุนละไมเลย ในนิทรรศการมี 3 ภาพ มีละมุนละไม ,ฮ้อเซียงโก เป็นชื่อแปดเซียน น้องฮ้อประจบ รักพี่ละมุนมาก ตอนแรกไม่อยากได้น้องฮ้อ เพราะกลัวพี่ละมุนเสียใจ แต่น้องฮ้อประจบมาก เขาจะมองหากัน และมีคุณป้าโป๊ยกั๊ก ไม่ค่อยแข็งแรง เพราะอายุ 15-16 ปี แล้ว กินเก่งมาก ภาพกิ้งก่าตะมุตะมิที่เฉลียง วังสระปทุม เวลาพยาบาลถาม ตะมุตะมิ แปลว่าอะไร แปลว่า น่ารัก
ภาพ“พิพิธภัณฑ์ผ้า งานสิริราชพัสตราบรมราชินีนาถ Decades of Style : The Royal Wardrobe” รูปนี้ในพิพิธภัณฑ์ผ้าในพระบรมมหาราชวัง อดีตเป็นกระทรวงการคลัง เป็นอาคารที่สำคัญมากในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปบ้านเมืองครั้งสำคัญ การจะปฏิรูป ต้องใช้เงินทอง ซึ่งมาจากการเก็บภาษี โดยจะมีเก็บภาษีที่หอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นสถานที่ทำคัญในการปฏิรูปบ้านเมืองไทย ตอนนี้ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ผ้า ภาพนี้เป็นส่วนหนึ่งงานสิริราชพัสตราบรมราชินีนาถ
ส่วนภาพ“ได้ทำบุญ” มีคนมาขายล็อตเตอรี ก็ซื้อเขาใบเดียว แต่ถูกนะ (ทรงพระสรวล) จริงๆ ก็ขายไปทั่ว กะจะได้ 4,000 บาท ก็ได้เงินทำบุญโรงพยาบาล 2,000 บาท
ทรงบรรยายภาพ”ปักกิ่งจัดงานฉลองไปเมืองจีนครบ 50 หนที่จริงเกิน 50 หน “ ภาพนี้ได้เมื่อไปเมืองจีน วันที่ 5 มิ.ย.2566 ทางการจีนบอกว่าจะงานฉลองไปเมืองจีน 50 ครั้ง ที่จริงไปเกิน 50 ครั้งแล้ว แต่นับไปนับมา ไม่ทราบทำไมได้ 50 ครั้ง คุณครูที่เคยสอนบอกว่าตื่นเต้นไม่ได้เจอกัน ปกติต้องเจอกันทุกปี คิดถึงมาก บางท่านก็มาไม่ได้ ส่วนมากก็ชราหรือมีธุระ คงจะด่วน หลายท่านไม่ได้มา ก่อนหน้านั้น ก็ไปมณฑลกวางตุ้ง นอกจากไปดูงานวิทยาศาสตร์แล้ว ก็ไปดูตุ๊กตาจีน เพราะว่าอยากได้ตุ๊กตาเล็กๆ ไว้กำลังทำบอนไซ จะได้ไปนำไปวาง
ภาพสุดท้ายทรงบรรยาย “รวมพล ดร.สุเมธ” พระเอกมาทุกปี ครั้งก็มาให้ถ่ายอีก จะเดาว่า มี ดร.สุเมธกี่คน ก็เลยตั้งชื่อว่า รวมพล ดร.สุเมธ ปีนี้ก็น่าจะได้พลพรรค ดร.สุเมธ เพิ่มขึ้นอีก ขอจบการบรรยายแต่เพียงเท่านี้ ภาพถ่ายปีหน้าตอนนี้ก็เตรียมรูปแล้ว
สำหรับนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “บ้านเขา เมืองเรา : Theirs and Ours” ปี 2566 เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 12 ธ.ค. 2566 ถึงวันที่ 25 ก.พ. 2567 (หยุดทุกวันจันทร์) เวลา 10.00 – 20.00 น. และมีการจำหน่ายหนังสือภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “บ้านเขา เมืองเรา : Theirs and Ours” เล่มละ 900 บาท ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 9 หอศิลป์กรุงเทพฯ ทั้งนี้ รายได้ทั้งหมดทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงาน'สานสายใยเพื่อผลิตภัณฑ์สายใจไทย'
29 ต.ค.2567 - เวลา 09.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานมูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานเปิดงาน“สานสายใยเพื่อผลิตภัณฑ์สายใจไทย ครั้งที่ 26 ” ณ ลิฟวิ่ง ฮอลล์ ชั้น 3 สยามพารากอน
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดเทศกาลน้ำมันเมล็ดคามีเลีย ภัทรพัฒน์ ณ เอ็มสเฟียร์
18 ต.ค.2567 - เวลา 14.30 น.สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงาน “เทศกาลน้ำมันเมล็ดคามีเลีย ภัทรพัฒน์” โดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา และบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ณ เอ็ม กลาส
โครงการ ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว สานต่อปณิธานแห่งการ “ให้” ปีที่ 25 “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน”
จากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งภัยพิบัติรุนแรงหลายรูปแบบที่ต้องเผชิญในยุคของ Global Boiling (สภาวะโลกเดือด) กระทบต่อหลายพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยในแถบภาคเหนือ
4 CEO ชั้นนำ เปิดแนวคิดฝ่าความท้าทายอนาคตที่ยั่งยืน บนเวที SX2024
ความพยายามของประชาคมโลกที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs 2030 (Sustainable Development Goals) ในอีก 6 ปีข้างหน้า
ไทยเบฟขับเคลื่อนการเติบโตที่ยั่งยืนสู่ PASSION 2030
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ” หรือ “กลุ่ม”) เผยแผนงาน PASSION 2030 ซึ่งต่อยอดการดำเนินงานของกลุ่มในการเสริมความแข็งแกร่งสถานะผู้นำที่
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ 'บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่'
1 ต.ค.2567 - เวลา 9.04 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ Bangkok Art Biennale 2024 (BAB 2024) ภายใต้แนวคิด "รักษา กายา