ในบรรดาสื่อโลกโซเชียลที่กำลังดังและมาแรง เป็นแพลตฟอร์มที่ขึ้นอันดับ1 ของโลกทางด้านวีดีโอสั้น video short และมีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 1 พันล้านคน ต้องยกให้เป็น TikTok ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันในรูปแบบ Short Video Platform ที่ปัจจุบันไม่มีใครไม่รู้จัก ใช้งานง่าย และดูได้ในเวลาสั้นๆ อยากบอกเล่าหรือสื่อสารเรื่องใด ออกไป ทำได้เพียงใส่แฮชแท็ก( # ) ไม่ว่าจะเป็นการเต้น รีวิวสินค้า สถานที่ท่องเที่ยว การแสดงทักษะ มุกตลก สุขภาพ เป็นต้น หรือไลฟ์ขายของออนไลน์ ตอบโจทย์ทั้งผู้เสพคอนเทนต์หรือผู้สร้างคอนเทนต์ ที่มีความหลากหลายไร้ขีดจำกัด ซึ่งกลายเป็นอีกหนึ่งพื้นที่แจ้งเกิดจากคนธรรมดา สู่การเป็นคนดังชั่วข้ามคืน
อย่างไรก็ตาม TikTok ก็เป็นชุมชนสังคมออนไลน์หนึ่งที่เปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งเชิงบวก และเชิงลบ โดยการสร้างคอนเทนต์เชิงลบ ก็มาในรูปแบบการนำเสนอความรุนแรง การคุกคามทางเพศ การหลอกลวง การบูลลี่ หรือการทำร้ายตัวเอง แม้จะมีการจำกัดเนื้อหาตามทางนโยบายหลักการของชุมชนของแอพพลิเคชั่น แต่ก็ยังมีเนื้อหาดังกล่าวหลุดรอดผลิตออกมาอยู่เรื่อยๆ รวมถึงการเสพติดการใช้งานมากจนเกินไป มีผลทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้งาน ที่อาจมีแนมโน้มในการลอกเลียนแบบพฤติกรรมได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน หรือในกลุ่มผู้ใช้งานสูงอายุ
ด้วยเหตุนี้ TikTok- จึงได้เปิดตัว TikTok Safety Day หรือพื้นที่ปลอดภัยบนอพลตฟอร์ม ที่ Creator House by TikTok เพื่อตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการเป็นแพลตฟอร์มที่มอบความสุขและส่งเสริมสภาพแวดล้อมเชิงบวก ด้วยการส่งมอบความรู้ด้านดิจิทัล เพื่อให้เกิดสุขภาวะดิจิทัล และสุขภาพจิตที่ดี ผู้ใช้สามารถแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ในพื้นที่ปลอดภัยบนโลกดิจิทัล
สิริประภา วีระไชยสิงห์ Outreach and Partnerships Lead, TikTok, Trust and Safety กล่าวว่า ความปลอดภัยของผู้ใช้งานและความถูกต้องของข้อมูลเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย 3 ประการ ได้แก่ 1.การต่อต้านข้อมูลที่บิดเบือนไม่เป็นความจริง (Anti-Misinformation) 2. ความปลอดภัยของผู้เยาว์ (Minor Safety) และ 3.สุขภาวะดิจิทัลและการให้ความรู้ทางด้านดิจิทัล (Digital Wellbeing and Digital Literacy) โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยของผู้เยาว์ที่ทาง TikTok ได้ให้ความสำคัญเป็นอันดับที่ 1 เพื่อให้เยาวชนหรือผู้ปกครองที่เข้ามาใช้งาน โดยผู้ที่สามารถเข้าเปิดแอคเคาท์ได้จะต้องมีอายุ 13 ปีขึ้นไป และอายุ 16 ปีขึ้นไปถึงจะสามารถใช้งานฟีเจอร์ส่งข้อความได้ และมีการคัดกรองคอนเทนต์สำหรับเด็กและเยาวชน หรือเนื้อหาที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายที่กระทบกระเทือนทางจิตใจและร่างกาย
ผู้ปกครองมีส่วนในการกำกับดูแลผู้เยาว์ สิริประภา กล่าวว่า ได้มีการพัฒนาเครื่องมือบนแพลตฟอร์ม อย่าง Family Pairing ซึ่งช่วยให้ผู้ปกครองลิงก์ แอคเคาท์ ของบุตรหลานได้ ช่วยปรับแต่งตัวกรองเนื้อหาสำหรับบุตรหลานของตนเองได้ หรือ Content Level ฟีเจอร์ที่ช่วยคัดกรองความเหมาะสมของเนื้อหาสำหรับเด็กอายุ 13 - 17 ปีโดยเฉพาะ รวมถึง Refresh Your For You Feed ที่ช่วยให้คุณปรับแต่งฟีดเนื้อหาตามความสนใจที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้ง Global Youth Consultations หรือสภาเด็กและเยาวชนของTikTok ทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยก็ได้จัดตั้ง Youth Consultation ภายใต้ความร่วมมือกับ iNet และสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยเพื่อรับฟังประสบการณ์ของผู้ใช้แพลตฟอร์มโดยตรง เพื่อพัฒนานโยบายหรือฟีเจอร์ต่างเพิ่มมากขึ้นตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้
สิริประภา กล่าวต่อว่า ในส่วนการต่อต้านข้อมูลที่บิดเบือนไม่เป็นความจริง ซึ่งในปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลต่างๆรวดเร็วมาก ซึ่ง TikTok ก็เป็นอีกช่องทางในการสร้างคอนเทนต์และเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ ที่ทุกคนให้ความเชื่อถือ ดังนั้นจึงได้ดำเนินการเชิงรุกเพื่อต่อต้านข้อมูลที่บิดเบือนและเป็นเท็จ ตลอดจนสแกมและกลโกงต่างๆ อย่างแข็งขัน โดยทุ่มเทผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยมากกว่า 40,000 คนทั่วโลก ที่เข้าใจถึงภาษาและบริบทของแต่ละประเทศ ในการทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติ และใช้นวัตกรรมในการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ เพื่อให้ทั่วถึงครอบคลุมมากขึ้น เพราะอาจจะมีคอนเทนต์ที่ไม่ตรงกับหลักเกณฑ์ชุมชนอาจจะหลุดรอดไป จึงมีศูนย์กลางข้อมูล (Information Hub), Information Tag, และ Live Banner TikTok ซึ่งทีมตรวจสอบคอนเทนต์ก็มีความท้าทายที่จะต้องดำเนินการให้รวดเร็วภายในระยะเวลาที่สั้นมากๆให้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้น อาจจะต้องใข้ระยะเวลาในการตรวจสอบและพิจารณา
สิริประภา กล่าวเสริมว่า ทั้งนี้ผู้ใช้งานยังสามารถรายงานการหลอกลวงหรือกิจกรรมที่ต้องสงสัยว่าเป็นการฉ้อโกงโดยทันที ผ่าน Self Report ภายใต้หัวข้อการฉ้อโกงและการหลอกลวง ช่วยให้ทีมรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์มสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ยังส่งเสริมให้ผู้ใช้งานได้มีความรู้เพื่อป้องกันตนเองจากกลโกง หรือการหลอกลวงที่อาจเกิดขึ้นผ่านทาง Safety Center รวมถึงให้สามารถรู้เท่าทันข้อมูลที่ไม่ถูกต้องต่างๆ ผ่านการแนะนำให้ทุกคนในคอมมูนิตี้ของเรามีความตื่นตัว และระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่ละเอียดอ่อนต่างๆ และหากมีการทำผิดหลักเกณฑ์ชุมชนซ้ำก็มีการลบแอคเคาท์นั้นออกทันที
“การดูแลทางสุขภาวะดิจิทัลและการให้ความรู้ทางด้านดิจิทัล ผ่านScreen Time Management ที่ประกอบด้วย การแจ้งเตือนเวลาหน้าจอรายวัน และการแจ้งเตือนการพักหน้าจอ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการใช้งานแพลตฟอร์มได้อย่างอิสระ สามารถตั้งเวลาหน้าจอรายวันและรับการแจ้งเตือนเมื่อถึงขีดจำกัด ยังมีฟีเจอร์แจ้งเตือนการนอนหลับ เพื่อช่วยจัดการเวลาอยู่หน้าจอในเวลากลางคืนและส่งเสริมนิสัยการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพ” สิริประภา กล่าว
ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โฆษกกรมสุขภาพจิต, ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต และ TikTok Safety Advisory Councils กล่าวว่า ในสังคมปัจจุบันทุกคนมีการใช้ชีวิตอยู่บนออนไลน์มากขึ้น ซึ่งใน 1 วันเฉลี่ยมีการใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรศัพท์มือถือกว่า 8-9 ชั่วโมงต่อวัน โลกออนไลน์จึงเปรียบเสมือนประตูที่เปิดโอกาสให้ผู้คนได้แสดงออกถึงความสามารถ การมีตัวตน หรือการค้นหาข้อมูลต่างๆ แต่หากเปิดกว้างมากๆอย่างไม่ระวังก็อาจจะเจอกับคนหรือคอนเทนต์ที่อันตรายต่อตัวผู้ใช้งานด้วย ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรง หรือบุคคลที่ไม่หวังทั้งการหลอกหลวง หรือคุกคามทางเพศ ซึ่งแพลตฟอร์ม TikTok ก็มีฟีเจอร์ในการป้องกัน ขณะเดียวกันก็มีบางส่วนที่หลบหลีกได้ ผู้ปกครองก็อาจจะต้องมีการดูแล หรือเยาวชน ก็ต้องเลือกในการรับคอนเทนต์อย่างมีสติ
ผลกระทบโลกโซเชียล ดร.นพ.วรตม์ กล่าวว่า ปัญหาที่พบเจอบนโลกออนไลน์ อย่าง การบลูลี่ที่ไม่เพียงแต่ผู้ถูกกระทำจะได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ยังมีผลกระทบเบื้องหลังอีก คือ การขาดความมั่นใจในตัวเอง ส่วนพฤติกรรมเลียนแบบจากการเสพคอนเทนต์บ่อยๆ คือ การเรียนรู้จากสังคม หมายความว่า เมื่อมีคนทำแบบไหนเยอะๆ ก็จะทำตาม เช่น การดูรีวิวอาหารบ่อยๆ เราก็อยากที่จะทานอาหารแบบนั้นตามได้ และเป็นการใช้สื่อหรือการให้เวลากับสิ่งๆหนึ่งเป็นระยะเวลามากเกินไป ไม่อยู่ในความพอดี อาจจะส่งผลกระทบบางอย่างต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น มีความวิตกกังวลมาก ขาดความมั่นใจอย่างสูง มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือเป็นโรคซึมเศร้าแต่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม กลุ่มคนเหล่านี้หากมีการรับบางสิ่งบางอย่างมากจนเกินกว่าที่ตัวเองจะรับได้ ก็ส่วนให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจและร่างกาย
“ในบางครั้งเมื่อคนคนหนึ่งเกิดพฤติกรรมที่กระทำความรุนแรง เราไม่อาจจะสรุปเจาะจงได้เลยว่านั้นเป็นเพราะเขาเป็นโรคจิตเวช หรือมีปัญหาทางสุขภาพจิต ซึ่งไม่ใช่แค่แพลตฟอร์ม TikTok เท่านั้น แต่รวมถึงทุกแพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์ ดังนั้นหากพบว่าตัวเองมีสภาพจิตใจที่ผิดปกติเกินรับไหว ควรที่จะลองเข้าปรึกษากับจิตแพทย์ได้” ดร.นพ.วรตม์ กล่าว
---------------------
1. สิริประภา วีระไชยสิงห์
2. ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์
3. โหมดการตั้งค่าใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถกำหนดเวลาปิดเสียงการแจ้งเตือนสำหรับเยาวชนได้
4. ฟีเจอร์ความคุมระดับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่อายุระหว่าง 13 - 17 ปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ออสเตรเลียมีแผนจะแบนเครือข่ายออนไลน์สำหรับเด็กและเยาวชน
ออสเตรเลียต้องการสั่งห้ามการใช้เครือข่ายออนไลน์ อย่างเช่น Facebook และ TikTok สำหรับเด็กและเยาวชน นายกรัฐมนต
ว่อนโซเชียล เด็กหอพัก รร.มัธยมเมืองกาญจน์ โพสต์ TikTok 'ช่วยพวกหนูด้วย'
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา เพจสำนักข่าวแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ได้ โพสต์ข้อความใน“ TikTok ว่
AIS ZEED 5G จับมือ TikTok ชวนวัยรุ่นสร้างคอนเทนต์ เป็นครีเอเตอร์หน้าใหม่ ลุ้นรับรางวัลมูลค่ารวมกว่า 100,000 บาท
AIS ZEED 5G ตอกย้ำความเป็นที่ 1 ในใจวัยทีน ร่วมกับ TikTok เปิดตัวกิจกรรมสุดสนุก "ปลดล็อคความซี๊ด ชวนวัยรุ่นสร้างคอนเทนต์" พร้อมเฟ้นหาสุดยอดครีเอเตอร์ขนเหล่า
‘กมลา แฮร์ริส’ เกาะกระแส TikTok ในการรณรงค์หาเสียง
กมลา แฮร์ริส ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสังกัดพรรคดีโมแครต เข้าสู่โลกของ TikTok เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในการ