คืนชีพเสน่ห์เมืองจันท์ วาดอนาคตที่ยั่งยืน

จันทบุรีเป็นแหล่งผลิตพริกไทยขึ้นชื่อตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จนเป็นที่มาของคำขวัญจังหวัดจันทบุรี “ น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช “  ซึ่งพริกไทยพันธุ์ดีจันทบุรี ชาวบ้านเรียกกันว่า “พันธุ์ปรางถี่”  อดีตเกษตรกรปลูกกระจัดกระจายทั่วจังหวัด แต่ตอนนี้พื้นที่ปลูกลดลงจนน่าตกใจ ผลพวงจากการเจริญเติบโตของเมือง การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตลอดจนเกษตรกรหันมาปลูกพืชสวนที่ได้ราคาดีกว่า อย่างทุเรียน มังคุด ส่งผลให้พริกไทยพันธุ์พื้นเมืองแท้ๆ อาจจะเลือนหายไปได้

อาหารพื้นถิ่น จ.จันทบุรี สะท้อนความอุดมสมบูรณ์

มีความพยายามฟื้นฟูพริกไทยพันธุ์พื้นเมืองจันทบุรีให้กลับมาอีกครั้งผ่านงาน Regenerating Local Food & Future  จัดโดย Sustainable Brands (SB) ประเทศไทย และหอการค้าจังหวัดจันทบุรี เพื่อจุดประกายให้เกิดความสนใจต่อความอุดมสมบูรณ์ที่กำลังจะหายไปจากระบบอาหารในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งพริกไทยจันทบุรี สุดยอดเครื่องเทศเป็นหนึ่งในพระเอกของงาน กิจกรรมเน้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงจากเมนูอาหาร ภายใต้ชื่อ “ รสจันท์ที่จางหาย”  (The Lost Recipe) บนฐานแนวคิดการกู้คืนสูตรตำหรับอาหารเมืองจันท์ที่แท้จริงให้ฟื้นกลับคืนมา The Regenerative Dinner – The Lost Recipe “Herb – Heritage – Hope”   

เรียนรู้สำรับอาหารท้องถิ่นผ่านนิทรรศการเล่าเรื่องเมืองจันท์

ในสำรับประกอบด้วยเมนูปลาราดซอสพริกไทยจันท์ นำสมุนไพรจันท์มาทำซอสให้รสชาติเผ็ดร้อน และกลิ่นหอมมีเอกลักษณ์เฉพาะ ประกอบกับปลาอินทรีย์จากแหล่งทะเลเมืองจันท์ที่อุดมสมบูรณ์ ปราศจากมลพิษ ,ผัดผักหวานป่า  เมนูอาหารพื้นบ้านแสดงถึงความชุ่มชื้นทางธรรมชาติ ป่าเขาเมืองจันท์ แถบ อ.เขาคิชฌกูฎ อ.แหลมสิงห์  อ.โป่งน้ำร้อน อ.เขาสอยดาว ,แกงเขียว เป็นแกงป่าเครื่องแกงประกอบด้วยสมุนไพรพื้นบ้านหลายชนิด  เช่น ข่า ตะไคร้  หอมแดง กระเทียม ผิวมะกรูด  ดอกกระเพรา ดอกโหระพา  ดอกยี่หร่า  พริกไทยเม็ด และพริกสดสีเขียว ผัดเครื่องแกงด้วยน้ำเปล่าใส่เนื้อปลา รสเผ็ดร้อน แล้วยังมีเมนูหมูทองเด่นที่เครื่องเทศ เครื่องพะโล้ เคี่ยวจนนุ่ม กับข้าวสวยร้อนๆ ทุกเมนูรังสรรค์โดยทีมภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

แกงเขียว แกงป่าพื้นบ้าน เครื่องแกงมีพริกไทยเม็ด

ภายในงานมีนิทรรศการบอกเล่าสิ่งที่จะเลือนหายไปของเมืองจันทบุรี  นอกจากตำรับอาหารจันท์ ยังเสนอเรื่องการทำเสื่อจันทบูร เสื่อที่ถักทอจากกกน้ำกร่อยหรือกก2 น้ำ มีคุณสมบัติโดดเด่นเรื่องความเหนียวทนทาน ไม่เป็นเชื้อราง่าย เมื่อนำไปใช้งาน ซึ่งปัจจุบันกกตามธรรมชาติลดลงจากระบบนิเวศเสื่อมโทรม   แล้วยังมีเรื่องเมืองจันทบุรีในมิติเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ฯลฯ

การทำเสื่อจันทบูร อีกของดีที่จากทรัพยากรท้องถิ่น

กิจกรรมยังนำไปสู่ห้องเรียนธรรมชาติอันร่มรื่นที่ สุธีร์ ออร์แกนิก ฟาร์ม จันทบุรี ฟาร์ม ออร์แกนิก แห่งนี้ เป็นสวนผสมผสานยืนหนึ่งในจันทบุรี สุธีร์ ปรีชาวุฒิ เป็นเจ้าของสวน ขณะนี้พยายามคืนชีพพริกไทยจันทบุรี มีการลงต้นพริกไทยพันธุ์ปรางถี่ รักษาเอกลักษณ์ด้านคุณสมบัติโดดเด่นที่เผ็ดร้อนและหอมกว่าพันธุ์อื่น  ปัจจุบันพริกไทยจันทบุรีขึ้นทะเบียนจีไอเป็นที่เรียบร้อย

ที่นี่ได้เรียนรู้การนำแนวคิดฟื้นคืนสมดุลภาคเกษตรกรรมไปใช้จริงในระบบเกษตรและอาหาร รวมถึงระบบการฟื้นฟูเมืองที่เป็นการกอบกู้ชีวิตและเสน่ห์ที่แท้จริงของเมืองจันท์ให้กลับมาอีกครั้ง ผ่านเรื่องราวของวัตถุดิบหลักของจันทบุรี คือ พริกไทยและกระวาน พืชสำคัญของประเทศไทย ที่อุดมคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม  

อุกฤษฏ์ วงษ์ทองสาลี ประธานหอการค้าจันทบุรี กล่าวว่า รสจันท์ที่จางหาย (The Lost Recipe) เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการบูรณาการการทำงานร่วมกันที่จะรื้อฟื้นตำรับอาหารพื้นเมืองจันทบูรที่กำลังจางหายให้กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง  โดยกิจกรรมได้นำพริกไทยปางถี่และกระวานจันท์มาเชิดชูอยู่ในตำรับอาหาร เรามุ่งหวังกันว่า มื้อพิเศษนี้จะให้ทุกคนสัมผัส รู้สึก และสำนึกต่อพลังของถิ่นที่จันทบุรี (Power of Place) ในฐานะของห้องนั่งเล่นของภาคตะวันออก (Living Room of the East) และช่วยกันเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ อันจะนำไปสู่การฟื้นฟูของคนกับธรรมชาติให้อยู่ร่วมกันอย่างที่เคยเป็น สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน

มาร์ค บัคลีย์ พาชิมกระวานเมืองจันท์

มาร์ค บัคลีย์ นักคิดและนักปฏิบัติการด้านอาหารจาก UN SDG  กล่าวว่า ถ้าพูดเรื่องระบบนิเวศอาหาร  สิ่งสำคัญอันดับต้นๆ คือ ภาคเกษตรกรรม ทั้งการปลูกพืชพันธุ์และการทำฟาร์มต่างๆ การฟื้นคืนภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะการกู้คืนระบบอาหารของพริกไทยจันท์และลูกกระวานจันท์ เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องเข้าใจจริงๆ และจะสามารถลงมือแก้ปัญหาทั้งระบบ เกษตรกรรมแบบฟื้นฟูเพื่อสร้างคุณค่า เป็นวิธีการที่ไม่ใช่แค่รักษาสิ่งที่มีอยู่ไม่ให้หมดไป แต่ยังนำสิ่งที่หายไปให้กลับมามีชีวิตที่สมบูรณ์ผ่านกระบวนการต่างๆ อาทิ การพลิกฟื้นคุณภาพดินที่ถูกทำลายไป การเพิ่มความหลากหลายในผืนดิน รวมทั้งพัฒนาวงจรการใช้น้ำในการทำการเกษตร เป็นต้น

“ ผมอยากนำเสนอแนวทางปรับปรุงและแก้ไขที่เป็นนวัตกรรมที่มีศักยภาพจริงๆ ที่จะช่วยกำหนดอนาคตที่มีมนุษยชาติ รวมถึงโลกของเราจะฟื้นตัวได้จริงได้ยั่งยืน ผ่านแนวคิดเกษตรกรรมแบบฟื้นฟู  ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การกักเก็บคาร์บอนไว้ในดินสามารถช่วยชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยทำให้สภาพอากาศมีเสถียรภาพมากขึ้น  และสามารถสร้างงานสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย ส่งเสริมความสามารถที่จะฟื้นตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ยั่งยืนอีกด้วย ” มาร์ค กล่าว

พริกไทยพันธุ์ดีจันทบุรีต้องฟื้นฟู

สร้างอนาคตเมืองเติบโตรับมือท่องเที่ยว  เป็นอีกประเด็น   เจนนี่ แอนเดิร์สสัน ซีอีโอจาก We Activate The Future, ผู้ร่วมก่อตั้ง The Really Regenerative Centre กล่าวว่า วันนี้เราทำลายเมืองของเราโดยไม่รู้ตัวผ่านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เน้นปริมาณ เพื่อรายได้ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว การพัฒนาศักยภาพของเมือง ของสถานที่ คือ การพัฒนาสถานที่ พัฒนาเมืองผ่านการฟื้นฟู การหาหัวใจของเมืองที่โดนทำลายไปให้ฟื้นคืนชีวิตใหม่ เป็นแนวทางที่มีพลวัต และช่วยกำหนดรูปแบบให้เมือง สถานที่ ให้ประเทศไทยหรือชุมชนท้องถิ่นดีขึ้นได้อย่างมั่นคงยั่งยืน เราจะเรียนรู้ร่วมกันถึงหลักการพื้นฐาน เน้นการสร้างพื้นที่ที่ไม่เพียงแต่แค่ดำรงชีวิตของตนเองเท่านั้น แต่เพื่อการดำรงของทุกชีวิตอย่างเกื้อกูล เพราะแนวคิด Regenerative Placemaking เป็นส่วนสำคัญสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม

จุดประกายสร้างอนาคตเมืองจันทบุรีที่ยั่งยืน

ด้าน ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการ SB ประเทศไทย  กล่าวว่า ริเริ่มนำแนวคิด Regenerative หรือการ “ฟื้นคืน” เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงให้กับทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติที่ต้องดำรงอยู่ด้วยกันอย่างเกื้อกูล โดยเลือกความสำคัญของธุรกิจอาหาร ซึ่งเป็นหัวใจหลักของประเทศ เพราะถ้าระบบอาหารมีการเปลี่ยนแปลงและแข็งแรงแล้ว เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตไปด้วยกันอย่างยั่งยืนได้ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ไปได้ไกลกว่าเดิม

“ งาน SB ในประเทศไทยเน้นสร้างผลงานที่จับต้องได้ เลือกจันทบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่จัดงาน เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพของจันทบุรีสามารถจะผลักดันเป็นจังหวัดต้นแบบแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยแนวคิด Regenerative ความพร้อมของคนจันทบุรี และศักยภาพของแผ่นดินผสานกับพลังของแบรนด์ท้องถิ่นจะเป็นการจุดประกายสิ่งที่มีอยู่แล้วและกำลังจะจางหายถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่อย่างน่าสนใจอีกครั้ง ”ผอ.SB ประเทศไทย ย้ำจันทบุรีมีดีขับเคลื่อนสู่จังหวัดต้นแบบได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดตัว 'ดร.ตี๋' ลงชิงนายกอบจ.จันทบุรี อาสาเปลี่ยนจันทบุรีเชิงบวก

ทำความรู้จัก "ดร.ตี๋" ชาตรี ทิพยเจือจุน ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ.จันทบุรี อาสาเปลี่ยนจังหวัดจันทบุรีเชิงบวก พร้อมทุ่มเทเพื่อประชาชน

เปิดงานเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี รมช.พาณิชย์ ลั่นผลักดันเป็นคลังพลอยก้อน สร้างเครื่องประดับส่งทั่วโลก

ที่ศูนย์ ส่งเสริมอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประ

GIT จับมือ จันทบุรี จัดเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2024

นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยนายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ , นายภูเก็ต คุณประภากร ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี รวมทั้งนางสาวกนกพร ดำรงกุล ผอ.ฝ่ายการตลาดไมซ์ในประเทศ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ TCEB ร่วมแถลงการจัดงานเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2024 “จันทบุรี นครอัญมณี” ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 5-9 ธันวาคม 2567

MUST SEEK! เปิดประตูสู่สวรรค์ สุขท้าลอง @จันทบุรี

บรรยากาศในช่วงปลายฝนต้นหนาวเป็นช่วงเวลาดี ๆ ที่เราจะออกเดินทางเที่ยวชมบรรยากาศของความสดชื่นของผืนป่า ใครที่อยากสัมผัสบรรยากาศแห่งขุนเขาแบบไม่ต้องดั้นด้นเดินทางไกลมาก แนะนำว่าให้มาเที่ยวจันทบุรี

กกท.มอบเงินสิทธิประโยชน์5ล. ผลิตภัณฑ์มูลค่า18ล. ให้'จันท์เกมส์-อัญมณีเกมส์'

นางโปรดปราน สมานมิตร รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ฝ่ายส่งเสริมกีฬา พร้อมด้วย นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและจับสลากแบ่งสายการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 49 “จันท์เกมส์” และ การแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 39 “อัญมณีเกมส์” ครั้งที่ 1/2567