'CECI' นำร่อง 'King Bridge Tower' พลิกมิติก่อสร้างไทยสู่ความยั่งยืน 

ในทุกการก่อสร้างย่อมทำให้เกิดของเสีย มีการใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็นหรือเหลือใช้ในบางส่วน ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองสูญเสียทรัพยากร  มีต้นทุนที่สูง และที่สำคัญคือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นที่มาทำให้เมื่อ6ปีก่อน จึงเกิดการรวมตัวของบริษัทอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่เรียกว่า กลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง (Circular Economy in Construction Industry หรือ CECI)  ที่ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน  36 บริษ้ท ซึ่งมีเจตนารมณ์ มุ่งมั่นในการยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเพิ่มความสามารถในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ (Supply Chain) ช่วยผลักดันอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยให้เติบโตยั่งยืน  โดยกลุ่ม CECI  36 บริษัท ได้ร่วมกันนำร่องโครงการ King Bridge Tower โดยการนำนวัตกรรม BIM มาใช้ในโครงการ เพื่อให้การลดใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพ

BIM  หรือ  Building Information Modeling เป็นซอฟต์แวร์ใหม่ ที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับวงการงานสถาปัตยกรรม และการก่อสร้าง ที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบอาคารไปจนถึงการก่อสร้าง หรือเป็นการใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาควบคุมกระบวนการต่างๆ ระบบจะสร้างแบบจำลองเสมือนของอาคารที่แม่นยำ แบบจำลองแบบดิจิทัล ทั้งการออกแบบ การเขียนแบบ การคำนวณโครงสร้าง การประมาณราคา การจัดซื้อ รวมไปถึงการวางแผนงานต่างๆ ของอาคาร ซึ่งมีข้อดีมากมาย ทำให้งานออกแบบสถาปัตยกรรม งานโครงสร้าง และงานเป็นระบบมากขึ้นกว่าซอฟต์แวร์แบบเดิม ที่เน้นในเรื่องของการเขียนแบบและงานนำเสนอเพียงอย่างเดียว ซึ่งBIMจะช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาทำงานให้น้อยลง

ที่ผ่านมา แกนนำหลักของCECI ที่นำโดยเอสซีจี พร้อมด้วยองค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมก่อสร้าง 36 บริษัท ร่วมประชุมหารือความคืบหน้าและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการและการลดเศษวัสดุในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy  นำนวัตกรรมมาช่วยในจัดการเศษวัสดุที่เกิดจากกระบวนการก่อสร้างเพื่อนำมากลับมาใช้ใหม่ นำไปสู่การก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน  

นายนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ประธานความร่วมมือกลุ่ม CECI กล่าวว่า  ความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างที่ได้นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน  มาประยุกต์ใช้ และตัวอย่างความร่วมมือในเครือข่าย CECI เกิดผลเป็นรูปธรรม อาทิ โครงการ King Bridge Tower ถือเป็นโครงการนำร่องของกลุ่ม CECI ที่ดำเนินการร่วมกันตั้งแต่กระบวนการออกแบบ การจัดซื้อจัดจ้าง และขั้นตอนการก่อสร้าง โดยใช้ BIM เป็นเครื่องมือในการออกแบบ เพื่อลดการใช้ทรัพยากร ลดการเกิดของเสียที่หน้างาน และลดระยะเวลาก่อสร้าง โดยเอสซีจีเป็นที่ปรึกษาตั้งแต่การสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Model) ที่ประยุกต์มาจาก “10 Circular Business Models for More Sustainable Construction” ของ Roland Berger รวมถึงให้คำแนะนำในการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ในโครงการนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการพัฒนาให้เกิดระบบและโครงการอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับวงการอุตสาหกรรมก่อสร้างสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

นอกจากนั้น ยังเกิดความร่วมมือในการจัดการคอนกรีตเหลือใช้จากไซต์ก่อสร้าง อาทิ 1) บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ในโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ 2) บริษัท TCC Asset ในโครงการ ONE Bangkok 3) บริษัทไทยโอบายาชิ  ในโครงการ O-Nes Tower และ 4) บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด ในโครงการเซ็นทรัล ศรีราชา เป็นต้น

ด้านนายอรรถสิทธิ์ วิทยกิจพิพัฒน์ General manager – Information Technology and Sustainability บริษัท จาร์ดีน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เจ้าภาพจัดประชุมครั้งนี้ กล่าวว่า กลุ่ม CECI ถือเป็นความร่วมมือของหลากหลายภาคส่วนที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจร่วมกันในการริเริ่มและผลักดันให้เกิดกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการเศรษฐกิจหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือระหว่างพันธมิตร การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การต่อยอดองค์ความรู้เพื่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ จึงทำให้เกิดการทำงานอย่างที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมการก่อสร้างไทย

นายวิชัย รายรัตน์ Sustainable Development Director บริษัทเอสซีจีฯ กล่าวว่า โครงการ King Bridge Tower ที่เป็นโครงการนำร่องของกลุ่ม ได้เริ่มโครงการเมื่อประมาณ 3ปีที่แล้ว และจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2567  การที่เลือกโครงการนี้มานำร่องความร่วมมือเศรษฐกิจหมุนเวียนก็เพราะ ทั้งเจ้าของโครงการ บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ผู้ออกแบบ และส่วนอื่นๆล้วนเป็นสมาชิกในกลุ่ม CECI ทำให้ง่ายในการประสานความร่วมมือ สำหรับการนำซอฟต์แวร์ BIM มาใช้ในโครงการ เป็นรายแรกในประเทศไทย แม้ว่าในต่างประเทศจะมีการใช้ซอฟต์แวร์ตัวนี้มานานแล้ว ทำไมประเทศไทยเพิ่งมีการใช้ ก็เพราะหากไม่มีการรวมตัวกัน ในกลุ่ม CECI  การทำงานก็จะเป็นเรื่องยาก เนื่องจาก ที่ผ่านมาอาจจะมีการนำซอฟต์แวร์BIMไปใช้ในเรื่องของการออกแบบ แต่ก็ไม่ได้ทำไปพร้อมๆ กับการใช้ในส่วนของการก่อสร้าง ซึ่งการจะทำให้โครงการมีความแม่นยำในการวางแผนก่อสร้าง ลดการสูญเสีย ทั้งผู้ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อการออกแบบ และใช้ซอฟต์แวร์เพื่อการก่อสร้างจะต้องทำงานร่วมกัน มีความเข้าใจตรงกัน ถือว่าเป็นการเคลียร์ความเข้าใจระหว่างผู้ออกแบบกับผู้ก่อสร้าง ทำให้สร้างมาแล้วไม่ค่อยผิดพลาด หรือสร้างมาแล้วต้องทุบทิ้งเหมือนในอดีต ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียได้มาก

“การจะใช้ BIM ได้ต้องเป็นโครงการที่ใหญ่ๆ ซี่งแม้CECI จะรวมตัวกันเมื่อ 6 ปีก่อน แต่เพิ่งมีโครงการใหญ่ที่เป็นของสมาชิกในกลุ่มก็คือ King Bridge Tower โครงการนี้จะนำร่องให้ เห็นถึงการก่อสร้างในเชิงขับเคลื่อนในเชิงเศรษฐกิจหมุนเวียน  เพราะในรายละเอียดการก่อสร้าง เราพยายามนำเรื่องนี้ใส่ไว้แทบทุกมิติ แม้แต่เรื่องขยะของเสียที่เกิดจากคนงาน ไม่ว่าเศษอาหาร ที่เหลือก็นำมาเป็นปุ๋ยปลูกผักในโครงการ หรือขยะพลาสติกต่างๆ ที่เป็นปัญหา ก็ขับเคลื่อนด้วยคอนเซ็ปต์นี้เช่นกัน “

จำนวนสมาชิก  ของCECI จะขยายเพิ่มขึ้นหรือไม่ วิชัย กล่าวว่า โครงการมุ่งเน้นความสมัครใจการเข้าร่วมกลุ่ม ซึ่งเรามีเจตนาต้องการเปลี่ยนวิถีอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทย ไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น ลดขยะ ลดการสูญเสียทรัพยากร ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่ทุกอย่างเป็นสิ่งที่ค่อยเป็นค่อยไป เชื่อว่าบริษัทที่มีศักยภาพ จะเห็นประโยชน์ของการขับเคลื่อนโครงการ และสมัครใจเข้าร่วมในที่สุด

“โครงการ  King Bridge Tower อาจจะเป็นรูปธรรม ที่เห็นชัดตอนนี้ ในการขับเคลื่อนของ CECI ซึ่งอาจจะทำให้บริษัทในวงการก่อสร้างเกิดแรงบันดาลใจ มาช่วยกันพลิกมิติวงการอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ไปสู่มิติใหม่ “วิชัยกล่าว

สำหรับกลุ่ม CECI ประกอบด้วย บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทสถาปนิกและที่ปรึกษาด้านการก่อสร้าง บริษัทผู้ผลิต บริษัทผู้รับหมาก่อสร้าง และบริษัทผู้ให้บริการจัดการของเหลือจากการก่อสร้าง มีแผนงานที่จะเผยแพร่ความรู้เรื่องการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้างให้กับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีความสนใจที่จะนำเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อมุ่งยกระดับการดำเนินอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Construction) อย่างยั่งยืนต่อไป

 ‘KingBridge Tower’  เป็นอาคารสำนักงานให้เช่า มีบริษัทในเครือสหพัฒน์ เป็นเจ้าของโครงการ ตั้งอยู่ใกล้กับสะพานภูมิพล บนถนนพระราม 3 ออกแบบภายใต้แนวคิด ‘The Spirit of Synergy’ เชื่อมทุกความสำเร็จอย่างยั่งยืน ได้รับเลือกให้เป็น “โครงการต้นแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม’ ตามหลัก CECI 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา 'ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ' รายแรกของไทยบุกตลาดโลก

ทำไมปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำได้รับการยอมรับระดับโลก ส่งออกสู่อเมริกา 1.3 ล้านตัน แคนาดา ออสเตรเลีย อาเซียน

คนไทยสนใจทำงาน 'การผลิต-ก่อสร้าง' ที่ญี่ปุ่นยื่นใบสมัครฟรีได้ถึงมิถุนายน

'คารม' เชิญชวนผู้สนใจทำงานในญี่ปุ่นประเภทงานอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมก่อสร้าง ยื่นสมัครออนไลน์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายถึง มิ.ย นี้

เอสซีจี โชว์ผลประกอบการ 66 กำไร 2.5 หมื่นล้าน จ่อปันผลอีก 3.5 บาท

เอสซีจี แถลงผลประกอบการปี 2566 ธุรกิจมั่นคง แม้ยอดขายลดลงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เผยแผนเร่งเครื่องธุรกิจปี 2567 สู้ทุกความท้าทาย รุกธุรกิจกรีน มุ่งสร้างการเติบโตพร้อมสังคม Net Zero งบลงทุน 40,000 ล้านบาท ดันนวัตกรรมรักษ์โลก-ลุยพลังงานสะอาด-ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งออกปูนคาร์บอนต่ำสู่ตลาดอเมริกา ปิโตรเคมีเวียดนาม LSP เตรียมป้อนนวัตกรรมเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงสู่ตลาดโลก ปักหมุดซาอุฯ เชื่อมต่อการค้าทั่วโลก เดินหน้าทรานส์ฟอร์มโครงสร้างธุรกิจ สร้างความคล่องตัว แข็งแกร่ง เติบโตไกล ล่าสุด คว้าที่หนึ่ง ดัชนี ESG ชั้นนำของโลก Morningstar Sustainalytics

'เอสซีจี'ร่วมยินดี'โปรโม–โปรเม' รับรางวัลการทูตสาธารณะ ปี2566

เอสซีจี ร่วมแสดงความยินดีกับ โปรโม-โมรียา และ โปรเม-เอรียา จุฑานุกาล รับรางวัลการทูตสาธารณะ โดยกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับมูลนิธิไทย มอบให้ผู้ทำงานสาธารณประโยชน์ สร้างชื่อเสียงให้ไทยในต่างประเทศ และประสบความสำเร็จในกีฬากอล์ฟระดับโลก เป็นบุคคลต้นแบบสร้างแรงบันดาลใจให้น้องๆ รุ่นถัดไป