เปิดตัวแพลตฟอร์ม XFAS ระบบให้บริการข้อมูลโดรน AI สัญชาติไทย

XFAS (Everything Fast as Services)เป็นแพลตฟอร์มให้บริการเช่าระบบและข้อมูลดิจิตอลทางอากาศจากอากาศยานไร้คนขับแบบระบบสมาชิก(Subscription Service) มีทั้งแบบรายเดือนและรายปี ผู้ใช้บริการสามารถเช่าระบบอากาศยานไร้คนขับและงานบริการการบินเก็บข้อมูลดิจิตอลทางอากาศ (ทั้งภาพถ่ายความละเอียด, 3D Point Cloudsและภาพวิดีโอแบบ Real-Time) ซึ่งเหมาะกับ Startup หรือ SMEsที่ยังไม่ต้องการลงทุนสูงและสร้างความคุ้นชินระบบก่อนโดยผู้ใช้บริการจะได้รับบริการผ่านแพลตฟอร์มพร้อมระบบชำระเงินแบบออนไลน์ และการแจ้งงานให้กับทีมOperation พร้อมการพัฒนาระบบศูนย์กลางข้อมูล (Data Center)และการให้บริการด้านปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจจับสิ่งที่สนใจ หรือส่งข้อมูลไปที่แพลตฟอร์ม DroneBoxด้วยการเชื่อมต่อผ่าน API โดย DroneBox จะแจ้งเตือนผู้ใช้งานให้ทราบผ่านอีเมลเมื่อผลลัพธ์พร้อมใช้งานแพลตฟอร์ม

แพลตฟอร์ม XFAS นั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท ไอครีเอทีฟซิสเตมส์ จำกัด (ICS)ผู้ร่วมพัฒนาโดรน Vilverin VL-340 บริษัท เอ๊กซ์ฟาส จำกัด (XFAS)ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มบริการข้อมูลดิจิทัลทางอากาศ โดยมี ผศ.ดร.สุรเดช ตัญตรัยรัตน์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เป็นหัวหน้าโครงการ และ ผศ.ดร.ดวงเดือน อัศวสุธีรกุล จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับบริษัท แมพพิเดีย จำกัดผู้พัฒนาแพลตฟอร์มประมวลผลภาพโดรนผ่านระบบคลาวด์ (DroneBox)ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยและการผลักดันด้าน Business Model และเชื่อมโยง Ecosystemจากแผนงานกลุ่มดิจิทัลแพลตฟอร์ม บพข.

เมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัวแพลตฟอร์ม XFAS ที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทย ในงาน“XFAS & Vilverin Demo Day”  ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ผศ. ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มดิจิทัลแพลตฟอร์มหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการฯ ที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาแพลตฟอร์มXFAS  กล่าวเปิดงานว่า โครงการนี้ บพข. ได้สนับสนุนทุนวิจัย Project Basedภายใต้แผนงานกลุ่มดิจิทัลแพลตฟอร์ม โดยได้มีการปรับ Business Model ใหม่ทั้งหมดซึ่งทางคณะอนุกรรมการฯ ได้เข้ามาช่วยในการติดต่อไปหาเงินลงทุนจากเอกชน เพื่อสร้าง Ecosystem ในอีกรูปแบบเพื่อผลักดันในงานวิจัยสามารถขยายผลไปสู่สเกลที่สูงขึ้น  ก่อนที่จะนำไปสู่การลงทุนในรูปแบบของการผลิตแบบ Mass Production ที่ประสานกับกลุ่มอุตสาหกรรมของต่างประเทศ และจากความพยายามและความชำนาญเฉพาะตัวของทีมวิจัยมทส. ที่มีเป็นทุนเดิม ประกอบสิ่งที่เราผลักดันเพิ่ม ทำให้เกิดเป็นจิ๊กซอว์ที่ครบวงจร ทั้งในส่วนของ บริษัทไอครีเอทีฟซิสเตมส์ จำกัด (ICS) จาก มทส. ที่ทำเครื่องผลิต UAV และโปรแกรมควบคุมการบิน บริษัท เอ๊กซ์ฟาสจำกัด (XFAS) ที่ให้บริการด้านอากาศยานอัตโนมัติกับลูกค้า และมี Dronebox แพลตฟอร์มประมวลผลภาพโดรนผ่านระบบคลาวด์ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้รับทุนจากพบข. และถือเป็นฟันเฟืองที่สำคัญที่เข้ามาเติมอีกส่วนในจิ๊กซอใหญ่ เพื่อทำBackend AI Analytics ภาพถ่ายความละเอียดสูง ทำให้โครงการวิจัยสามารถ Scale Up ให้นวัตกรรมอากาศยานไร้คนขับก้าวไปสู่การพัฒนาในระดับที่สามารถออกสู่ตลาดได้จริง

XFAS เกิดจากการต่อยอดขยายผลงานวิจัยของห้องปฏิบัติการ Autonomous Control and System  Engineering ที่ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 5 ปี ภายใต้ทุนสนับสนุนจากแผนงานกลุ่มดิจิทัลแพลตฟอร์มบพข. และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) จนเกิดเป็นนวัตกรรมระบบอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง รุ่น Vilverin VL340  โดยการพัฒนาร่วมกับบริษัทด้านอากาศยานไร้คนขับในประเทศ อาทิ บริษัท XtremeComposite จำกัดและบริษัท ไอครีเอทีฟซิสเตมส์ จำกัด โดยอากาศยานประเภทนี้เหมาะกับภารกิจที่ต้องการบินนานและไกล ซึ่งสามารถครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ อาทิ การสำรวจแนวท่อก๊าซ การสำรวจสายส่งกำลังทางไฟฟ้า การสำรวจเหมืองขนาดใหญ่ การสำรวจรางรถ การสำรวจป่าและการประเมินคาร์บอนเครดิตและการทำแผนที่เมือง สำหรับโครงการ SmartCity เป็นต้น

ปัจจุบัน Vilverin VL340  พร้อมที่จะเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดในระดับ TRL7 ซึ่งยังต้องดำเนินการขยายผลผลิตภัณฑ์นี้ในรูปแบบของธุรกิจเชิงพาณิชย์ให้ออกไปสู่การใช้งานจริงในตลาดอุตสาหกรรมต่าง ๆ การต่อยอดการขยายผลงานวิจัยครั้งนี้ จึงทำให้นวัตกรรมอากาศยานไร้คนขับก้าวไปสู่การพัฒนาในระดับ TRL9  และออกสู่ตลาดด้วยแพลตฟอร์มกลางในชื่อ XFAS หรือEverything Fast as Services

 นอกจากนี้ ในงานเปิดตัวครั้งนี้ ได้มีการสาธิตการใช้งานแพลตฟอร์มบริการข้อมูลดิจิทัลทางอากาศ XFAS ร่วมกับโดรน Vilverin VL-340 ในการสำรวจแผนที่ทางอากาศ การสำรวจอาคารสถานที่และบริเวณโดยรอบ และการสำรวจฟาร์มเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อการซ่อมบำรุง แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการวิจัยพัฒนาและการผลิตโดรนและแพลตฟอร์มการให้บริการข้อมูลทางอากาศของประเทศไทยซึ่งนับเป็นอีกก้าวหนึ่งของความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย  

แพลตฟอร์มบริการข้อมูลดิจิทัลทางอากาศ XFAS เปิดให้บริการแล้วในหลากหลายแพ็กเกจ ราคาค่าบริการ 5,000 – 120,000 บาทซึ่งครอบคลุมการให้บริการภาพถ่ายความละเอียดสูง แผนที่เมืองสามมิติ ทำแผนที่ป่าสามมิติ แผนที่การเติบโตของพืช โมเดลสิ่งก่อสร้างและประเมินปริมาตรกองสินค้า ผู้สนใจทดลองใช้งานแพลตฟอร์มบริการข้อมูลดิจิทัลทางอากาศ XFASสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล [email protected] หรือโทรติดต่อสอบถาม (+66) 89767 2256

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บ๊อช ใช้ซอฟต์แวร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เสริมความอัจฉริยะให้กับผลิตภัณฑ์ และช่วยให้ชีวิตผู้คนปลอดภัยยิ่งขึ้น

ซอฟต์แวร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตยุคปัจจุบัน โดย Bosch เล็งเห็นโอกาสว่าซอฟต์แวร์และบริการอัจฉริยะจะเป็นสิ่งสำคัญในอนาคต จึงมุ่งเน้นไปที่โอกาสเหล่านี้ตั้งแต่เริ่มต้น โดยปัจจุบัน AI

AI กับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก: มุมมองและวิสัยทัศน์จาก CEO EBC Financial Group

ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจโลก David Barrett CEO ของ EBC Financial Group (UK) Ltd ได้แสดงมุมมองที่น่าสนใจผ่านการสัมภาษณ์กับ

”พิพัฒน์“ เปลี่ยนกระทรวงสู่ยุคAI สร้างทักษะการใช้ AI บริการหางาน พัฒนาฝีมือ แจ้งข้อร้องเรียน รับสิทธิประกันสังคม ให้สะดวก รวดเร็วขึ้น .

วันที่ 23 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในงานการประชาสัมพันธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์และการนำไปใช้สำหรับบุคลากรภาครัฐ (Kick off Artificial Intelligence Literacy for Government officer)

'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' ของไทย ไม่บ้ายกให้กัมพูชา จ่อติวเข้ม สส. แจงปชช.

'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' เป็นของไทย โต้เฟกนิวส์ใช้เอไอปล่อยข่าวมั่ว ชี้ใครจะบ้ายกให้ เตรียมติว สส. เพื่อไทย แจงประชาชนถึงที่มา MOU 44

เชฟรอนแถลงความสำเร็จการทดสอบนำโดรนมาใช้ในการผลิตปิโตรเลียม ครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการนำเทคโนโลยีโดรนมาประยุกต์เพื่อเพิ่มศักยภาพและความปลอดภัย

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด แถลงผลสำเร็จของการทดสอบความเป็นไปได้ (Proof of Concept) ของการนำอากาศยานไร้คนขับหรือ