ยูเนสโกประกาศรับรอง ‘เชียงราย’ เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านออกแบบ และ’สุพรรณบุรี’ เมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี วธ.มั่นใจเป็นหมุดหมายใหม่สร้างรายได้
2 พ.ย.2566 – นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ประกาศผลการรับรองเมืองสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ 55 เมืองทั่วโลก เมื่อวันที่ 31 ต.ค.2566 ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ประเทศไทยของเราได้มีเมืองที่มีเอกลักษณ์และได้รับการรับรองจากยูเนสโก ยกจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ (City of Design) และจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี (City of Music) โดยทั้ง 55 เมืองสร้างสรรค์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองที่กำลังเป็นผู้นำในการเพิ่มการเข้าถึงวัฒนธรรม และกระตุ้นพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ ปรับประยุกต์ใช้วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาเมืองรวมทั้งมีแนวปฏิบัติเชิงนวัตกรรมในการวางแผนพัฒนาเมืองที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง อีกทั้ง 55 เมืองสร้างสรรค์ที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่นี้ จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (the UNESCO Creative Cities Network :UCCN) ประจำปี 2024 ระหว่างวันที่ 1 – 5 กรกฎาคม 2567 ที่เมืองบรากา ประเทศโปรตุเกส ภายใต้หัวข้อ “Bringing Youth to the table for the next decade”
“ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มุ่งเน้นนำวัฒนธรรมสร้างเศรษฐกิจ จึงพร้อมส่งเสริมการสร้างรายได้ด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้วัฒนธรรมเป็นกลไกหนึ่งในการเชื่อมและสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับนานาประเทศ เปิดกว้างความหลากหลายทางอัตลักษณ์ ความเชื่อ และความคิด ให้ประเทศไทยเป็นหมุดหมายของผู้คนที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ และเป็นกลไกในการพัฒนาประเทศต่อไป โดยคาดว่าเมืองเชียงรายและเมืองสุพรรณบุรีที่ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ในปีนี้ จะเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของไทยที่จะสร้างรายได้ เกิดกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้มีมูลค่าการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน” นายเสริมศักดิ์กล่าว
นายเสริมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับรองเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกแล้ว 5 แห่ง ได้แก่ ภูเก็ต เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร (City of Gastronomy ) ปี 2558 ,เชียงใหม่ เมืองสร้างสรรค์ของประเทศไทย สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Crafts and Folk Art) ปี 2560 , จังหวัดสุโขทัย เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ( City of Crafts & Folk Art) ในปี 2562 และจังหวัดเพชรบุรี เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร หรือ City of Gastronomy ในปี 2564 ซึ่งทำให้เมืองดังกล่าวได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เกิดการเดินทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวมากขึ้น
นอกจากนี้ ประชาชนชาวไทยยังสามารถเตรียมลุ้นให้เมืองเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 17 ในปี พ.ศ. 2568 (UCCN Annual Conference 2025) อีกด้วย โดยมีกระทรวงวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนงานและผลักดันเมืองเชียงใหม่ ให้เป็น 1 ใน 5 เมืองที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ของประเทศไทย สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Crafts and Folk Art) ในวาระการเสนอเมืองเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปี ครั้งที่ 17 ในปี พ.ศ. 2568 โดยองค์การยูเนสโกจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ช่วงปลายปี 2566 นี้ www.unesco.org/en/articles/55-new-cities-join-unesco-creative-cities-network-world-cities-day?fbclid=IwAR14Rcizuj7fFsuff9mLU7gCKFyYueVEg6k57i-rcjAPjHLvLemxBCWLh4g
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยูเนสโกขึ้นทะเบียน ‘ต้มยำกุ้ง’ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้วธ.จัดฉลองยิ่งใหญ่ 6-8 ธ.ค.ที่เอ็มควอเทียร์
4 ธ.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The nineteenth session of the Intergovernmental Committee for the
แสดง'โขน-โนรา'สานสัมพันธ์ที่เขมร
25 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายนำมิติทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมมาส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียนและเวทีนานาชาติ
ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ
ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
สืบสานประเพณีถวายผ้าพระกฐินวัดหนองแวง แหล่งรวมมรดกวัฒนธรรม
5 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในเทศกาลกฐิน พุทธศักราช 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐินให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษา