19 ต.ค. 2566- นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะผู้บริหาร ตรวจเยี่ยมการดำเนินภารกิจของกรมควบคุมโรค และเยี่ยมชมรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทาน ซึ่งออกให้บริการช่วงสถานการณ์โรคโควิด 19 พร้อมมอบนโยบายให้กับผู้บริหารและบุคลากร โดยมี นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ
นายแพทย์ชลน่าน กล่าวว่า กรมควบคุมโรคมีระบบป้องกันและควบคุมโรคที่มีศักยภาพในการรับมือทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ รวมทั้งโรคจากภัยธรรมชาติ มีการนำดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการบริหารจัดการ เพิ่มประสิทธิภาพระบบการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ จนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งเชื่อมั่นได้ว่าสามารถขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการยกระดับ 30 บาท ที่มีการกำหนด Quick Win ให้เห็นผลได้ใน 100 วันแรก โดยเฉพาะ มะเร็ง ครบวงจร ครอบคลุมมะเร็งสำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ 1.มะเร็งปากมดลูก โดยเตรียมพร้อมฉีดวัคซีน HPV ให้นักเรียน/นักศึกษาหญิง ทั่วประเทศ (อายุ 11 – 20 ปี) ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 นี้ และจะกระจายวัคซีนสู่พื้นที่ทั่วประเทศ รวม 1.43 ล้านโดส เสร็จสิ้นภายในเดือนมกราคม 2567 ซึ่งมะเร็งปากมดลูกพบในหญิงไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม การฉีดวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อได้มากถึง 90% จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกใน 10-20 ปีข้างหน้าได้ 2.มะเร็งท่อน้ำดี โดยการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงด้วยวิธี Urine Rapid Test และคัดกรองมะเร็งตับและท่อน้ำดี ด้วยอัลตราซาวด์ และ 3.มะเร็งตับ โดยการคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี และซี พร้อมให้การรักษาผู้ที่ผลการคัดกรองเป็นบวก
นายแพทย์ชลน่าน กล่าวต่อว่า สำหรับ Quick Win ด้านความปลอดภัยนักท่องเที่ยว คือ “Safety Phuket Island Sandbox” ได้เตรียมประกาศเป้าหมายจังหวัดภูเก็ตปลอดโรคพิษสุนัขบ้า, ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กับผู้ให้บริการนักท่องเที่ยว, คัดกรองผู้เดินทางระหว่างประเทศ, มีระบบ Digital Surveillance และผลักดันให้มีศูนย์สุขภาพนักท่องเที่ยว รวมทั้งบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ร่วมขับเคลื่อนระบบส่งต่อทางอากาศ อาสาฉุกเฉินทางทะเล/อาสาฉุกเฉินชุมชน และถนนอาหารปลอดภัย นอกจากนี้ ยังเตรียมขยายผลในจังหวัดนำร่องของทุกเขตสุขภาพ ได้แก่ น่าน, สุโขทัย, กำแพงเพชร, พระนครศรีอยุธยา, เพชรบุรี, ระยอง, กาฬสินธุ์, อุดรธานี, นครราชสีมา, อุบลราชธานี, ตรัง และกรุงเทพมหานคร ให้ดำเนินตาม 4 มาตรการสำคัญ ประกอบด้วย การคัดกรองผู้เดินทางระหว่างประเทศ ระบบ Digital Surveillance ระบบส่งต่อทางอากาศ และถนนอาหารปลอดภัย ซึ่งจะสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัย ปลอดโรค ให้กับนักท่องเที่ยว เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
“สิ่งสำคัญที่ได้ย้ำให้กรมควบคุมโรคเร่งรัดการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ที่สำคัญใน 2 เรื่อง คือ การควบคุมวัณโรคให้น้อยกว่า 10 ต่อประชากรแสนคน และการลดอัตราการตายจากการจราจรลง 50% จากปี 2554 ซึ่งจากการตรวจเยี่ยมวันนี้ เชื่อมั่นว่า ด้วยศักยภาพของกรมควบคุมโรคที่มีอยู่ จะสามารถดำเนินการทั้ง 2 เรื่องได้สำเร็จอย่างแน่นอน” นายแพทย์ชลน่าน กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่