ครั้งแรกสร้างพระพุทธสิหิงค์ ช่วยกองทุนโบราณคดี

พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่คนไทยเคารพบูชากันอย่างสูง และเมื่อศึกษาประวัติศาสตร์ของพระพุทธสิหิงค์ ไม่เพียงช่วยให้เข้าใจความสำคัญหรือความหมายของพระพุทธสิหิงค์มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังซึมซับความงดงามทางพุทธศิลป์

โอกาสครบรอบ 112 ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร มีการจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์จำลองเพื่อให้ชาวพุทธครอบครองและปฏิบัติบูชา นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์ ถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญลำดับที่ 3 ของประเทศไทย รองจากพระแก้วมรกต และพระพุทธชินราช กล่าวกันว่า พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะละม้ายคล้ายองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากที่สุด เนื่องจากเชื่อว่า พญานาคที่เคยเห็นพระพุทธเจ้าเนรมิตร่างเป็นแบบให้นายช่างปั้นพระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ปางสมาธิ หล่อด้วยสำริดกะไหล่ทอง เป็นพระพุทธรูปประจำเทศกาลสงกรานต์ ที่ทุกปีจะมีการอัญเชิญรูปจำลองของพระองค์มาให้ประชาชนสรงน้ำเป็นประจำ เพื่อเป็นสิริมงคลในการดำเนินชีวิตตลอดทั้งปี โอกาสครบรอบ 112 แห่งการสถาปนากรมศิลปากร กรมศิลปากรได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์จำลอง และเหรียญพระพุทธสิหิงค์ เพื่อนำรายได้ทั้งหมดเข้ากองทุนโบราณคดี ใช้ในการบูรณะโบราณสถาน กิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ  และสวัสดิการลูกจ้างศก.

“ การจัดสร้างครั้งนี้ออกแบบโดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ด้วยฝีมืออันงดงาม ถือเป็นการจัดสร้างครั้งแรก และจัดสร้างจำนวนจำกัด  ไม่เคยจัดสร้างมาก่อน พิเศษคือใต้ฐานของพระพุทธสิหิงค์จำลองทุกองค์ได้บรรจุไม้ช่อฟ้าเดิมซึ่งเป็นส่วนสูงสุดของพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ สถานที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และเทียนชัยเข้าพรรษา ซึ่งถวายองค์พระพุทธสิหิงค์เพื่อเป็นนิมิตแห่งความสว่างไสวของชีวิต “ นายพนมบุตร กล่าว

ในการนี้ ศก.จะจัดพิธีบวงสรวงพระพุทธสิหิงค์ วันพฤหัสที่ 16 พ.ย.2566 ตั้งแต่เวลา 11.29 น. เป็นต้นไป ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์พิพิธภัณฑ สถานแห่งชาติ พระนคร จากนั้นจะจัดพิธีมหาพุทธาภิเษก ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ โดย พระเถรานุเถระ ผู้ได้รับความเคารพนับถือจากประชาชน 9 รูป ประกอบด้วย พระราชพัฒนากร วัดปริวาสราชสงคราม พระราชภาวนาวชิรคุณ วิ. วัดเขาตาเงาะ พระภาวนาวิสุทธิโสภณ วิ. วัดประดู่ พระมงคลวโรปการ วัดชินวรารามวรวิหาร พระครูวิมลญาณอุดม วัดมณีชลขัณฑ์ พระครูวิศิษฐพิทยาคม  วัดโพธิ์ทอง พระครูปฐมวราจารย์ วัดดอนยายหอม พระครูอดุลยวิริยกิจ วัดวังแดงใต้ และพระครูวิสุทธิ์วิทยาคม วัดบ้านไร่ ในวันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2566  เวลา  13.49  น. เป็นวันมหาสิทธิโชค และตรงกับราชาแห่งฤกษ์

“ การจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระที่นั่งองค์นี้สร้างขึ้นสมัยต้นกรุงรัตนดกสินทร์เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งไม่เคยมีการจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกมาก่อน ถือเป็นครั้งแรก โดยจะโยงสายสินจากพระพุทธสิหิงค์องค์จริงมาที่โต๊ะอัญเชิญวัตถุมงคลที่จัดสร้างทั้งหมดภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นเวลา 1 ราตรี เพื่อซึมซับความศักดิ์สิทธิ์จากองค์พระพุทธสิหิงค์ และถือเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง “ อธิบดี ศก. กล่าว

ด้านนายพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย กล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง พระพุทธสิหิงค์จำลองเป็นการจัดสร้างครั้งประวัติศาสตร์ ปลื้มใจได้เห็นงานพุทธศิลป์ที่ทรงคุณค่า พระพุทธรูปและพระเครื่องกับคนไทยอยู่คู่กันมาแต่อดีต  ดีใจที่พระพุทธสิหิงค์จะอยู่คู่คนไทยชั่วนิรันดร์ การบูชาถือเป็นสิริมงคลกับชีวิต โอกาสนี้สมาคมฯ ร่วมสั่งจองพระพุทธสิหิงค์ด้วย เพราะนำรายได้สนับสนุนสวัสดิการลูกจ้างกรมศิลป์

สำหรับรายการพระพุทธสิหิงค์ รุ่น 112 ปี กรมศิลปากร มี 12 รายการ ได้แก่ พระพุทธสิหิงค์ ขนาดหน้าตัก 3 นิ้ว ,5 นิ้ว,9นิ้ว  พระกริ่งพระพุทธสิหิงค์ทองคำ เงิน และบรอนซ์นอก  เหรียญพระพุทธสิหิงค์ทองคำ เงินขัดเงา เงินขัดเงาลงยาสี ประจำวันวัน 7 สี เหรียญพระพุทธสิหิงค์บรอนซ์นอกขัดเงา โลหะสัมฤทธิ์ และทองแดงรมยาซาติน โอกาสนี้ เชิญชวนพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจสั่งจองพระพุทธสิหิงค์ พระกริ่งพระพุทธสิหิงค์ และเหรียญพระพุทธสิหิงค์ ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สอบถามได้ที่ ฝ่ายพัสดุ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง  อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์ โทร.02-126-6559   หรือ facebook พระพิฆเนศวร 108  ปี กรมศิลปากร 

พนมบุตร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บูรณะวัดไชยวัฒนารามนำชีวิตชีวาสู่มรดกโลก

วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา งดงามทรงคุณค่า เป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่และรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาอดีตเมืองหลวงอันยิ่งใหญ่ วัดเก่าแก่แห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของอยุธยา และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่โดย

'4วัด1วัง'เที่ยวมรดกโลกอยุธยายามราตรี

กระแสตอบรับดีสำหรับโครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ยกระดับท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรีเปิดโบราณสถานให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แห่ง ประกอบด้วย 

ย้อนเวลา 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ

ชวนแต่งชุดไทยเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา  ดื่มด่ำกับบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืนที่งดงามในงาน “ 4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ภายใต้แนวคิด “ย้อนเวลา ส่องวิถี ปลุกแสงสี พระนครศรีอยุธยา” โดยจะจัดกิจกรรมตามวัดและโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

โบราณสถานเวียงกุมกามเสียหายหนักจากน้ำท่วม

7 ต.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อติดตามผลกระทบของสถานการณ์อุทกภัยที่มีต่อโบราณสถานสำคัญของจังหวัด โดยพบว่า พื้นที่เวียงกุมกามที่เป็นเมืองโบราณสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอสา

คนรักศิลปฯแย้งผู้ว่าฯทุบปูนปั้นครูทองร่วง ยันผู้เสียหายคือสาธารณะ เตือนผิดม.157

นายวรา จันทร์มณี เลขาธิการชมรมคนรักศิลปวัฒนธรรม อดีตเลขาฯศิลปินแห่งชาติ อังคาร กัลยาณพงศ์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีทุบปูนปั้นครูทองร่วง เอมโอษฐ ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี (ตอนที่ 2) ระบุว่า

วธ.สั่งวางมาตรการลดเสี่ยงโบราณสถานตลอดฤดูฝน

13 ก.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย รู้สึกห่วงใยชาวจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมากที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด