กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระราชดำรัสวันอาหารโลก

กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ เป็นประธานงานวันอาหารโลก ทรงมีพระราชดำรัสเรียกร้องปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำ-จัดสรรน้ำอย่างฉลาด

16 ต.ค. 2566 – เวลา 9.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานงานวันอาหารโลก (World Food Day ) ประจำปี 2566  ณ องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กรุงเทพฯ  โดยมีนายจอง จิน คิม ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกขององค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO)  ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำจากทั่วภูมิภาค เฝ้าฯ รับเสด็จฯ

ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะทูตสันถวไมตรีของ FAO ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “ ประชากรเกือบ 2,500 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศที่มีความตึงเครียดในด้านน้ำอยู่ในขณะนี้ การแย่งชิงทรัพยากรอันหาค่ามิได้นี้สร้างปัญหาที่เด่นชัด เนื่องจากน้ำจืดลดน้อยลง แต่ความจำเป็นในการผลิตอาหารกลับมากขึ้น เพื่อป้อนประชากรในภูมิภาคที่กำลังเติบโต  ข้าพเจ้าขอเรียกร้องให้เร่งดำเนินการในด้านนี้ เราจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เราต้องเริ่มปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำ และจัดสรรน้ำที่เรามีอย่างชาญฉลาด เราต้องผลิตอาหารให้ได้มากขึ้นโดยใช้น้ำน้อยลง และเราต้องทำให้มีการกระจายน้ำอย่างเท่าเทียมเพื่อที่ทุกคนจะได้มีน้ำใช้อย่างยั่งยืน”

นายจอง จิน คิม  ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ FAO กล่าวว่า เราต่างตระหนักดีว่า การสร้างความมั่นคงให้กับการใช้และการเข้าถึงทรัพยากรน้ำจืดอันล้ำค่าอย่างยั่งยืนนั้นสำคัญต่อภาพรวมของการบรรลุเป้าหมายวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนค.ศ. 2030  น่าเสียดายว่า เรายังห่างไกลจากเป้าหมายมาก การขาดแคลนน้ำกำลังรุนแรงขึ้นอย่างน่าตกใจ ตามการคาดการณ์ของเราความต้องการใช้น้ำจืดจะสูงเกินปริมาณประมาณ 40% ภายในปี พ.ศ. 2073 ดังนั้น การบริหารจัดการการขาดแคลนน้ำ โดยทำให้การบริโภคและการใช้ทรัพยากรน้ำเป็นไปอย่างยั่งยืนจะเป็นความท้าทายที่สำคัญสูงสุดในศตวรรษที่ 21 นี้

นอกจากนี้ ทรัพยากรน้ำใต้ดินซึ่งเกษตรกรจำนวนมากต้องพึ่งพาถูกใช้งานเกินพอดี และปนเปื้อน ในขณะที่รูปแบบของฝนตกมีความแปรปรวน สร้างความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นให้กับการวางแผนชลประทาน ท้ายที่สุดเกษตรกรจึงต้องการความสนับสนุนและเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อสามารถเป็นตัวแทนผลักดันการบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืนและทนทานต่อสภาพอากาศ ทั้งนี้ผู้วางนโยบาย ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และผู้บริโภคต่างก็มีบทบาทสำคัญในการบรรเทาความไม่สมดุลระหว่างปริมาณและการใช้น้ำจืดด้วยเช่นกัน

นายจอง จิน คิม กล่าวต่อว่า FAO มีบทบาทอย่างโดดเด่นในการนำเสนอทางออกเพื่อรับมือกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องการขาดแคลนน้ำ และภัยพิบัติด้านน้ำเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงภัยแล้งและน้ำท่วม ในหลายกรณีส่งผลกระทบต่อครอบครัวของเกษตรกรอย่างหนักหน่วงกว่าภาคอื่นๆ โครงการกำลังดำเนินการในภูมิภาคนี้ ได้แก่ Water Scarcity Programme มีเป้าหมายจำกัดการใช้น้ำให้อยู่ในขอบเขตของความยั่งยืน และเตรียมให้ประเทศในภูมิภาคมีความพร้อมสำหรับการพัฒนาในอนาคตโดยที่มีการใช้น้ำน้อยลง  โครงการนี้มอบความช่วยเหลือแก่ประเทศในภูมิภาคให้บริหารจัดการน้ำบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ให้สอดคล้องกับภาวะขาดแคลนน้ำที่กำลังรุนแรงขึ้น

ทั้งนี้ ปัจจุบันประชากรกว่า 780 ล้านคน ต้องพึ่งพาแม่น้ำที่ไหลผ่านหลายเขตแดนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โครงการ Transboundary Water Programme ของ FAO ช่วยให้ประเทศต่างๆ พัฒนาความร่วมมือข้ามพรมแดนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ใช้ร่วมกันในภูมิภาค โดยเสริมสร้างศักยภาพด้านความรู้ที่จำเป็น เช่น การจัดทำบัญชีน้ำ การจัดสรรน้ำ การประเมินการไหลของน้ำในสิ่งแวดล้อม การพัฒนากลไกเพื่อบริหารจัดการภัยน้ำท่วมข้ามพรมแดนและการกัดกร่อนดินอย่างมีประสิทธิภาพ ลดแรงกดดันต่อแหล่งน้ำที่ถูกใช้งานมากเกินไป

ด้านนาย Dipak Gyawali อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรน้ำแห่งเนปาลและประธานมูลนิธิอนุรักษ์น้ำแห่งเนปาล กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนได้เพิ่มความท้าทายให้ความเกี่ยวโยงกันระหว่างน้ำ พลังงาน และอาหารที่มีความซับซ้อนมากอยู่แล้ว แนวทางการพัฒนาที่มุ่งเป้าหมายเดียวมักสร้างผลกระทบที่เป็นลบ และผลักภาระให้ภาคอื่นๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโดยรวม หน่วยงานทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติที่มุ่งหวังจะแก้ปัญหาที่ยากเย็นนี้ให้สำเร็จจึงต้องดำเนินนโยบายโดยคำนึงถึงกลุ่มทางสังคมที่ทำงานอย่างโดดเดี่ยว หรือกำลังทำงานอย่างหนัก และเปิดให้กลุ่มเหล่านั้นมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ และแสดงความคิดเห็นด้านนโยบาย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สะพัด! 'ทักษิณ' พบ 'อันวาร์' บนเรือยอชต์ กลางทะเล

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 09.30-11.30 น. นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา และอดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางด้วยเรือยอชต์จากพื้นที่ จ.ภูเก็ต

'ก๊วนธรรมนัส' เปิดตัวเข้าคอก 'กล้าธรรม' ลั่นทำการเมืองสร้างสรรค์ ไล่พรรคร่วมฯค้านบ่อยๆก็ออกไป

พรรคกล้าธรรม นำโดยนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าพรรค พร้อมด้วย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา และสส.จำนวน 20 คนที่ถูกพรรคพลังประชารัฐขับออก

20 สส. ก๊วนธรรมนัส ย้ายเข้าพรรคกล้าธรรมแล้ว เพิ่มจำนวน สส.เป็น 24 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่ม สส. 20 คนที่ถูกขับพ้นพรรคพลังประชารัฐเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้แก่ 1.ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา 2.นายจตุพร กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี 3.นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ 4.นายจีรเดช ศรีวิราช สส.พะเยา 5.นายชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงาน'ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก'

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปยังเขื่อนขุนด่านปราการชล อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ทรงเปิด “ศูนย์ฝึกอบรมสุดาเดือนเพ็ญและที่พักของมูลนิธิชัยพัฒนา” และงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวั

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตรงานกุหลาบรวมน้ำใจ เทิดไท้องค์ราชัน

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรการจัดแสดงกุหลาบเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  6 รอบ  ในงานกุหลาบรวมน้ำใจ

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงานกาชาดปี 2567

11 ธ.ค. 2567 เวลา 17.00 น.  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี       สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานกาชาดประจำปี 2567 ภายใต้