ยอดไซเคิลขวด PET ไทยพุ่งแตะ 80%  แต่ไม่พอความต้องการกระแสรักษ์โลก

ในฐานะบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก ที่มีการดำเนินธุรกิจใน 6 ทวีป ได้แก่ เอเชีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา และออสเตรเลีย ของ อินโดรามา เวนเจอร์ส และหนึ่งในธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างโดดเด่นต่อเนื่องนั้นก็ คือ  ธุรกิจรีไซเคิลขวดพลาสติก  PET ผลิตเส้นใยและเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล (rPET)  หลังจากดำเนินธุรกิจนี้มาตั้งแต่ปี 2554-2565 ได้มีการรีไซเคิลขวด PET ไปแล้วกว่า 1 แสนล้านขวด  ลดการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ถึง 2.9 ล้านตัน
สอดคล้องกับเจตนารมณ์เรื่องความยั่งยืนของอินโดรามา  ซึ่งมีการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองและตอบโจทย์ในด้านการรีไซเคิลพลาสติก เพื่อลดจำนวนขยะพลาสติก หาทางออกให้ขยะเหล่านี้ถูกนำกลับมาประโยชน์ให้มากที่สุด ถูกนำมาจัดแสดงภายใต้คอนเซ็ปท์ “อนาคตของการรีไซเคิล : The Future of Recycling” ในงาน Sustainability Expo 2023 (SX2023) ที่ผ่านมา พร้อมกับโชว์แผนขยายโรงงานในประเทศไทย เพิ่มกำลังการผลิต รองรับการตื่นตัวของแบรนด์ในการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล

สำหรับประเทศไทยโรงงานรีไซเคิลโพลีเอสเตอร์และพลาสติก PET ครบวงจร ของอินโดรามา ตั้งอยู่ที่จ.นครปฐม มีการที่ใช้เทคโนโลยีการ รีไซเคิลขวดพลาสติก ผลิตเส้นใยและเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล (rPET) จากยุโรป สามารถรีไซเคิลขวด PET ประมาณ 1.65 พันล้านขวดต่อปี ลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกซ์มากถึง 118 ล้านกิโลกรัม

แอนโทนี วาตานาเบ

นายแอนโทนี วาตานาเบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า จากความสำเร็จครั้งสำคัญในการรีไซเคิลขวด PET ภายหลังการใช้งานแล้ว จำนวน 100,000 ล้านขวด เป็นความท้าทายสำหรับเป้าหมายต่อไปในปี 2025 เรามุ่งมั่นที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการรีไซเคิลมากยิ่งขึ้น  ผ่านการลงทุนและพัฒนาปรับใช้เทคโนโลยีและวัสดุที่ล้ำหน้าเพื่อยกระดับเคมีภัณฑ์เพื่อโลกที่ดีกว่า ดังนั้นการจัดแสดงโซโลชั่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรมการรีไซเคิล Carbios ด้วยเอนไซม์ bio-PTA และ bio-PE ซึ่งมีการลงทุนพัฒนาไปบ้างแล้วในต่างประเทศ สำหรับการนำมาใช้ในประเทศไทย จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการนำมาใช้มากยิ่งขึ้น เพราะอย่างนวัตกรรม Carbios  จะช่วยทำให้ข้อจำกัดการรีไซเคิลเสื้อที่ทำจากเส้นใยโพลีเอทิลีน(PE) ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ หรือเสื้อที่ทำจากโพลีเอสเตอร์ 100% นวัตกรรมนี้จะมีส่วนทำให้กระบวนการรีไซเคิลมีข้อจำกัดน้อยลง ไม่จำกัดการรีไซเคิลแค่เพียงแค่ขวดพลาสติก PET เบื้องต้นหากนวัตกรรมนี้มีการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยในประเทศฝรั่งเศส จะสามารถรีไซเคิลขวดพลาสติกได้ถึง 2.5 พันล้านขวด

“เป้าหมายรีไซเคิลขวด PET ในปี 2025 มากกว่า 1แสนล้านขวด  เป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่เรามีความมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ โดยอาจจะต้องเพิ่มจำนวนการรีไซเคิลของทุกโรงงานให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการเพิ่มกำลังการผลิต หรือจำนวนโรงงานให้มากขึ้น ซึ่งโรงงานที่ประเทศไทย”แอนโทนีกล่าว

ปัจจุบัน อินโดรามา มีการขยายกำลังการผลิตได้แล้วประมาณ 33,000 ตันต่อปี และในในแผนการลงทุนปี 2567 จะมีการสร้างโรงงานขึ้นอีกแห่งที่จ.สระบุรี คาดว่าจะสามารถเพิ่งกำลังการรีไซเคิลได้เพิ่มมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีเดียวกับที่โรงงานจ.นครปฐม เพื่อรองรับการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์รีไซเคิล เนื่องไทยได้มีการปลดล็อกให้มีการพลาสติกแปรใช้ใหม่ (recycled plastic) มาเป็นภาชนะบรรจุภัณฑ์สินค้าอาหารได้ นอกเหนือจากการอนุญาตให้ใช้พลาสติกบริสุทธิ์ (virgin plastic) ที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน  ซึ่งการปลดล็อกนี้จะเปิดโอกาสให้แบรนด์สินค้าต่างๆในไทยได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลด้วย

หนึ่งในกระบวนการคัดแยกขวดพลาสติก

“ขณะนี้ เรามี หนึ่งในไลน์การผลิตของโรงงานจ.นครปฐมอยู่ในขั้นตอนสุดท้าย ที่จะได้รับใบรับรองด้านผลิตบรรจุภัณฑ์จากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล จากอย. คาดว่าผลการรับรองจะเสร็จเรียบร้อยอย่างช้าในปี 2567 ซึ่งโรงงานแห่งนี้มีการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มอยู่แล้ว  แต่เป็นการส่งขายไปยังกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ โดยมีการรับรองจากหน่วยงาน อย.ในประเทศ เช่น  สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น” แอนโทนี กล่าว

เมื่อสามารถที่จะผลิตขวดพลาสติกรีไซเคิล(rPET) ได้ในไทย ก็ต้องมีความต้องการจำนวนขวดพลาสติกที่ถูกเก็บกลับเพิ่มมากขึ้น แอนโทนี กล่าวว่า  แม้ว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้นเท่าไหร่ แต่จะไม่เกิดผลหากไม่มีขวดที่เพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคมีการนำส่งขวดกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ไม่มากเพียงพอ อาจจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการกระตุ้นพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งทั่วโลกอัตรากการเก็บกลับของ PET อยู่ที่ 60% ขณะที่ในประเทศไทยมีอัตราการเก็บกลับที่มากถึง 80% นับว่าอยู่ในอัตราที่สูง เพราะเมืองไทยมีการขายต่อจากการเก็บกลับค่อนข้างเยอะ  เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา เยอรมันนี ดังนั้นในแต่ละภาคส่วนอาจจะต้องมีการร่วมมือเก็บมากขึ้น เพื่อรองรับการผลิต

ผลิตภัณฑ์จากวัสดุขวดพลาสติกรีไซเคิล

โดยอินโดรามา ก็ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการให้องค์ความรู้ผ่านโครงการ Waste Hero ที่เริ่มทำให้ในประเทศไทย  ด้านการรีไซเคิล การลดจำนวนขยะเหลือศูนย์ และการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนกับเด็กในที่ต่างๆ ร่วมถึงคนทั่วไป ปัจจุบันในประเทศไทยมีการให้ความรู้ 20,000 คนต่อปี มีการตั้งเป้าให้มีผู้เข้าร่วมโครงการนี้ให้ครบ 1 ล้านคนภายในปี 2030  และในปีนี้ได้เริ่มดำเนินการโครงการนี้ในระดับ global และมีการแปลเป็นภาษาในแต่ละประเทศเพื่อให้โรงงานในต่างประเทศของอินโดรามาได้นำไปส่งต่อมากขึ้น  

 นิทรรศการ เพื่อเรียนรู้กระบวนการรีไซเคิลขวดพลาสติก

แอนโทนี  ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวแนวทางการเก็บขวดพลาสติกกลับคืนในประเทศไทยเพิ่มเติมว่า วิธีการเก็บขวดให้มากขึ้นมีอีก 2 รูปแบบที่ยังไม่มีในเมืองไทย ได้แก่ 1.การเก็บขวดกลับคืนในร้านค้าที่ซื้อมา สามารถแลกเป็นเงินได้ ซึ่งในต่างประเทศเริ่มมีการนำมาใช้ และได้รับการตอบรับที่ดี 2.ความรับผิดชอบของผู้ผลิตสินค้า และผู้ผลิตเม็ดพลาสติก ต้องมีความรับผิดชอบในการเก็บขวดกลับมามากขึ้น เพื่อให้ขวดได้เดินทางกลับมาที่ต้นทาง โดยแผนทั้งหมดนี้คาดว่าจะสามารถช่วยให้ขวดพลาสติก เข้าสู่กระบวนรีไซเคิล นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

นิทรรศการอนาคตของการรีไซเคิล 


เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมลดโลกร้อน หนุน 8 แนวทางเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายฯ เน้น “รุก รับ ปรับตัว รวมพลังสามัคคี ลดโลกร้อน”

กรมลดโลกร้อน ทำงานเชิงรุกเสริมแกร่งเครือข่ายภาคประชาชน และภาคีความร่วมมือ จัดประชุมใหญ่เสริมความเข้มแข็ง เน้น“รุก รับ ปรับตัว รวมพลังสามัคคี ลดโลกร้อน”

คนไทยกำลังจะต้องเสียภาษีคาร์บอนเพิ่มขึ้นอีกรายการ เพื่อช่วยกันลดโลกร้อน

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ คนไทยกำลังจะต้องเสียภาษีคาร์บอนเพิ่มขึ้นอีกรายการ...เพื่อช่วยกันลดโลกร้อน มีเนื้อหาดังนี้