16ธ.ค.2564 – กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองโนรา มรดกภูมิปัญญาของแผ่นดิน หลังจากเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 16 ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส มีมติเห็นชอบขึ้นทะเบียน “โนรา” เป็นรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ตามที่ไทยเสนอ
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี สำหรับศิลปวัฒนธรรม โนรา ที่ได้ขึ้นทะเบียนมนดกทางวัฒนธรรมที่จำต้องไม่ได้ เป็นรายการที่ 3 ของประเทศ ด้วยเสน่ห์ของศิลปการแสดงที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ความอ่อนช้อย ความสมดุลของร่างกาย ที่สืบทอดกันมายาวนาน ทำให้โนรามีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อของการขึ้นทะเบียนประเภท Representative List ปัจจุบันมีคณะโนราอาชีพในประเทศไทย จำนวน 387 คณะ โดย70% กระจุกตัวอยู่มากบริเวณรอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีการสืบทอดศิลปะทั้งด้านการแสดง ช่างฝีมือ ดนตรี และพิธีกรรม จากรุ่นสู่รุ่นผ่านสายตระกูลโนรา ชุมชน วัด และเข้าสู่หลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาทุกระดับทั่วภาคใต้
“หลังจากนี้จะมีแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนงัฒนธรรมโนรา รวมไปถึงได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินโนราในฐานะศิลปินแห่งชาติ และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหพันธ์สมาคมโนราแห่งประเทศไทยขึ้น เพื่อดำเนินโครงการถ่ายทอดการแสดงพื้นบ้านโนราให้แก่เยาวชน พร้อมทั้งสนับสนุนทุนการศึกษาวิจัย และจัดให้มีเวทีการแสดงโนราในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้ภาคภูมิใจและตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของโนราต่อไปในอนาคต และเตรียมแผนนำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมอีกในรายการประเพณีสงกรานต์และเมนูอาหารต้มยำกุ้ง” อิทธิพล กล่าว
ด้าน สมปอง ภักดีกิจ นายกสหพันธ์สมาคมโนราแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในพื้นที่ภาคใต้ทั้ง 17 จังหวัด มีโนราทั้งหมด 387 คณะ ประมาณ 7,000 – 10,000 คน ที่ยังช่วยกันสืบทอดศิลปะการแสดงอันทรงคุณค่านี้ให้ยังคงอยู่ในปัจจุบัน โดยโนรามีการแสดง 2 ประเภท การแสดงพิธีกรรม และการแสดงเพื่อความบันเทิง ซึ่งมีงานการแสดงอย่างต่อเนื่องไม่ได้เงียบหาย หวังว่าโนราจะได้รับความสนใจและเล็งเห็นถึงคุณค่า รวมไปถึงการนำไปบรรจุในหลักสูตรการศึกษา เพื่อเข้าใจในรากฐานของโนราให้คงอยู่ยาวนาน และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ทักษิณ จ.สงขลา ครูผู้สอนโนรามากว่า 40 ปี ได้เล่าว่า เสน่ห์ของโนราคือทวงท่าการรายรำ ที่แข็งแรงแฝงไปด้วยอ่อนช้อย และการขับร้องไปพร้อมกันด้วยภาษาถิ่นภาคใต้ โดยเป็นการเล่าจากตำนานความเชื่อ รวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ในปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่หันมาสนใจโนราเยอะ เพราะการเข้าถึงที่ง่ายขึ้น มีการผสมผสานศิลปะประเภทอื่น ท่ารำที่สามารถด้นสด หรือการแต่งกายที่เปลี่ยนไปตามรสนิยม ทำให้โนราในตอนนี้แตกต่างจากในอดีต แต่ที่ยังคงอยู่คือพิธีไหว้ครูหรือบรรพบุรุษโนรา ซึ่งการที่โนราได้รับการยอมรับของยูเนสโก รู้สึกดีใจ ภาคภูมิใจที่ทำให้ศิลปะโนรายืนหยัดอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน และเกิดการยอมรับไปสู่สากล หวังว่าโนราจะสร้างการรับรู้ได้มากขึ้นในอนาคต
พระครูวิศาลธรรมโรจ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร กล่าวว่า เริ่มจากแนวคิดที่อยากให้เด็กเข้าวัด จึงได้เกิดการเรียนการสอนในวันอาทิตย์ทั้งภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และศิลปการแสดงโนราที่สอนมากว่า 15 ปี ซึ่งมีนักเรียนประมาณ 20 คน อายุประมาณ 6-20 ปี ซึ่งก็ได้มีการแสดงโนราทั้งในกรุงเทพฯ และต่างประเทศ เพราะในปัจจุบันโนรา เป็นการแสดงที่หาดูได้ยาก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ภาค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผลงาน'ตรี อภิรุม' ราชานิยายลึกลับสยองขวัญ
21 พ.ย.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า นายเทพ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยาย) พุทธศักราช 2562 นามปากกา “ตรี อภิรุม” หรือ “นายเทพ ชุมสาย ณ อยุธยา” เจ้าของผลงาน “นาคี”
ข่าวดี ! ไทย รับมอบ 4 วัตถุโบราณบ้านเชียง อายุกว่า 3,500 ปี จากสหรัฐฯ
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม ได้รับมอบโบราณวัตถุบ้านเชียง 4 ชิ้น
ข่าวดี ไทยรับมอบ 4 วัตถุโบราณบ้านเชียง อายุกว่า 3,500 ปี คืน
ประเทศไทยรับมอบ 4 วัตถุโบราณบ้านเชียง อายุกว่า 3,500 ปี ย้ำความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและสหรัฐ