ตั้งแผงป้องกันน้ำท่วม'วัดไชยวัฒนาราม'

11 ต.ค.2566 – นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวภายหลังเดินทาง ไปตรวจติดตามสถานการณ์น้ำ บริเวณโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมทั้งรับฟังแผนการบริหารจัดการและป้องกันโบราณสถานจากอุทกภัยในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา​ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้มอบหมายให้เดินทางมาตรวจ ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา และสั่งการให้กรมศิลปากรบูรณาการการทำงานในการดูแลโบราณสถานสำคัญกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด

เบื้องต้นได้รับรายงานว่า ปัจจุบันยังไม่มีโบราณสถานในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม ทั้งนี้ ปี 2566 ประเทศไทยมีปริมาณน้ำฝนไม่มาก เขื่อนต่าง ๆ เพิ่งเริ่มระบายน้ำช่วงปลาย เดือนกันยายน ประกอบกับฝนที่ตกบริเวณใต้เขื่อนขนาดใหญ่ที่กักเก็บน้ำ จึงทำให้ปริมาณน้ำในภาพรวมไม่เท่ากับปี 2565 โดยปัจจุบัน (วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ) เขื่อนเจ้าพระยายังระบายน้ำอยู่ที่ปริมาณไม่ต่ำกว่า 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อีกทั้งยังมีฝนตกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสายต่างๆ ที่ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ยังไม่เกิดเหตุการณ์น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ต่างๆ

อธิบดี ศก. กล่าวต่อว่า ในส่วนการป้องกันโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาดำเนินการตั้งแผง ป้องกันน้ำท่วมโบราณสถานแล้วจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1. วัดไชยวัฒนาราม ซึ่งเป็นโบราณสถานริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีระดับต่ำที่สุด เพื่อป้องกัน เหตุหากมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้ระดับน้ำสูงสุดอยู่ต่ำกว่าตลิ่งวัดไชยวัฒนาราม 70 เซนติเมตร 2. วัดธรรมมาราม เป็นโบราณสถานริมแม่น้ำเจ้าพระยาอีกแห่งที่มีระดับต่ำ ปัจจุบันระดับน้ำสูงสุดอยู่ต่ำกว่าตลิ่งวัดธรรมาราม 80 เซนติเมตร

” ขณะนี้ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยากำลังดำเนินการติดตั้งแผงป้องกันน้ำท่วม จะแล้วเสร็จภายในวันที่ 12 ตุลาคม 2566 นอกจากนี้ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาจัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบระดับน้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง ที่ผ่านตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ตรวจสอบโบราณสถานต่างๆ ที่เคยได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในปีก่อน และเตรียมความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรหนัก เพื่อเตรียมการป้องกันเหตุต่อไป” นายพนมบุตร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาแหล่งโบราณคดีโคราช สู่หมุดหมายระดับโลก

จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองมรดกโลกที่คนทั่วโลกรู้จักจากผืนป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่  ถิ่นโคราชยังมีความโดดเด่นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีแหล่งโบราณคดีเป็นวัตถุดิบชั้นดีใน

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สุดวิจิตรประณีตศิลป์ไทย

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติทั่วประเทศไทย งานพระราชพิธีสำคัญที่จะเกิดขึ้นการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน พุทธศักราช 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามฯ

ซ่อมเรือพระราชพิธีใกล้เสร็จ

21 มิ.ย. 2567 - เวลา 9.15  น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ตรวจเยี่ยมการซ่อมแซมและตกแต่งเรือพระราชพิธี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และเยี่ยมชมการฝึกซ้อมฝีพาย ณ แผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ กองทัพเรือ เ

สหรัฐเตรียมส่งคืนเสาสลักหินทราย'ปราสาทพนมรุ้ง'กลับไทย

18 มิ.ย.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า สถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก (The Art Institute of Chicago) สหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุให้กับกรมศิลปากร จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ชิ้นส่วนเสาติดผนังสลักจากหินทรายรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ

ชมสำรับ'กับข้าวเจ้านาย'ในสยาม

พูดถึงตำรับอาหารชาววัง บางคนนึกถึงเมนูอาหารสุดพิถีพิถันและประณีตบรรจงในทุกขั้นตอน  บางคนนึกถึงการประดิษฐ์ประดอยอาหารคาวหวานให้มีความสวยงามน่ากิน รสอาหารกลมกล่อม ตำรับอาหารชาววังนั้นครองใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ 

ปักหมุดเที่ยวงาน'มรดกสยาม 3 สมัย'

14 มิ.ย.2567 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นางยุพา  ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานเปิดงาน Happy Journey with BEM “มรดกสยาม ๓ สมัย” โดยมีนายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล รองอธิบดี