โลจิสติกส์ขนถ่ายสินค้าเทกองที่ทุ่นกลางทะเล แก้ปัญหาต้นทุนส่งออกไทยที่มียาวนาน 

ระบบวัดบันทึกปริมาณการใช้น้ำมัน

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)ร่วมกับทีมวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น สมาคมผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางน้ำและกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)เปิดตัวโครงการบริหารจัดการ”ระบบโลจิสติกส์การขนถ่ายสินค้าเทกองที่ทุ่นขนถ่ายสินค้ากลางทะเล  “โดยใช้ระบบสารสนเทศและดิจิทัลแพลตฟอร์ม มุ่งเป้าแก้ pain point ลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการขนถ่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางน้ำไม่น้อยกว่า 10% ต่อปีปฏิเสธไม่ได้ว่าการขนส่งสินค้าทางน้ำนั้นมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและระบบการค้าของไทย

จากข้อมูลการขนส่งสินค้าทางน้ำบริเวณเมืองท่าชายทะเลของประเทศไทยปี 2564 โดยกรมเจ้าท่า พบว่าการขนส่งสินค้ามีปริมาณสินค้ารวมทั้งสิ้น 362.009 ล้านตัน ส่งผลให้การขนส่งสินค้าทางเรือมีความสำคัญต่อการพัฒนาทางด้านโลจิสติกส์เกี่ยวกับการขนส่งทางน้ำ  และความสามารถในการแข่งขันในการขนส่งสินค้าทางเรือภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม   การขนส่งทางลำน้ำโดยเฉพาะการขนส่งสินค้าเทกอง ในปัจจุบันมีต้นทุนโลจิสติกส์สูงโดยเฉพาะต้นทุนการขนส่งและการขนถ่ายสินค้าที่เกาะสิชัง ซึ่งเป็นบริเวณจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าในการนำเข้าส่งออกสินค้าเทกองจากข้อมูลในปี 2564 ประเทศไทยมีการขนส่งที่เป็นสินค้าเทกองปริมาณกว่า 48.96 ล้านตัน เช่น ข้าว ผลผลิตทางการเกษตรอาหารสัตว์ น้ำตาล แร่ธาตุ แร่เชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์ปิโตเลียม ดิน หิน ทราย ปุ๋ย เป็นต้นและมีมูลค่าต้นทุนในการขนส่งสินค้าทางน้ำกว่า 234.4 พันล้านบาท (ข้อมูลจาก สศช.)

นอกจากนี้  ยังพบว่าสถิติมูลค่าต้นทุนโลจิสติกส์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี (ข้อมูลจากปี 2555 – 2564)จากปัจจัยด้านราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น  ซึ่งในการขนถ่ายสินค้าเหล่านี้ ต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องจักรที่จำนวนมากและมีต้นทุนที่สูง อีกทั้งมีการใช้เชื้อเพลิงและมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในการขนถ่ายสินค้าเทกองที่ทุ่นขนถ่ายเป็นในอัตราที่สูง จากการขาดข้อมูลที่จำเป็นเพื่อใช้ในการบริหารจัดการเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการขนถ่ายสินค้าในปัจจุบันการดำเนินงานการขนถ่ายสินค้าเทกองนั้น  ยังไม่มีการบันทึกและวิเคราะห์พลังงานที่ชัดเจนอีกทั้งมีความล่าช้าและใช้เวลาในการบันทึกข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลปริมาณการผลิตไฟฟ้าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  และอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครนแต่ละตัวในการขนถ่ายสินค้าแต่ละชนิด  เนื่องจากระบบการขนถ่ายสินค้าเป็นระบบข้อมูลขนาดใหญ่ มี transaction ของข้อมูลจำนวนมากที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  อีกทั้ง การขนถ่ายสินค้าอยู่กลางทะเลที่อาจจะไม่สะดวกต่อการเก็บและรวบรวมข้อมูล จึงทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถนำข้อมูลที่ถูกต้องมาวางแผนการขนถ่ายสินค้าได้อย่างมีปะสิทธิภาพ  ซึ่งก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงาน และนำมาซึ่งต้นทุนโลจิสติกส์ที่สูงได้

ศ.ดร.กาญจนา เศรษฐนันท์

จากปัญหาดังกล่าว ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศ.ดร.กาญจนา เศรษฐนันท์ หัวหน้าโครงการจึงได้ทำการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับ การวัดตรวจวัดอัตราการใช้พลังงานในการขนถ่ายสินค้าเทกองและการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่อย่างเป็นปัจจุบัน (Real time) ร่วมกับการใช้ระบบซอฟต์แวร์ในการจัดลำดับการขนถ่ายสินค้าของเรือ และพัฒนา ระบบฐานข้อมูล (Database)สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลอัตราการใช้พลังงานขนาดใหญ่ (Big data) และระบบ Monitoring and Tracking system ที่สามารถปรับปรุงข้อมูลตัวชี้วัดด้านโลจิสติกส์ให้เป็นปัจจุบัน (real time)และสอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลง ที่ผู้ประกอบการสามารถดูผ่านหน้า dashboard ของระบบ mobile ได้อย่างเรียลไทม์  ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการและร่วมให้ทุน คือ บริษัท เอส.พี.อินเตอร์ มารีน จำกัดโดยได้มีการจัดกิจกรรม kick-off โครงการเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา

รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์

รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการ บพข. กล่าวว่า การเพิ่มขีดความในการแข่งขันของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เป็นอีกหนึ่งภารกิจที่สำคัญของ บพข.สาระสำคัญที่เราจะต้องทำก็คือการทำให้ผู้ประกอบการมีความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการ kick-off โครงการในวันนี้จึงเป็นภารกิจหนึ่งที่ บพข. จะต้องทำเพื่อเชื่อมโยง (connect) ทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยกันและสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน (collaboration) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันตรงนี้ บพข.ได้ให้ทุนในส่วนของการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถนำงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้เพราะฉะนั้นในการทำงานวิจัยจะต้องมีการ create โครงการที่จะสามารถตอบ pain point และตอบ demand drivenของภาคธุรกิจได้ ซึ่งหัวข้อโครงการนี้ได้อยู่ในแผนงานโลจิสติกส์และระบบรางของ บพข. และโครงการนี้จะต้องถูก converse ไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม สิ่งที่เราให้ความสำคัญอยู่ในขณะนี้ คือ การขนส่งที่ประหยัดและลดการใช้พลังงาน เราจึงคาดหวังว่าในการทำงานครั้งนี้จะทำให้เราได้แพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์ที่ดี และได้การจัดการโลจิสติกส์ที่ดีอันนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิตและทำให้ประเทศมีขีดความสามารถในการแข่งขันควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”

ศ.ดร.กาญจนา กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการว่า เราได้รับโจทย์มาจากบริษัทเอส.พี.อินเตอร์ มารีน จำกัดซึ่งประสบปัญหาในการไม่สามารถควบคุมการใช้พลังงานสำหรับการขนถ่ายสินค้าเทกองที่ทุ่นขนถ่ายสินค้ากลางทะเลได้   เนื่องจาก  ปัจจุบันยังไม่มีระบบการตรวจวัดและประเมินอัตราการน้ำมันดีเซลเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับการทำงานของเครนที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้าแต่ละชนิดได้  และเป็นปัจจัยสำคัญต่อต้นทุนของการประกอบธุรกิจขนส่งสินค้าทางน้ำ   ซึ่งเป็นปัญหาของผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำรายอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

ดังนั้นเราจึงมีแนวคิดในการพัฒนาระบบ Software  การจัดสรรเรือเพื่อขนถ่ายสินค้าเข้าแต่ละทุ่น และระบบการตรวจวัดอัตราการใช้พลังงานในขนถ่ายสินค้าเทกองและจัดการข้อมูลขนาดใหญ่อย่าง Realtime โดยใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งยังมีการจัดทำระบบฐานข้อมูล  หรือ Database สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลอัตราการใช้พลังงานขนาดใหญ่ ที่เป็นBig data และระบบMonitoring and Tracking system  เพื่อให้การบริหารจัดการการใช้พลังงานสำหรับงานขนถ่ายสินค้าเทกองที่ทุ่นขนถ่ายสินค้ากลางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถช่วยลดต้ำทุนให้แก่ผู้ประกอบได้ไม่น้อยกว่า 5 – 10%และผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะถูกนำไปขยายผลใช้กับบริษัทที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางน้ำในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังต่อไปด้วย

“ผู้ที่มาร่วมโครงการในครั้งนี้มีทั้งจากภาคส่วนของการขนส่งทางลำน้ำโดยตรง และส่วนที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (valuechain) ของการขนส่งทางน้ำ เช่น ผู้ประกอบธุรกิจคลังสินค้า เพราะฉะนั้น  ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้ ผู้ที่อยู่ในธุรกิจขนส่งทางลำน้ำ โดยตรง  สามารถนำไปใช้ได้เลย ซึ่งแผนที่ทีมวิจัยมองไว้คือ การเข้าไปที่สมาคมซึ่งมีสมาชิกอยู่กว่า 60 บริษัท และมีความสนใจมากเนื่องจากเป็น pain point ของผู้ประกอบการ สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจนี้โดยตรง เช่น คลังสินค้าต่าง ๆได้ให้สนใจในเรื่องระบบ big data และระบบซอฟแวร์การบริการจัดการ ซึ่งทีมวิจัยได้ทำเป็น moduleไว้แล้วเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้แบบ standalone ได้เลย”ศ.ดร.กาญจนากล่าว

สำหรับการลดพลังงาน ศ.ดร.กาญจนา เล่าว่า ลูกค้ามีความต้องการเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ดังนั้น ทีมวิจัยจึงมีแผนในการติดโซล่าเซลล์ที่ทุ่นขนถ่ายสินค้าในเฟสถัดไป ของการดำเนินโครงการ  เนื่องจาก ที่ทุ่นขนถ่ายสินค้ามีการใช้พลังงานตลอด 24 ชั่วโมง และพลังงานเป็นค่าใช้จ่ายหลักของการดำเนินกิจการเพราะการคิดราคาน้ำมันนั้นจะไม่เท่ากับราคาบนฝั่ง  แต่ยังมีค่าขนส่งที่ต้องนำไปเติมที่กลางทะเล  ซึ่งทำให้เพิ่มต้นทุนเข้ามาอีกมากมายทีมวิจัยจึงมองว่าการติดโซล่าเซลล์จะช่วยลดต้นทุนตรงนี้ได้เพราะสามารถได้ไฟฟ้าโดยตรงและสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าไปที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ในทุ่นได้โดยตรงด้วย

ระบบตรวจวัดข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้า

“นอกจากนี้  ทีมวิจัยยังมองไปถึงการขยายผลไปสู่เรือลากจูงที่เข้ามารับสินค่าและส่งสินค้าด้วยเช่นกัน  ซึ่งเราพยายามมองให้ครอบคลุมทั้งในเรื่องของเศรษฐศาสตร์ในแง่ของการลงทุนของภาคธุรกิจ และในเรื่องของสิ่งแวดล้อมในแง่ของความเป็นกลางของคาร์บอน  โดยมีการคำนวณว่าการลดการใช้น้ำมันดีเซล 1 ลิตรจะสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ  ได้เท่าไร่และเราจะพยายามใช้น้ำมัน  ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ปล่อยคาร์บอนฯ  ให้น้อยที่สุด และเป็นไปใช้พลังงานสะอาดแทน  ซึ่งนอกจาก  จะช่วยภาคธุรกิจในการประหยัดพลังงานแล้วยังสามารถช่วยลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในแง่ของมลพิษทางอากาศและเสียงรบกวนอีกด้วย” ศ.ดร.กาญจนา กล่าวทิ้งท้าย

ด้านนาย วรเทพ สุวจนกร นายกสมาคมผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางน้ำ และรองประธานกรรมการ บริษัท เอส.พี.อินเตอร์ มารีน จำกัด   เล่าถึงที่มา ของการร่วมลงทุนกับโปรเจคนี้ว่า ปัจจุบันทางบริษัทยังไม่สามารถหาแนวทางในการบริหารจัดการต้นทุนที่เกิดจากการใช้น้ำมัน เพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า สำหรับ การทำงานของเครนที่ในการขนถ่ายสินค้ากลางทะเล จึงได้ปรึกษากับทาง ศ.ดร.กาญจนา และเป็นที่มาของการร่วมงานกันครั้งนี้ภายใต้การสนับสนุนทุน ซึ่งเราคาดหวังว่าหากโครงการนี้สำเร็จจะช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานงานในขนถ่ายสินค้าได้ไม่น้อยกว่า 5%ต่อปี ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท

นายวรเทพ สุวจนกร

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้วิจัย ได้รับการสนับสนุนโครงการ  จาก บพข. ซึ่งมี บริษัท เอส.พี.อินเตอร์ มารีน จำกัด เป็นผู้ให้ทุนร่วม  โดยโครงการดังกล่าวได้ถูกพัฒนาต่อยอด เพื่อการขยายผลการดำเนินงานใน“โครงการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายด้านอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่ง” ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เป็นที่ปรึกษาให้กับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ในปีงบประมาณ 2564เพื่อจัดทำแผนการอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่งให้กับหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ โดยมี บริษัท เอส.พี.อินเตอร์ มารีน จำกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการฯ ของ พพ.

การสนับสนุนทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์การขนถ่ายสินค้าเทกองที่ทุ่นขนถ่ายสินค้ากลางทะเลโดยใช้ระบบสารสนเทศและดิจิทัลแพลตฟอร์มในครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของแนวทางเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและการบริหารจัดการสำหรับระบบโลจิสติกส์ของประเทศที่ทันสมัย  รวมถึงจะเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง บพข. และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมงานต่อไป ซึ่ง บพข.คาดหวังว่าจะสามารถพัฒนาศักยภาพ และเสริมสร้างองค์ความรู้ในด้าน การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ และการขนถ่ายสินค้าโดยจะสามารถนำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป

ระบบตรวจวัดข้อมูลพลังงานจากเครน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลปลื้ม ‘ข้าวไทย’ กระแสตอบรับดีในงานแสดงสินค้า Gulfood 2024 ที่ดูไบ

โฆษกรัฐบาล เผย ข้าวไทยกระแสตอบรับดีในงานแสดงสินค้า Gulfood 2024 ที่ดูไบ เชื่อมั่นเพิ่มมูลค่าตลาดข้าวไทยในตะวันออกกลาง รัฐบาลวางแนวทางส่งเสริมการส่งออกสินค้าไทยตลอดปี

พาณิชย์โชว์ Soft Power ดันส่งออกสินค้าโกยเงินเข้าประเทศ 3.9 พันล้านบาท

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) โชว์ผลงานขับเคลื่อน Soft Power ช่วง 6 เดือน ดันส่งออกอาหาร ดิจิทัลคอนเทนต์ สุขภาพความงาม สินค้าสร้างสรรค์อัตลักษณ์ไทย และผลไม้ ทำเงินเข้าประเทศได้แล้ว 3,905 ล้านบาท

'จุรินทร์-กรอ.พาณิชย์' คาดส่งออกปีหน้า 9 ล้านล้านบาท ขยายตัวบวก 3-4 %

'จุรินทร์' นำ กรอ.พาณิชย์ ประชุม! คาดการณ์ส่งออกปี 65 ขยายตัวเป็นบวก 3 – 4 % คาดเป้าส่งออก 9 ล้านล้านบาท มากกว่าปี64 ประมาณ 4 แสนล้านบาท